มันเป็นมานานแล้วละ
http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=sareeya&id=2421ประเด็นข่าวดัง: ศูนย์พญาอินทรีเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุข ยกเลิกการจ่ายค่าเคสแก่ หน่วยกู้ชีพที่ส่งผู้บาดเจ็บบนท้องถนนเพราะเป็นที่มาของการยิงกัน ทำร้ายกัน เรื่องนี้สื่อมวลฃนทั้งหลาย รู้หรือไม่ จ่ายกัน 500-1200 บาท ที่เข้าใจกันว่ารพ.แจก ข้อเท็จจริงแล้ว กระทรวงสาธารณสุข เป็น ผู้จ่ายค่าเคสเอง นั่นไง.....จึงแย่งกันเพื่อสร้างยอดรายได้
========================================
อ่านแล้วต้องร้อง หึ หึ ในลำคอ ช่างไม่รู้อะไรเสียเลย ถึงยุคสมัยนี้เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน เรายังอยากให้ใครช่วยเหลือเราตามใจชอบได้อยู่เหรอ ชีวิตมนุษย์เนี่ยนะ ทำด้วยใจ มันเพ้อฝันมากเลย เท่ากับว่าเรายอมรับด้วยว่าการทำด้วยใจมันจะมีมาตรฐานเท่ากันทุกคน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เครื่องแบบที่สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับระบบโดยรวม อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน ต่างหล่นมาจากฟ้าให้เราใช้ได้ฟรีๆ เช่นนั้นหรือ?
การจ่ายค่าเคสต่างจากค่าดำเนินการตรงที่ ค่าเคสที่จ่ายจากโรงพยาบาลเอกชน แอบจ่ายให้หน่วยที่ไปส่งคนเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรที่โรงพยาบาลนั้นๆ แต่ค่าดำเนินการจ่ายให้ที่ศูนย์กู้ชีพ ไม่ได้จ่ายให้หน่วยบริการโดยตรง ศูนย์กู้ชีพนั้นๆจึงสามารถบริหารเงินนี้เป็นค่าเงินเดือน ค่าอุปกรณ์ ตามระเบียบรถ FR, BLS, ALS ที่กำหนดจากกระทรวงได้ ถามว่าถ้าไม่จ่ายแล้วจะมีใครหน้าไหนยอมมาโดนบังคับให้ต้องใส่เครื่องแบบนี้ มีอุปกรณ์นี้ ผ่านการอบรมนี้ และที่สำคัญต้องออกเคสตามคำสั่งของศูนย์สั่งการเท่านั้น และต้องอยู่ในเขตรับผิดชอบอีกด้วย นี่ขนาดจ่ายยังทำนอกระเบียบเยอะแยะ ถ้าไม่จ่ายมีหวังกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นเจ้าภาพ คงสั่งอะไรไม่ได้เลย ซึ่งนี่ไม่ใช่ระบบที่ประชาชนควรจะได้รับ เพราะจะขาดประสิทธิภาพและสิ้นเปลืองมหาศาล
การทำด้วยใจนั้นดี แต่ม้นไม่เหมาะกับระบบช่วยชีวิตฉุกเฉินเลย เพราะจะขาดเอกภาพอย่างมาก
ว่ามั้ย? การจ่ายค่าดำเนินการในต่างประเทศ ที่รัฐไม่สามารถจัดหน่วยบริการให้ครอบคลุมทั่วไปนั้น จะใช้วิธีจ้างเอกชนวิ่ง ซึ่งประหยัดกว่ารัฐทำเอง โดยจ่ายกันครั้งละเป็นหมื่นๆบาท (800 เหรียญ) ในขณะที่ประเทศที่รัฐดำเนินการทั้งหมดนั้น ต่างประสบปัญหาการเงินแทบเอาตัวไม่รอดทั้งนั้น เช่น ที่อังกฤษ ออสเตรเลีย
สมมติว่ารัฐ (สาสุข) จัดตั้งศูนย์กู้ชีพด้วยเงินตัวเองทั้งหมด ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมันต้องมากกว่า 2,000 บาทต่อเคสแน่นอน การจ่ายครั้งละ 500 - 1,000 ต่อเคส เพื่อเป็นค่าดำเนินการ โดยมีเจ้าภาพควบคุมสั่งการ จึงเป็นเรื่องที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงมาก
ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากความหย่อนยานของการควบคุมหน่วยบริการ ถ้า กทม. ก็คือศูนย์เอราวัณ ที่ตอนนี้ทำตัวไม่ค่อยรู้ร้อนรู้หนาวเท่าไหร่ ถ้าจะควบคุมมันมีวิธีอยู่เยอะแยะ ตัวอย่างเช่นมีการสุ่มตรวจหน่วยบริการที่ออกเคสตามที่ต่างๆ คือไปดูการทำงาน ณ จุดเกิดเหตุ ถ้าพบความผิด (เช่น ยิงกันแบบนี้) ก็ควรประสานตำรวจให้จับกุมเดี๋ยวนั้น