มาแล้วสำหรับวงจรสนับสนุนการใช้ nTNC ร่วมกับ Raspberry Pi
อธิบายวงจรคร่าว ๆในกรอบ POWER ออกแบบให้ใช้กับดีซีแจ็คขนาด 2-3mm จากไฟรถยนต์หรือแหล่งจ่ายอื่น ๆ ผ่านกันกลับขั้วด้วย D1 ลดแรงดันลงให้เหลือ 5V ด้วย U1 ป้อนผ่าน D2 กันไฟย้อนจากกรณีที่อาจเสียบสาย USB ร่วมบนบอร์ดราสเบอร์รี่พาย ป้อนเข้าบอร์ดราสเบอร์รี่พายและอาศัยแร็คกูเลเตอร์ลดแรงดัน 5V-3.3V บนบอร์ดราสเบอร์รี่พายย้อนกลับมาที่ขา 1ของ P1 เอามาเลี้ยงวงจร ในขา 12ของ P1 ต่อเอาไว้กับ GPIO18 เอาไว้สั่งรีเซ็ต nTNC และขา 8,10 ต่อตรงกับ nTNC ได้เลยจากระดับแรงดัน Fin/Fout เท่ากัน
ส่วนกรอบ Audio Amplifier ออกแบบให้ขยายสัญญาณ 3เท่า แต่จะถูกกำหนดแรงดันเอาท์พุทด้วย D4 ไม่ให้เกิน 1Vp-p อันเนื่องมาจาก nTNC จะรองรับสัญญาณเสียงที่แรงดันไม่เกิน 1Vp-p ดังนั้นวงจรนี้จะช่วยขยายสัญญาณให้แรงขึ้นจากการต่อสัญญาณจากวอลลุ่มวิทยุ และป้องกันการขยายแรงดันเกินที่ nTNC จะรับได้จากการทดสอบตำแหน่งวอลลุ่มอยู่ที่ 8นาฬิกา-16นาฬิกา การปรับเสียงถ้าต่อจาก AF ก่อนวลลุ่มในวิทยุก็ให้ปรับ VR2 แทน แต่ถ้าต่อจากลำโพงก็ปรับได้ทั้งวอลลุ่มวิทยุและ VR2 (ถ้าไม่ใช้ก็ช๊อต JP1 แล้วถอด C4 หรืออุปรกรณ์ในกรอบนี้ออก ก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน จากการทดสอบตำแหน่งวอลลุ่มอยู่ที่ 9.00นาฬิกา-14นาฬิกา)
ส่วนของ Joystick Interface ใส่เอาไว้สำหรับต่อ จอยสติ๊ก 5ทิศทาง คิดว่าถ้าใช้ในรถยนต์ส่วนใหญ่น่าจะซ่อนเอาไว้ใต้เบาะ ต่อจอเข้าเครื่องเสียงในรถหรือกระจกกล้องมองหลัง และต่อสายคอนโทรลจอยสติ๊กมาแปะไว้สักแห่งเอาไว้กดดูขณะขับรถ
ส่วนแจ็คที่ใช้ต่อเข้าวิทยุรับส่ง ทางผมขอใช้เป็นแจ็คหูฟังโทรศัพท์ขนาด 3mm แบบ 4ชั้น เพื่อให้มีขนาดเล็กและเหมาะกับอุปกรณ์โมบายเคลื่อนที่ สามารถเลือกใช้สายชิลด์แบบ 3คอร์ ต่อสายได้ยาวลดสัญญาณรบกวนลงได้อีกทางหนึ่งด้วย
การปรับไมค์และคีย์ส่ง วิทยุที่มีขา PTT ก็ต่อได้ตามวงจร ปรับเสียงส่งออกด้วย VR1 ถ้าวิทยุที่ไม่มีขา PTT มักใช้ขาไมค์ร่วม ก็ให้ต่อ R ประมาณ 2K ระหว่างขา MIC-PTT ที่ J3
ในส่วนของ PCB อาจจะแปลกประหลาดนิดหนึ่ง พยายามออกแบบเป็น PCB หน้าเดียว ใช้อุปกรณ์ SMD ขนาดกลาง ๆ เป็นส่วนใหญ่ และมี nTNC,J1,J2 ที่จะถูกประกอบไว้ด้านใต้บอร์ด แทรกค่อนข้างเล็ก(12mill) ไม่รู้ที่บ้านหม้อรับทำไหม? ไม่งั้นส่งโรงงานยาวเลย