ขอแสดงความคิดเห็นซักนิด
สอบถามครับแต่ละจังหวัด ศพฉ.มีการบริหารเหมือนกันไหมครับตัวอย่างที่จังหวัดอุตรดิตถยกให้อบต.หรือเทศบาลทำทั้งหมดแล้วมูลนิธิกับสมาคมสองหน่วยงานเอกชนที่ทำมากว่า20ปีไม่มีพื้นที่วิ่งครับ(มีแค่2ตำบลที่ไม่ทำ)สอบถามเจ้าหน้าที่กู้ชีพแจ้งว่าให้ไปสอบถาม ผอ.ศพฉ.เองปรากฏว่าไม่มีเขตให้วิ่งครับจึงอยากลองสอบถามแต่ละจังหวัดดูครับว่าเป็นเหมือนที่อุตรดิตถ์ไหมครับ...ไม่ได้ตั้งกระทู้เพื่อความคิดเห็นที่ขัดแย้งแต่ต้องการความรู้ไปพัฒนาองค์กรครับ(ตัวผมเองก็วิ่งฟรีไม่มีเคทมา4-5ปีแล้วครับเพราะแจ้งว่าเป็นเขตอบต.ครับ
1. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ใช้ตัวย่อว่า "สพฉ." มีเลขาธิการสถาบันฯเป็นผู้บริหารสูงสุด
2. การจัดแบ่งพื้นที่ปฏิบัติงานของแต่ละจังหวัด เป็นอำนาจการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแต่ละจังหวัด หน่วยที่จะเข้าระบบการแพทย์ฉุกเฉิน สถานะต้องเป็นนิติบุคคล ถ้าหน่วยงานท่านต้องการพื้นที่ ว.4 ให้ติดต่อ สสจ.(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) แจ้งความประสงค์ขอจดทะเบียนเข้าระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้ถูกต้องตามกฎหมายเลย (มูลนิธิก็เข้าได้แต่ต้องเข้าในนามของหน่วยงาน อาสาจะไปเข้าระบบเองเป็นรายบุคคลไม่ได้) อดีตเรามูลนิธิ-อาสากู้ภัย เป็นจิตอาสาทำโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน วิ่งช่วยเหลือกันเอง จัดแบ่งพื้นที่กันเอง ช่วยกันตามอัตภาพ เป็นสิ่งที่ประเสริฐสุดๆ แต่เรายังขาดคุณภาพ ขาดความรู้ ขาดวิชาการ ขาดมาตรฐานไม่ทัดเทียมนานาชาติ ไม่เป็นที่ยอมรับของต่างชาติ ซึ่งปัจจุบันเรามี พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 มีการพัฒนา จัดระเบียบ มีกฎ มีมาตรฐาน ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้ได้มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของต่างชาติ สอบถามครับแต่ละจังหวัด ศพฉ.มีการบริหารเหมือนกันไหมครับตัวอย่างที่จังหวัดอุตรดิตถยกให้อบต.หรือเทศบาลทำทั้งหมดแล้วมูลนิธิกับสมาคมสองหน่วยงานเอกชนที่ทำมากว่า20ปีไม่มีพื้นที่วิ่งครับ(มีแค่2ตำบลที่ไม่ทำ)สอบถามเจ้าหน้าที่กู้ชีพแจ้งว่าให้ไปสอบถาม ผอ.ศพฉ.เองปรากฏว่าไม่มีเขตให้วิ่งครับจึงอยากลองสอบถามแต่ละจังหวัดดูครับว่าเป็นเหมือนที่อุตรดิตถ์ไหมครับ...ไม่ได้ตั้งกระทู้เพื่อความคิดเห็นที่ขัดแย้งแต่ต้องการความรู้ไปพัฒนาองค์กรครับ(ตัวผมเองก็วิ่งฟรีไม่มีเคทมา4-5ปีแล้วครับเพราะแจ้งว่าเป็นเขตอบต.ครับ
ลองไม่จ่ายค่าเคสดูสิ ไม่มีใครวิ่งหรอก มีแต่อาสาทั้งนั้นที่วิ่ง อบต.ก็หวังค่าเคสไม่มีการที่จะช่วยเหลือโดยเอางบ อบต.ออกมาหรอก เห็นมีจ่ายค่าเคสเลยออกมาทำอย่างน้อยเพื่อเป็นการเอาหน้าเอาตาแต่ละที่ ผมจะไม่ต่อยาวกับ อบต. พูดแล้วเจ็บใจ เซ็ง
3. การจ่ายค่าตอบแทนหรือที่ทุกคนว่าเป็นค่าเคสนั้น เป็นการจัดสรรเงินงบประมาณ จากทุกท่านที่ทำงานโดนหักจ่ายเงินเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพฯ และนำกลับมาเป็นสวัสดิการสังคมฟรีให้กับประชาชนทุกคน เหมือนรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี ค่าไฟฟ้าฟรี ค่าน้ำฟรี สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือปัจจุบันเป็นบัตรทอง ซึ่งการจ่ายเงินจัดสรรงบประมาณนี้ จะนับตามจำนวนที่นำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ถ้าเป็น ALS =1000 BLS=500 FR=350 เลยทำให้ทุกท่านคิดว่าหน่วยงานที่เข้าระบบฯนี้ วิ่งรับค่าเคส
อยากจะให้ท่านที่มีความคิดแตกต่างไป เข้าใจระบบใหม่นี้ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินนั้นไม่ได้มีแต่เหตุ ว.40 อย่างที่ท่านๆวิ่งกันเท่านั้น ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีภัยธรรมชาติใหญ่ที่เกิดขึ้นเช่น สึนามิ วาตภัย อุทกภัย ฯลฯ ซึ่งเกิดขึ้นแต่ละครั้งทำให้เกิดการเสียชีวิต บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ถ้าไม่มีการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยให้มูลนิธิ-อาสากู้ภัย วิ่งช่วยเหลือกันเหมือนสมัยก่อนๆ ลองนึกถึงเหตุสึนามิครั้งที่แล้วที่เราโดนด้วยพร้อมกันกับหลายๆประเทศ ประเทศที่ไม่มีระบบฯที่มีมาตรฐานจะวุ่นวายไปหมด แต่ประเทศที่มีระบบดีเช่นญี่ปุ่นมีการช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนที่ได้ประโยชน์จากระบบที่ดีก็คือ "ประชาชนของประเทศนั้น" โลกใบนี้กำลังมีภัยธรรมชาติรุนแรงเข้ามาใกล้ตัวเราขึ้นทุกวัน พวกเราทุกคน ทุกหน่วยงาน มีส่วนร่วมกันพัฒนาระบบ ประเทศนี้เป็นของพวกเราทุกคน เราต้องช่วยกัน ก้าวหน้าไปพร้อมๆกัน ผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้....ขอบคุณครับ ;Dติดลมออกความคิดซะยาวเลย