ตัวต้านทานเลือกแบบแถบสี(แบบของ เจ้าของกระทู้) จะดีกว่าแบบกระเบื้อง (ตัวเป็นเหลี่ยม สีขาว) นะครับ เพราะแบบแถบสีจะเป็น Pure-R แต่ข้อเสียของแบบแถบสีคือมันจะทนกำลังวัตต์แค่ 2 หรือ 3 วัตต์เท่านั้นเอง.. ส่วนแบบแบบกระเบื้อง มันทนค่าวัตต์ได้สูงกว่าก็จริง แต่ข้างในมันใช้ลวดนิโครม (ลวดความร้อน) มาพันเป็นขดให้เกิดเป็นค่าความต้านทาน ซึ่งเมื่อนำไปใช้เป็นดัมมี่โหลด มันจะมีค่าความเป็นขดลวด (XL) แฝงอยู่พอสมควร (ทำให้ค่า SWR สูงกว่า 1.0:1)
ทีนี้ถ้าเอาตัวต้านทานแบบแถบสีที่ทนกำลังวัตต์แค่ 2 วัตต์มาทำเป็นดัมมี่โหลดที่จะให้ทนกำลังวัตต์สูงๆ ก็ใช้วิธีการนำตัวต้านทานหลายๆ ตัวมาขนานกันเพื่อให้ค่าวัตต์มันเพิ่ม แต่ค่าความต้านทานรวมยังเป็น 50 โอห์มเท่าเดิม
เช่นต้องการ 4 วัตต์ ก็เอาตัวต้านทานขนาด 2 วัตต์ ค่า 100 โอห์ม จำนวน 2 ตัวมาขนานกัน
ถ้าต้องการ 20 วัตต์ ก็เอาตัวต้านทานขนาด 2 วัตต์ ค่า 500 โอห์ม จำนวน 10 ตัวมาขนานกัน (เหมือนของ จขกท.)
ถ้าต้องการ 40 วัตต์ ก็เอาตัวต้านทานขนาด 2 วัตต์ ค่า 1000 โอห์ม จำนวน 20 ตัวมาขนานกัน
ถ้าต้องการ 80 วัตต์ ก็เอาตัวต้านทานขนาด 2 วัตต์ ค่า 2000 โอห์ม จำนวน 40 ตัวมาขนานกัน
แต่ถ้าจำนวนตัวต้านทานเยอะๆ การจัดวางก็ลำบาก หรือขนาดพื้นที่ก็ต้องเยอะไปด้วย และที่สำคัญ ควรจะหาวัสดุที่เป็นโลหะมาห่อหุ่มเอาไว้ด้วย (เช่นกระป๋องโลหะ) แล้วต่อวัสดุโลหะนั้นลงกราวด์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายคลื่นออกไปในอากาศ
เป็นคนที่รู้จริงและรู้ลึกครับ R แบบกระเบื้องสี่เหลี่ยม ถ้านำไปใช้กับเครื่องรับ-ส่งที่มีระบบป้องกัน PA อย่างดี เราจะไม่สามารถวัดค่า SWR
ได้เลย กดคีย์ปุ๊ป ภาคส่งจะตัดทันที