nTNC-Module Hardware Review
ขอรีวิวเฉพาะส่วนฮาร์ดแวร์ก่อนครับ ในส่วนซอฟแวร์ค่อยอธิบายในส่วนของการใช้งานน่าจะเห็นภาพได้ชัดเจนกว่า ในส่วนนี้ก็จะขอเสนอภาพของตัว nTNC-Module ที่ทำออกมาในรูปแบบขนาดไอซี PDIP 28 ขา สามารถนำมาใส่ซ๊อกเก็ต 28ขากว้างได้ เพื่อให้ง่ายต่อการถอดประกอบ สลับสับเปลี่ยนการใช้งานในด้านต่าง ๆ และแน่นอนว่าทางซอฟร์แวร์นั้นสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลายอาธิเช่น TNC,GPS Tracker,Digi Repeater,Weather Station,Telemetry,Status เป็นต้น เอาละทีนี้มาดูคุณสมบัติและภาพของจริงกันครับ
คุณสมบัติ - ขนาดโมดูลแบบ PDIP 28ขา ใส่ซ๊อกเก็ตประยุกต์ใช้งานง่าย
- โปรโตคอลการสื่อสารภายใน HDLC,AX.25,APRS
- ความเร็วสื่อสาร AFSK 1200bps
- ความเร็วเชื่อมต่อ UART(TTL) 300bps-115200bps
- เข้ารหัส Encode ด้วยซอฟแวร์ (APRS->Audio)
- ถอดรหัส Decoder ด้วยซอฟแวร์ (Audio->APRS)
- เชื่อมต่อ UART/GPS ความเร็ว 1200-115200bps
- กำหนดใช้งานเป็น TNC (ทำไอเก็ต)
- กำหนดใช้งานเป็น Digi Peater (ทำดิจิ)
- กำหนดใช้งานเป็น Tracker (ทำแทรกเกอร์ติดรถ)
- กำหนดใช้งานเป็น Telemetry (ดาต้าล๊อกเกอร์)
- กำหนดใช้งานเป็น Weather Station(Lacross-WS2316) (ทำสถานีตรวจอากาศ)
- เมื่อทำงานเป็น Tracker ใช้งานโหมด Smart Beacon และโหมด Item ได้
- เมื่อทำงานเป็น Digi ใช้งานโหมด Smart Digi ได้
- ประยุกต์ให้ทำงานพร้อมกันได้เช่น WX+Digi หรือ Tracker+Digi เป็นต้น
- ประยุกต์ใช้เป็นโฮมออโตเมชั่นตรวจวัด เปิดปิดประตู ปริมาณใช้ไฟฟ้า ปริมาณใช้น้ำ และส่งสเตตัสแจ้งเตือนการบุกรุกได้
- รองรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ
- อินพุทและเอาท์พุทผ่าน UART ด้วยเท็กซ์โหมดควบคุมและ TNC2 Monitor
- ใช้ได้กับแหล่งจ่ายไฟ 2.7V-5.5V
ขนาดของ nTnC-Module เมื่อเทียบกับเหรียญบาทไทยออกแบบ PCB เป็นแผ่นวงจรพิมพ์สีแดง ขนาดจึงไม่ใหญ่มากสามารถดัดแปลงประยุกต์ใส่ไว้ในอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ง่าย
ภาพมุมบน และด้านล่างตำแหน่งการวางอุปกรณ์ใช้ชนิด SMD ขนาดเล็ก วางทั้งด้านบนและด้านล่าง และมีตำแหน่งขาที่ 1 ขาที่ 14 ขาที่ 15 และขาที่ 28 ไว้ที่มุม เพื่อให้สังเกตุและใช้งานขาได้ถูกต้อง
ภาพมุมมองจากด้านข้างขาซ๊อกเก็ตเลือกใช้ขาทอง แบบกลมเสียบเข้ากับซ๊อกเก็ตได้แน่นไม่โยกหรือหลวม (ท่านใดไม่เอาบอกก่อนนะ มันถอดยากมาก)
การเชื่อมต่อขาไปใช้งานอย่างง่ายจากตำแหน่งการเชื่อมต่อจากภาพ ถ้าใช้งานเป็นดิจิ ก็ใช้เพียงค่าไฟ VCC/GND และสายต่อเข้าวิทยุ PTT/MIC/SP ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้านำไปใช้เป็น TNC ประกอบในเร้าเตอร์เพียงต่อสาย TXD/RXD เพิ่มเข้าไป ก็สามารถใช้งานเป็น TNC ได้ทันที แต่ทั้งนี้ในส่วนขา MIC สำหรับวิทยุที่ต้องต่อเข้าแทนไมค์อาจจำเป็นต้องใช้ VR มาเพื่อปรับความดังของเสียงเพื่อไม่ให้เกิดโอเวอร์ม๊อดซึ่งแล้วแต่การประยุกต์ใช้งานของวิทยุแต่ละตัว
แบบผังวงจรในส่วนนี้ จะเห็นได้จากวงจรว่า R7 จะไม่ได้ใส่ให้เนื่องจากวิทยุแต่ละรุ่นต่ละยีห้อนั้นใช้ค่าต่างกัน และในบางรุ่นไม่จำเป็นต้องใช้เมื่อมีขาต่อ PTT และที่ R2 ใช้ค่าความต้านทาน 330โอห์ม แทนลำโพงเพราะส่วนใหญ่ภาคขยายเสียงของเครื่องวิทยุที่ใช้ไฟ DC มักเป็นวงจรจำพวกขยายเสียงแบบ OTL