Q S O อย่างไร ไม่ ดี ?
********************************************
เรียกขาน-ตอบรับ
HS**** อยู่ม้าย ? – XYZ อยู่ม้าย ? – HS**** - XYZ
ตอบ ตอบ ตอบ !!! - ผู้ใดตอบ
– ก๊อปไม้ก๊อป
- ปี้ยะป่าว
CQ CQ CQ
- ตอบ CQ – ผู้ใดตอบ CQ ?? – ก็ผู้ใด CQ ล่ะ ??
แถ็ก แถ็ก แถ็ก – เชิญ – ผู้ใดรับแถ็ก ?? เบก เบกคับเบก – เชิญสิบล้อเบก !! }
การติดต่อสื่อสารทางวิทยุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการวิทยุสมัครเล่น การแสดงตน (STATION IDENTIFICATION) คือ การขานสัญญาณเรียกขาน (CALL SIGN) ซึ่งนอกจากเป็นกติกาสากลแล้วยังถือว่าเป็นมรรยาทที่ดีอีกด้วย
ในการ QSO ไม่จำเป็นต้องทวนสัญญาณเรียกขานกันทุกประโยค ระเบียบสากล ITU ระบุว่าอย่างน้อยที่สุด ต้องขาน CALL SIGN (เพื่อเป็นการแสดงตน) ไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งภายในช่วงเวลา 10 นาที
การขานสัญญาณเรียกขาน (CALL SIGN) ไม่ต้องกลัวว่าคนอื่นเขาจะฟังออก ขานช้าๆ ชัดๆ โดยเฉพาะตอนเรียกขานกันครั้งแรกๆ ควรขานเป็น PHONETIC ALPHABET จะได้ไม่สับสนว่า เป็นตัว F Foxtrot, H Hotel, S Sierra หรือ X X-Ray เป็นต้น
ROGER
{ โรเจอร์เลย – ท่านโลเจอร์อาคาร xxx ไหม ? – ผมก็ไม่โลเจอร์เลย ไม่รู้ซีว่าอยู่ตรงไหน !
ทำไมท่านจึงโลเจ้อร์ชื่อจริงผมล่ะ ? – อ๋อ ผมโลเจ้อร์ชื่อท่านแล้วละ แต่ยังไม่โลเจ้อร์หน้าท่านเลย }
คำว่า “ ROGER (ร๊อด์เจ้อร์)” นั้นมิได้แปลว่า ทราบ หรือ รู้ หรือ รู้จัก ความหมายของคำนี้ เป็นในลักษณะว่า “รับทราบ เชิงรับปฏิบัติ” ลำบากนัก(แต่มันเท่ห์?) ก็อย่าไปใช้มันเลยดีกว่า ภาษาไทยธรรมด๋า ธรรมดา ก็ไพเราะดีอยู่แล้ว เข้าใจง่ายดีด้วย
QRD – QTR –X – X-RAY – HOME – DRIVE MOBILE
{ QTR นี้ ผมกำลังจะได๊ว์โมบาย QRD ไป HOME ท่าน ท่านอย่าเพิ่ง QRD ไปไหนนะ ให้ QRX ผมที่ HOME ก่อนนะ ผมคงจะใช้ QTR ไม่น่าเท่าไรหรอก อ้อ ! แล้วช่วยบอก X ของท่านให้เตรียมขนมอร่อยๆ ไว้เผื่อ X-RAY ของผมด้วย ลืมบอกไปว่า X-RAY เขาเผอิญมี QTR ว่างเว้น เขาเลยขอตามมาด้วย เขาอยากจะมา โลเจ้อร์ X ของท่านบ้าง เพราะเคยแต่ได้ยินเสียงเขา Q มาเป็น QTR นานแล้ว เสียโอดีโอเขาเพราดี เลยอยากจะมาโลเจอร์ หน้าเขาบ้าง }
Q CODE หรือ Q SIGNAL เขามีไว้เพื่อย่นย่อข้อความในการติดต่อสื่อสารในระบบ CW (CONTINUOUS WAVE) หรือ วิทยุโทรเลข (RADIO TELEGRAPHY) คือ การรับ-ส่ง โดยการเคาะรหัสมอร์ส (MORSE) ส่วนการติดต่อสื่อสารในระบบวิทยุโทรศัพท์ (RADIO TELEPHONY) นั้น คือ การใช้เสียงพูดไปผสมกับคลื่นวิทยุพาหะ และ เมื่อไปถึงผู้รับก็จะถูกถอดออกมาเป็นเสียงคำพูดอีก จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้รหัสย่อ หรือ Q CODE หรือ Q SIGNAL นักวิทยุสมัครเล่นสากลจะต้องผ่านการสอบ รับ-ส่ง วิทยุโทรเลขขึ้นพื้นฐานที่อัตราความเร็วต่ำๆ ก่อน ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ติดต่อในระบบวิทยุโทรเลขก็ตาม Q CODE พื้นฐานง่ายๆประมาณ 10 กว่าตัวก็ควรที่จะต้องทราบ
QRD นั้นเป็น MARITIME Q CODE ใช้ในการเดินเรือ แปลตรงๆ ตัวว่า “ท่านกำลังมุ่งหน้าไปยังท่า(เรือ)ใด ? และท่านออกเดินทางมาจากท่า(เรือ)ใด?” นักวิทยุสมัครเล่นระดับนานาชาติเล่นมาร่วม 50 ปีแล้วบอกว่ายังไม่เคยรู้เลยว่า QRD นี้คืออะไร เพิ่งมาได้ยินเกร่อไปหมดที่เมืองไทยนี่เอง { QRD ถึงไหนแล้ว? QRD เลี้ยวซ้าย QRD เลี้ยวขวา } ฟังแล้วมันให้น่ากลุ้ม !
QTR ใช่ “เวลา” ก็หาไม่ จริงแล้วไซร้คือ เขาอยากรู้ว่ากี่โมงแล้ว พูดให้ง่ายก็ขอเทียบเวลานั่นเอง ทำไมจึงชอบเอาคำเดียวมาใช้แทนความหมายของทั้งประโยคก็ไม่ทราบ
QSL มิได้แปลว่า “ยืนยันว่าข้อความที่พูดมานั้นถูกต้อง” ถ้าในลักษณะของคำถามก็คือ “ท่านสามารถยืนยันไหมว่า ท่านรับข้อความได้ทั้งหมด” ในลักษณะคำตอบก็คือ “ข้าพเจ้ายืนยันว่าข้าพเจ้ารับข้อความได้ทั้งหมด” นี่ก็อีกตัวอย่างหนึ่งที่เอาคำเดียวมาใช้แต่ความหมายไม่ตรงกัน
รวบรวมโดย ท่าน H S 1 H B ขอบคุณครับ
เป็นบทความที่ดี เลยก็อปปี้มาฝาก เห็นบางท่านยังใช้ผิดๆ