ยาวมากเลยครับสูตรของ DK7ZB ว่ามีโอกาสจะลองทำกับเขาบ้าง
ต้นแบบเขาวางสายอากาศแบบแนวนอน (horizontal polarization)
แมสหรือเสากลางจึงไม่มีผลต่อรูปแบบการแพร่กระจายคลื่น
แต่เมื่อเรานำมาวางในแนวตั้ง (veritcal polarization)
การประกอบกับเสากลางในลักษณะแนวเดียวกับอิลิเมนท์จะมีผลกระทบต่อการแพร่กระจายคลื่่น
ทางแก้คือใช้เสากลางที่เป็นอโลหะ เช่นไฟเบอร์กลาส แต่ยุ่งยากและหายากครับ
ถ้ามีการทดลองครั้งต่อไป อาจาร์ยแม็คลองให้น้องๆนักศึกษาใช้เสากลางลักษณะตัวแอลคว่ำ
บูมขวางยื่นออกไปไม่น้อยกว่าความยาวคลื่น ลักษณะเหมือนการจัดวางแบบสองแผง แต่ใช้แค่ด้านเดียว
เหมาะสำหรับสถานี portable สายอากาศยากิ 1 แผงวางแนวตั้ง ผมว่าน่าจะไปได้ดีกว่าการใช้เสากลางแบบที่อาจารย์ใช้อยู่
ข้อมูลผิดถูกยังไงต้องขออภัยด้วย
ครั้งหน้าไปด้วยคนนะครับ ครับมีผล อย่างที่ท่านว่าจริงๆครับ เสากลางที่เป็นโลหะ ไปขวางการทำงานของการสท้อนแต่ละอีลิเมนต์
ทดลอง ง่ายๆ เราให้สายอากาศอยู่ในแนวนอน แล้วกดคี ดูค่าSWR แล้วกดคีค้างไว้ เอาโลหะหรือเศษอีลิเมนต์ แตะรูดไปทุกๆอีลิเมนต์ จะเกิดค่าSWRขึ้นสูงต่ำ
ทุกๆอีลิเมนต์ แล้วถ้าวัดแนวตั้งอย่างนี้ อีลิเมนต์ที่เลยไปข้างหน้าที่เสากลางบัง จะไม่มีผลอะไรกับค่าSWRเลย ลองดูครับ