จริงๆแล้วตัวแปลมันมีหลายอย่างครับ ซึ่งการวัดกำลังส่งถ้าจะให้ชัวควรใช้ดัมมี่โหลดครับ ยกตัวอย่าง เช่น เครื่อง ADi ของผม
ใช้สายอากาศ Lazy-H วัดกำลังส่งได้ 65วัตต์ แต่พอเปลี่ยนเป็น Di4 วัดได้ 75วัตต์ สายนำสัญญาณเส้นเดิม เห็นใหมครับ
ปัจจัยไม่ได้อยู่ที่สายอย่างเดียว และอาจจะไม่ได้อยู่ที่ตัวสายอากาศ เพราะในระบบสายอากาศมีตัวแปลมากมาย ทั้งค่า R ค่า L ค่า C
อาจจะเป็นตัวแปลสำคัญทำไห้ตัว SWR วัดค่าออกมาผิดพลาดได้ครับ ผมเคยได้ยินเพื่อนสมาชิกพูดกัน ใช้สายอากาศต้นนี้แล้วอั้น
swr ลงแต่วัตต์ออกน้อยลง ใช้อีกต้นออกดีกว่า วัตต์ออกเต็มๆ อยากจะบอกว่ามันไม่เกี่ยวกัน แต่บ้างครั้งก็ยากที่จะบอกให้เชื่อ
ออกตัวก่อนว่า ไม่ได้ว่าสายนำสัญญาณของอาจารย์ไม่ดีนะครับ แต่อยากไห้เพื่อนสมาชิกเข้าใจหลักการทำงานของวิทยุสื่อสาร
บางครั้งการคำนวณกับผลจริง ๆ ที่ออกมาก็ไม่ได้เท่ากันเสมอไป พูดง่าย ๆ ว่ามันมีปัจจัยที่แทรกซ้อมอยู่หลายอย่างครับ พูดยากอย่างว่าแหละครับ ต้องลองซื้อไปทดลอง ทดสอบดูครับ สายรุ่นนี้ จริง ๆ ไม่ได้เอามาใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น เดิมใช้ในระบบโทรคมนาคมผ่านดาวเทียม(ขอสงวนชื่อครับ) และในเครื่องบินครับ บังเอิญด้วยมีเพื่อนให้เอามาใช้ จึงลองเอามาดู ตอนแรก ๆ ก็มีความเห็นไม่ต่างจากเพื่อนสมาชิกคือ เอากอง ๆ ไว้ก่อนเดี๋ยวค่อนมาเล่น ผ่านไปหลายเดือนถึงเริ่มาทำจริง ๆ จัง ๆ ปรากฏว่า
ตอนแรกมันไม่ได้ตามที่คำนวณเลย ก็งงอยู่พัก แต่ค่อย ๆ ทิมสายจนได้ค่าจากนั้นก็ ลองวัด SWR ดู ปรากฏตามรูปที่แจ้งในกระทู้ครับ และลองทดสอบตอนแรกก็ขูดกับตัวถังรถเพราะสายเปลือย จนต้องเอาท่อหดมาหุ้มไว้ และสิ่งที่เกิดขึ้นก็เหมือนกับที่เพื่อนสมาชิกแจ้งมาครับ ต้องลองดูครับตามวิสัยของนักวิทยุสมัครเล่นครับ
หลัก ๆ
- ถ้าท่านเหลือสายไว้แล้วม้วนอยู่ swr ท่านเพิ่มแน่
- สายที่เปลือยหากได้แตะตัวถังรถ SWR ท่านไม่กระดิกเลย เพราะสายนี้เขาเดินในเครื่องบินก็เดินแบบนี้ (อันนี้อ้างอิงจากที่เพื่อนบอกมาไม่ได้เห็นด้วยตาครับ บุญไม่ถึง)
- เวลาใช้นาน ๆ สายไม่ร้อนไม่อ่อนบวกเปียกครับ เมื่อเทียบกับ RG58 ดีกว่าเยอะ อิ อิ