1.ใช้แบบเหลื่อมนิ้วคูนิ้วได้ครับ เดิมแต่ก่อนก็ใช้แบบเหลี่ยมมกันอยู่ เพราะเจาะแบบกลมมันยาก แบบเหลี่ยมทำร้อยทะรุได้เลย ควรใชอีลิเมนต์3หุนพอ6หุนใหญ่ไปครับ
2.อย่างที่บอก เจาะร้อยทะลุเลย
3.ทำใช้เอง ทำให้เพื่อน ทำขายได้ถือว่าประสพความสำเร็จดีใจไม่ว่ากันครับ การแมตทั้งสองแบบมีข้อดียากง่ายต่างกัน จะอธิบายดูตามตำราบางส่วนน้าเองไม่
เข้าใจก็มีไม่น้อย ถามผู้รู้มา ท่าน
เด็กวัดทำสายอากาศบอกพอให้น้าเข้าใจง่ายๆว่า สายอากาศยากิถ้าอีลิเมนต์น้อยไม่มาก หนึ่งแผง
เดียวใช้แมต แบบแกมม่าแมตได้รูปการแพร่กระจายคลื่นไม่เบี้ยว การแมตง่าย แต่การทำบางครั้ง สายนำสัญญาณที่ต่อมาเข้าเครื่องใช้งานจะมีสัญญาณคลื่น
ไฟฟ้าวิ่งบนผิวของสาย สังเกตุได้ เวลาวัดSWR จับสาย ยกสาย พาดสายจะเกิดค่าSWRเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาSWRไม่นิ่ง นั่นคืออาการเขาละ
แต่ถ้าทุกส่วนประกอบถูกต้องสมบูรณ์ อาการอย่างนี้จะไม่เกิดเวลาวัดค่าSWRครับ
ส่วนการแมตแบบT-แมตบารัล
ท่านเด็กวัดทำสายอากาศ แนะนำว่าสายอากาศยากิที่มีอีลิเมนต์มากๆ สแตกกันหลายๆแผง ควรแมต
โดยT-แมตบารัล ไม่เกิดปัญหาคลื่นหลงวิ่งตามสายนำสัญญาณ ที่ทำให้ค่าSWRไม่นิ่งครับรูปการกระจายคลื่นไม่เบี้ยว จะไม่มีแถบบน แถบล่าง แต่ให้หันไป
ทางเดียวกัน เวลาติดตั้ง2แผงขึ้นไป จะกี่แผงกี่ชั้น อันนี้เป็นเรื่องของรูปการแพร่กระจายคลื่น
จึงพอจะเป็นที่เข้าใจเอาเองว่า สายอากาศยากิ ความถี่ต่ำ อีลิเมนต์น้อยๆอย่างHF จึงแมตแบบแกมม่าแมตกัน
ครับลองดูครับทำแบบแกมม่าแมตดูก่อนค่อยลองทำแบบT-แมตบารัลครับ วันนี้ต้องอ้างเอาครูผู้สอนเรามาอ้างละไปนอนละ ขอให้ผมนอนหลับฝันดีครับ
:D555