นึกว่าเสาสูงห่วงน้อยก็ได้
หรือเสาสูงน้อยห่วงเยอะก็ใหว
-มีความเห็นประกอบเรื่องนี้เพิ่มดังนี้ครับ......
-(โดย)ส่วนใหญ่ เวลาเริ่มใช้สายอากาศติดตั้งนอกบ้าน ความสูง6-11ม. เป็นก้าวแรกๆ มักมีสายอากาศต้นเดียว
-และมักจะเริ่มมีสายอากาศ 2ต้น เมื่อเพิ่มความสูงขึ้นไปอีก สายอากาศมักเป็นรอบตัว+มินิยากิ หรือกึ่งทิศทาง พบเห็นมากกับเสาแป๊ปน้ำที่ความสูงราวๆ 15-24ม.
-เมื่อความสูงตั้งแต่24ม. ขึ้นไป จะมองเห็นทาวเวอร์มาทำหน้าที่ยืน สายอากาศจะถูกปรับเป็นยากิ+รอบตัว หรือ+กึ่งทิศทาง......
-สายอากาศ2ต้น ประโยชน์อย่างหนึ่งคือไว้เปรียบเทียบกันเองด้วย เพื่อผลทางการพัฒนาสถานีแบบหนึ่ง เช่นยากิ13อีบูม4.6ม. 2แผง ควรมีผลรับและส่งดีกว่า โฟลเด็ดไดโพล 8 stacks ....
-เมื่อสถานีที่กำหนดความสูงไว้ระดับDXเป็นหลัก ความสูงของทาวเวอร์ที่พาสายอากาศชูยอดท่องหาสัญญานไปทั่ว ที่หวังผลคือ 45-60ม. กับยากิขนาดใหญ่ขึ้น 2-4แผง หรือเต็มพิกัดเท่าที่ทำได้กัน
-หลักการเดียวกันที่ควรมีสายอากาศประกบตามไป ส่วนใหญ่จะเลือกโฟลเด็ดไดโพล เพราะเพิ่มขนาดตามไปได้ถึง16stacks(มากกว่านั้นคิดว่ามีผลดีน้อยกว่าผลเสีย เพราะเฟสชิ่งไลน์ที่วกไปวกมาจะยาวมากมาย) สายอากาศรอบตัวหรือไดโพล2ห่วงจะไม่ให้ความหมายเปรียบเทียบอะไรได้ที่ความสูงระดับนั้น หมายถึงยากิแม้ส่วนที่แพทเทิร์นเล็กหรือน้อยที่สุด ก็พอแพร่กระจายคลื่นออกไปบ้าง สูง60ม. อาจรั่วได้มากพอจะคุยกันทั้งอำเภอได้โดยไม่ต้องหันไปหันมา แทนรอบตัวเล็กๆได้เลย....ทำนองนั้น
-ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดและเพื่อสำรองเป็นพระรองด้วยเวลาทิศทางเสีย โฟลเด็ดไดโพล จึงต้องเพิ่มขนาดตาม ประสิทธิภาพของยากิไปด้วย......
-อีกหัวข้อคือความดูดีด้วย ซึ่งก็เป็นความสำคัญอย่างหนึ่ง(proud) แต่ขอไม่อธิบาย....ขอบคุณครับ
ว้าว
ขอบคุณมากๆครับเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นครับ