ไม่รู้อ่านแล้วจะงงป่าวนะ
วิทยุสื่อสารที่นำเข้าเมื่อก่อนไม่โดนบังคับทำ type หลังนำเข้าและเคลียร์ภาษีและเอกสารอีรุงตังนังกับศุลกากรเสร็จแล้วก็เอาเครื่องไปส่งตรวจที่กรมไปรษณีย์(กทช.) แล้วเค้าก็สลัก ปท.(ตอนหลังแปะครุฑแดงกทช.) ทะเบียนแบบนี้ก็จะเป็นแบบ ปท. และ กทช. และล่าสุดทะเบียนแบบใหม่ไม่ใช้เลข ปท./กทช. ใช้แต่เลขเครื่องไปยื่นจด สังเกตดี ๆ ว่าเค้าให้ความสำคัญกับเลขเครื่องมาก
(ตัวอย่าง IC-2N 02N MT1000 พวกเก่าๆ สิบ ยี่สิบปีผ่านมาแล้ว เก่าเกินไปกว่ามี type ถึงอยากจะทำ type ก็ทำไม่ได้เพราะโรงงานปิดสายการผลิตไปนานแล้ว หาเอกสารจากโรงงานไม่ได้ แต่ถ้าหาเอกสารได้ก็โอกาสเห็น IC-2G เป็นครุฑดำ)
จนกระทั่งวันนึงมีกฏกระทรวงออกมาใหม่ว่าเครื่องวิทยุคมนาคมที่จะนำเข้าต่อไปนี้ต้องผ่านการทดสอบรับรองตัวอย่างกับทาง กทช.ซะก่อน หรือที่เรียกว่าทำ type ทะเบียนเจ้าพวกนี้จะเป็นครุฑดำเลขบนครุฑดำจะมีตรงเลขใบรับรองผล type ของรุ่นนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น IC-2200-T ของรายใหญ่ที่ขายอยู่เลขครุฑดำทุกชิ้นของรุ่นนี้ไม่ว่ากี่ร้อยกี่พันชิ้นจะเลขเดียวกันหมด ก็คือเป็นเลขของผล type ของ IC-2200-T ดังนั้นก็จะมีเพียงเลขเครื่องที่แตกต่างกัน สังเกตดี ๆ ว่าเค้าให้ความสำคัญกับเลขเครื่อง บางท่านไม่รู้คิดว่าเลขครุฑดำของ IC-2200-T ต้องไม่ซ้ำ ต้องรันไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ครับ
(ตัวอย่าง IC-2200-T FM-9012 IC-3FGX ฯลฯ เครื่องรุ่นใหม่ ๆ ทั้งหลายแหล่)
และครุฑดำของรุ่นก็มีเลขต่างกันไป ถึงจะครุฑดำของรุ่นเดียวกันแต่ผู้นำเข้าคนละคนเลขท้ายก็คนละเลข