สายนำสัญญาณ คือ ตัวกลางที่จะนำสัญญาณจากวิทยุไปยังสายอากาศ และ จากสายอากาศกลับมาที่วิทยุ
ดังนั้นหากสายยิ่งมีความสามารถในการนำได้เร็ว ก็จะนำสัญญาณ packet จากวิทยุไปสู่สายอากาศเพื่อออกอากาศได้เร็วยิ่งขึ้น
สายนำสัญญาณมี 2 ชนิด คือ
1. บาลานซ์ไลน์ (Balance line) คือสายอากาศที่วางขนานกันสองเส้นมีฉนวนกั้นกลาง แบบสายทวินลีด หรือสายทีวีสมัยโบราณ ที่มีอิมพิแดนซ์ 300 โอมห์
2. อันบาลานซ์ไลน์ (Unbalance line) คือ สายนำสัญญาณที่ตัวนำสองเส้นมีลักษณะต่างกัน หรือเรียกว่า สายโคแอกเชียล (coaxial) แบ่งออกเป็นชั้นๆ
ส่วนประกอบของสายโคแอกเชียล
- ส่วนฉนวนชั้นนอกสุด เป็นส่วนที่ใช้ห่อหุ่มสายเพื่อป้องกันการถูกกระแทก ฉีกขาด ของสายภายใน
- ส่วนชีลด์ เป็นโลหะ อาจเป็นแผ่นหรือใช้การถักให้เป็นแผง ห่อหุ้มอยู่ชั้นนอก ทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวน
และป้องกันการแพร่กระจายคลื่นของสัญญาณออกมาภายนอก
- ส่วนไดอิเล็กทริก เป็นตัวขั้นกลางระหว่างส่วนของ อินเนอร์ และ ชีลด์ ฉนวนนี้มีความสำคัญในส่วนของการลดทอนสัญญาณด้วย
มักเป็น โพลิเอธิลีน(PE) หรือโฟม
- ส่วนนำสัญญาณ หรืออินเนอร์ เป็นตัวนำอยู่ภายในสุด ทำหน้าที่นำสัญญาณจาก อุปกรณ์ต้นทางไปยังปลายทาง
Velocity Factor คือ ค่าความเร็วของคลื่นในสายนำสัญญาณ ซึ่งจะเปลี่ยนตามวัสดุที่นำมาใช้กั้นกลางระหว่าง อินเนอร์ กับ ชีลล์
ค่าความเร็วของคลื่นเดินทางในสาย เราเรียกว่า ตัวคูณความเร็วของสาย
เนื่องจากคลื่นเดินทางในสายได้ช้ากว่า เดินทางในอากาศ เราคิดเป็นอัตราส่วน หรือ เปอร์เซ็นต์
เช่น RG- 58 A/U มีตัวคูณความเร็วเท่ากับ 0.66 ดังนั้นความเร็วของคลื่นในสาย คือ 0.66 X 300 ล้าน m / sec เท่ากับ 1.98 ล้าน m/sec.
ทีนี้เราไปดูค่าในตาราง
http://www.hs9ay.ob.tc/transmitonline.html
จากตารางตัวอย่าง จะเห็นตัวคูณ ของสาย RG142 หรือ สายดูป๊องของเรา มีค่า 70 ซึ่งสูงกว่าสาย RG58 ทั่วไป
แต่มีขนาดเท่า RG58 สามารถเดินในรถได้ง่าย และการที่มีชิลด์และอินเนอร์เป็นเงิน ทำให้การนำสัญญาณดี การเกิดความร้อนสะสมน้อย
รวมทั้งชีลล์สองชั้น ทำให้สัญญาณรบกวนออกมา และเข้าสายนำสัญญาณจะน้อยทั่วไปจะเห็นใช้ในการทอนจากสาย haliax หรือพวกสาย hardline ต่างๆ มาเข้าตู้ในตู้เบสโทรศัพท์ใหญ่ๆ ทั่วไป
แต่ราคาแพงหายห่วงครับ