เป็นโครงการของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยากสภากาชาดไทย ซึ่งเดิมจะเข้าไปช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ แต่เมื่อปี 38 น้ำท่วมจังหวัดอุตรดิตถ์จึงมีแนวคิดให้เพิ่มระบบเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าไปด้วย เพราะจะช่วยประชาชนได้มากกว่าการไปช่วยทีหลังหรือชีวิตที่สูญเสียไปแล้วเอากลับคืนมาไม่ได้ จึงเป็นที่มาว่าต้องตั้งสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติเชิงละเอียด(ข้อมูลกรมอุตุฯวัดทุก 3ชั่วโมง ฝน 1วัน)
ซึ่งโครงการของจังหวัดอุตรดิตถ์นั้น เป็นการสนับสนุนงบประมาณจาก อบต. และเทศบาล บริจาคใ้ห้มูลนิธิฯเพื่อติดตั้งสถานตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ โดยทางผมรับงานมาจากมูลนิธิฯอีกทอดในการเป็นผู้ผลิต ติดตั้งและควบคุมระบบทั้งหมด และมี จนท.กรมอุตุฯนำข้อมูลไปวิเคราห์เพื่อเตือนภัยไปยังศูนย์เตือนภัยต่าง ๆ ส่วนระบบเครือข่ายสื่อสารของสถานีนั้น ใ้ช้ GPRS เป็นหลักซึ่งได้รับบริจาคซิมมาจาก DTAC และ AIS ส่งผ่านข้อมูลเข้าสู่เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในบริการต่าง ๆ (เว็บ ฐานข้อมูล ประมวลผล ฯลฯ) ในระบบตัวเอง ดังนั้นทาง อบต. หรือเทศบาลเองก็มีการนำข้อมูลไปใช้เองด้วยเช่น รายงานสภาพอากาศด้วยเสียงตามสาย ซึ่งเป็นข้อมูลสภาพอากาศในพื้นที่จริง ๆ ไม่ใช่ข้อมูลที่อยู่ห่างในตัวจังหวัด บางแห่งก็มีการนำข้อมูลไปอ้างอิงประกอบเตือนภัยหนาวเป็นต้น
ในจังหวัดอุตรดิตถ์นั้นติดทั้งหมด 71 สถานีอาจเห็นติดถี่บ้าง ห่างบ้าง เป็นเพราะสถานีตรวจวัดอากาศนั้นเป็นสมบัติของ อบต. หรือเทศบาล แม้ว่าตัวสถานีจะไม่ได้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องการต่อพ่วงใด ๆ แต่การติดตั้งก็มักถูกเลือกในเนื้อที่หรือบริเวณใกล้ อบต. หรือเทศบาล นั้น ๆ
เนื่องจากคนทำ(HS5TQA) เป็นนักวิทยุสมัครเล่นได้เล็งเห็นประโยชน์ของข้อมูล จึงได้นำเสนอออกสู่ระบบ APRS ด้วยอีกทาง ซึ่งจะทำให้เหล่านักวิทยุสมัครเล่นได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ของสถานีที่ติดตั้งไว้ จากทั่วโลกได้อีกทางหนึ่ง
เซิร์ฟเวอร์หลักอยู่ที่
http://www.weatherwatch.in.th