HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND

HAMSIAM รวมข้อมูลทางด้านเทคนิค => เทคนิคการสร้าง แก้ไข ดัดแปลง => ข้อความที่เริ่มโดย: hansols ที่ 15 พฤศจิกายน 2009, 19:13:35



หัวข้อ: วิธีทำ ดัมมี่โหลดแบบ ประหยัด
เริ่มหัวข้อโดย: hansols ที่ 15 พฤศจิกายน 2009, 19:13:35
เอา ตัวต้านทาน 200 โอห์ม มาขนานกัน 4 ตัว ( ถ้าขนาดวัตต์สะ 20-30 Watt จะดีมากครับ จะสามารถทนได้ถึง 200-300 วัตต์ เลย) จะได้ 50 โอห์ม พอดี


** ผมใช้ 200 โอห์ม ขนาด 10 วัตต์ ทนได้ ประมาณ 160 วัตต์ สบายครับ

อ้างถึง
ขอบคุณเว็บ 100 watt

(http://img198.imageshack.us/img198/3803/05062009698.jpg)


หัวข้อ: Re: วิธีทำ ดัมมี่โหลดแบบ ประหยัด
เริ่มหัวข้อโดย: MONTER ที่ 15 พฤศจิกายน 2009, 20:11:14
มีรูป วิธีทำ ทีละขั้นตอนไหมครับ
เพราะจากรูปเป็นตัวที่สำเร็จแล้ว ดูแล้วก็ทำไม่เป็นอยู๋ดี ??? ??? ???
แบบว่าไม่ความรู้ด้านช่าง แต่ต้องการลองทำดูครับ :) :D ;D


หัวข้อ: Re: วิธีทำ ดัมมี่โหลดแบบ ประหยัด
เริ่มหัวข้อโดย: hansols ที่ 15 พฤศจิกายน 2009, 21:01:18
ขั้นตอนนะครับ
1. ไปร้าน อิเล็กทรอนิกส์ ซื้อ ตัวต้านทาน ค่า 200 โอห์ม จำนวน 4 ตัว
2. บัดกรี ตัวต้านทาน เอา ขั้ว มารวมกัน หัวรวมหัว   ,  ปลายรวมปลาย ทั้ง 4 ตัว
3. ไปหาขั้ว PL มา ตามรูป ตัวผู้
4. เอา ขั้ว หัว ไป ต่อ ที่ขั้ว PL ตรงกลาง , ขั้ว ปลาย ไปต่อ ที่ PL ข้างนอก ( ขั้วกาวของ PL )
5. เอา โอห์มมิเตอร์ วัด ขั้ว PL กลาง  , ขั้วนอก ( กาว ) จะได้ประมาณ 50 โอห์ม
6. นำไปใช้งานได้เลยครับ  SWR ลงไม่เกิน 1.1.3 ตลอดย่าน

ผมทดสอบแล้ว 27 MHz , 135-175 MHz , 245 MHZ , 430 MHz ใช้งานได้ครับ ไม่มีปัญญาหา

อ้างถึง
รูปประมาณนี้ครับ ** ไม่ค่อยสวยเอาแค่รู้เรื่องล่ะกันนะครับ
(http://upload.modify.in.th/UploadFiles001/image/e37bace1d3305932c15066b2f542543f.png)


หัวข้อ: Re: วิธีทำ ดัมมี่โหลดแบบ ประหยัด
เริ่มหัวข้อโดย: yacob144 ที่ 15 พฤศจิกายน 2009, 21:18:43
ผมใช้ตัวต้านทาน 5วัตต์ 200 โอห์ม ทำเหมือนในรูป SWR ก็ออกมาดีครับ เข็มแทบไม่กระดิก แต่พอเปลี่ยนเป็น ตัวต้านทานขนาด 10 วัตต์ 200 โอห์ม ปรากฏว่า SWR อยู่ที่สีแดงเลยครับ(ติด 10 กว่า) เป็นเพราะเหตุใดครับช่วยอธิบายหน่อยครับ


หัวข้อ: Re: วิธีทำ ดัมมี่โหลดแบบ ประหยัด
เริ่มหัวข้อโดย: HS4LTH ที่ 16 พฤศจิกายน 2009, 20:23:52
ผมใช้ตัวต้านทาน 5วัตต์ 200 โอห์ม ทำเหมือนในรูป SWR ก็ออกมาดีครับ เข็มแทบไม่กระดิก แต่พอเปลี่ยนเป็น ตัวต้านทานขนาด 10 วัตต์ 200 โอห์ม ปรากฏว่า SWR อยู่ที่สีแดงเลยครับ(ติด 10 กว่า) เป็นเพราะเหตุใดครับช่วยอธิบายหน่อยครับ

ความจริงแล้วที่ท่านทำมาทั้งหมดนั้นผิดครับ  ผิดตรงที่การเลือกตัวต้านทานแบบซีเมนต์มาทำครับ  อย่าคิดว่าเลือกใช้เพราะมันวัตต์สูงดี  ความจริงนั้นสาเหตุที่ท่านใช้ตัวต้านทานแบบ  5  วัตต์มาทำแล้วค่า SWR พอใช้ได้ เพราะโครงสร้างของตัวแบบซีเมนต์นี้ภายในจะเป็นขดลวดครับ  การที่ภายในเป็นขดลวดทำให้เกิดค่า XL (ค่าความต้านทานต่อกระแสสลับ ณ ความถี่นั้นๆ) ขึ้น  ทำให้มีผลต่อความถี่สูงครับ  ยิ่งความถี่สูงขึ้น ค่าความต้านทานต่อกระแสสลับก็ยิ่งมีสูงขึ้นตามไปด้วย  แต่ถ้าจะวัดด้วยโอห์มมิเตอร์ก็ได้ใกล้เคียง 50 โอห์ม  เพราะว่ามิเตอร์ของเรานั้นเป็นการวัดแบบกระแสตรง  ไม่มีความถี่ใดๆ มาเกี่ยวข้องครับ

มาตอบตรงที่ทำไม 5 วัตต์  ทำแล้วพอใช้ได้  แต่  10  วัตต์  ค่า SWR สูงมาก
  -  เพราะตัวต้านทานแบบซีเมนต์ขนาด 5 วัตต์  นั้นวัตต์น้อยกว่าขนาด 10 วัตต์  ขนาดก็สั้นกว่า  จำนวนรอบของขดลวดความต้านทานภายในก็น้อยกว่า  เส่นลวดก็เล็กกว่าครับ  จึงไม่มีผลต่อความถี่ที่ไม่สูงมากนัก
  -  ส่วนตัว 10 วัตต์  นั้นตัวก็ยาวกว่า 5 วัตต์  จำนวนรอบของขวดลวดก็มากกว่า  เส้นลวดภายในก็ใหญ่กว่าเพราะต้องทนวัตต์สูงขึ้น  จึงมีผลอย่างมากในเรื่องของค่าความต้านทานต่อกระแสสลับ ณ ความถี่สูง  เช่น ความถี่สมัครเล่นที่เราๆ ใช้กันอยู่ครับ  เป็นผลทำให้ค่าอิมพีแดนซ์สูงมากกว่า 50 โอห์ม  เกิดการไม่สมดุลย์กับเครื่องส่งที่มีอิมพีแดนซ์ 50 โอห์ม (หรื่อกันง่ายๆ ว่าไม่แมทซครับ)

สรุปแล้ว  ไม่ว่าคุณจะใช้ 5 วัตต์  10 วัตต์  ก็ไม่สมควรทั้งคู่ครับ  และก็ห้ามใช้ตัวต้านทานแบบไววาวมาทำดัมี่โหลดด้วยนะครับ  ที่ควรใช้ก็คือ  ตัวต้านทานแบบคาร์บอน  หรือ  คาร์บอนฟิล์ม  หรือ เมทอลฟิล์ม  ก็ได้ครับ  แต่ R พวกนี้ค่อนข้างวัตต์ตำครับ  แต่ถ้ามีตังค์หน่อยก็เอา R ไมโครเวฟ  ค่า 50 โอห์มมาทำก็ดีนะครับ
ที่เห็นมีขายก็ 100 วัตต์  250  วัตต์  500 วัตต์  และยังสามารถติดแผ่นระบายความร้อนได้อีกด้วยครับ 

หากมีข้อสงสัยโทร.ปรึกษาได้ครับ  QRU 73
ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�
ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�


Webmaster Earn Money! By Affiliate Program 100% Pay
www.samuismile.com