HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND
17 พฤศจิกายน 2024, 17:52:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: สนใจ ลงโฆษณา ติดแบนเนอร์ Banner ปักหมุด ขอเช่าพื้นที่บอร์ดเพื่อโฆษณา textlink ฯลฯ ค้นหาเจอบน Google คลิ้กเลยครับ
Google
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สถานีวิทยุชุมชนของคุณถูกต้องแล้วหรือยัง ถ้ายังรีบไปดำเนินการได้แล้วครับ  (อ่าน 1154 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สายฟ้า 11
member.
Hero Member
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4603

"เป็นเลิศ เป็นธรรม ร่วมนำสังคม"


« เมื่อ: 26 เมษายน 2011, 16:51:06 »


มาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสำหรับชุมชน
ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ (กสช.) มีหน้าที่พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการวิทยุโทรทัศน์ และการกำหนดมาตรฐานและลักษณะพึงประสงค์ทางเทคนิคของอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการแต่งตั้ง กสช. เพื่อทำหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ ทำให้ไม่สามารถ พิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่ ออกใบอนุญาตประกอบกิจการ หรืออนุญาตให้ประกอบกิจการเพิ่มเติมไม่ได้ ตามบทบัญญัติมาตรา 80 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าว เพื่อบรรเทาปัญหาการตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงสำหรับชุมชนเป็นการชั่วคราว คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมวันที่ 16 สิงหาคม 2548 กำหนดกรอบกติกาทางเทคนิคและหลักเกณฑ์การตั้งสถานีวิทยุชุมชน โดยกำหนดกำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ ความสูงเสาอากาศไม่เกิน 30 เมตรจากระดับพื้นดิน และรัศมีการออกอากาศไม่เกิน 15 กิโลเมตร แม้ว่ายังไม่มีการอนุญาตจัดตั้งสถานีวิทยุชุมถูกต้องตามกฎหมายอย่างเป็นทางการ แต่ปัจจุบันมีการส่งวิทยุกระจายเสียงของสถานีวิทยุชุมชน ทั้งในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และในเขตภูมิภาค ทั่วประเทศ ประมาณ 3,000-4,000 สถานี ทำให้เกิดการแพร่กระจายคลื่นแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อข่ายการสื่อสารอื่น โดยเฉพาะข่ายสื่อสารทางการบินที่ใช้สำหรับการควบคุมการจราจรทางอากาศ ซึ่งมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินโดยตรง ดังนั้นคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำมาตรฐานเทคนิคสำหรับเครื่องวิทยุคมนาคม เพื่อรับผิดชอบการศึกษามาตรฐานสากล และยกร่างมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครื่องส่งวิทยุคมนาคมที่เหมาะสม ของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสำหรับชุมชนย่านความถี่วิทยุ 87.5 MHz ถึง 108 MHz เพื่อป้องกันและลดการรบกวนที่เกิดขึ้นกับข่ายสื่อสารในกิจการวิทยุคมนาคมอื่น โดยเฉพาะกิจการทางการบิน (aeronautical) ในย่านความถี่วิทยุใกล้เคียง 108-137 MHz
คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครื่องวิทยุคมนาคม ได้ดำเนินการศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้ว และได้ทำ รายงานผลการศึกษาการจัดทำมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสำหรับชุมชน ย่านความถี่วิทยุ 87.5 MHz ถึง 108 MHz (พฤศจิกายน 2550) และ มาตรฐานและลักษณะพึงประสงค์ทางด้านเทคนิค เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสำหรับชุมชน ย่านความถี่วิทยุ 87.5 MHz ถึง 108.0 MHz เพื่อให้ กทช. นำเสนอ กกช. (อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุแห่งชาติ) หนังสือของ กกช. ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2550 ในการศึกษาครั้งนี้นำกรอบและเกณฑ์การตั้งสถานีวิทยุชุมชนที่กำหนดกำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ ความสูงเสาอากาศไม่เกิน 30 เมตร และรัศมีการออกอากาศไม่เกิน 15 กิโลเมตรตามที่กำหนดโดยมติคณะรัฐมนตรีเป็นเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติในการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงสำหรับชุมชน มีหลักในการพิจารณา คือ
• การกำหนดพื้นที่การให้บริการ เพื่อไม่ให้มีการรบกวนกัน
• จะต้องมีการกำกับการใช้ความถี่วิทยุให้สอดคล้องกับแผนการใช้ความถี่วิทยุ
จะเห็นได้ว่าการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนจะต้องพิจารณาเงื่อนไขทางเทคนิคคือการรบกวนเป็นหลักสำคัญ และการกำหนดแผนจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุชุมชน จะต้องออกแบบไม่ให้มีการรบกวนกัน จึงจะขอสรุปข้อกำหนดการรบกวนของสถานีวิทยุตามที่มีการศึกษาจากเอกสารดังกล่าว คือ
1. การแบ่งช่องความถี่สัญญาณวิทยุระบบ FM เพื่อใช้ในการพิจารณาจัดตั้งวิทยุชุมชน ความถี่ 87.5-108 MHz แบ่งแต่ละช่อง 250 kHz แบ่งได้ 81 ช่องความถี่ คือ
2. ข้อกำหนดเครื่องส่ง (rated carrier power) กำลังส่งที่ออกอากาศที่สายอากาศ จะต้องมีค่าไม่เกิน 30 วัตต์ (ไม่ได้กำหนดว่าสายอากาศเป็นชนิดใด มีกำลังขยายหรือไม่)
3. ลักษณะการรบกวน เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่มีลักษณะทางเทคนิคที่ไม่เหมาะสม จะก่อให้เกิดการรบกวนต่อการใช้ความถี่วิทยุในข่ายสื่อสารอื่น เรียกว่าการแพร่แปลกปลอม (conducted spurious emissions) คือ เครื่องส่งวิทยุสร้างความถี่ที่เกินกว่าที่กำหนดให้ออกอากาศมาด้วย มี 2 ลักษณะ คือ
• การแพร่ฮาร์มอนิก (harmonic emission) เป็นการสร้างความถี่ที่มีค่าเป็นทวีคูณของความถี่ที่กำหนด คือความถี่ที่สูง 2 เท่า 3 เท่า 4 เท่า 5 เท่า ของความที่ที่กำหนดในการออกอากาศ ซึ่งเครื่องส่งวิทยุที่ไม่ได้มาตรฐานจะไปรบกวนความถี่ข่ายสื่อสารอื่น ๆ หรือย่านความถี่ในการส่งวิทยุโทรทัศน์ ย่านความถี่ที่ออกอากาศ 87.75-107.75 MHz Harmonic ที่ 2 ความถี่ 175.5-215.5 MHz รบกวนการส่งโทรทัศน์ช่อง 5-10 Harmonic ที่ 3 ความถี่ 263.25-323.25 MHz รบกวนการส่งเคเบิ้ลทีวีช่อง S11-S22 Harmonic ที่ 4 ความถี่ 351-431 MHz รบกวนการส่งเคเบิ้ลทีวีช่อง S27-S37 Harmonic ที่ 5 ความถี่ 438.75-538.75 MHz รบกวนการส่งเคเบิ้ลทีวีช่อง S38-S41 การส่งโทรทัศน์ช่อง 29 (โทรทัศน์สาธารณะ Thai PBS) Harmonic ที่ 6 ความถี่ 526.5-646.5 MHz รบกวนการส่งโทรทัศน์ช่อง 28-43 Harmonic ที่ 7 ความถี่ 614.25-754.25 MHz รบกวนการส่งโทรทัศน์ช่อง 39-56ลักษณะการรบกวน จะมีผลต่อการรับชมโทรทัศน์ คือ ภาพล้ม หรือมีลายรบกวนภาพ หรือกวนด้านเสียง มีเสียงวิทยุออกมารบกวน การรบกวนนี้มีมีผลในบริเวณใกล้สถานีเครื่องส่งวิทยุที่ส่งคลื่นไม่เหมาะสมออกมา (Harmonic Emission) ส่วนผู้ที่รับชมโทรทัศน์ที่อยู่ห่างไกลจากสถานีวิทยุจะไม่มีผลต่อการรบกวนการรับชมโทรทัศน์
• การแพร่พาราซิติก (parasitic emission) เป็นความถี่แปลกปลอมที่แพร่ออกมาจากเครื่องส่งวิทยุในย่านความถี่วิทยุ 87.5-108 MHz ซึ่งเกิดจากชุดขยายสัญญาณวิทยุของเครื่องส่งวิทยุทำงานไม่ถูกต้อง สังเกตได้จากเครื่องรับวิทยุจะรับสัญญาณที่ส่งออกอากาศได้หลายช่องความถี่พร้อมกัน
ช่องความถี่ของเครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้งานในประเทศไทย PAL B/G
ช่องความถี่ของเครื่องรับโทรทัศน์ช่องเคเบิ้ลที่ใช้งานในประเทศไทย PAL B/G
ระเบียบคณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ว่าด้วยการกำหนดลักษณะพึงประสงค์ทางเทคนิคสำหรับสถานีวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2520 ซึ่งกำหนด การควบคุมความแรงของคลื่นความถี่แปลกปบอม (Spurious Emissions) เครื่องส่งวิทยุจะต้องมีวงจรลดทอนกำลังของคลื่นฮาร์โมนิกที่สองและวิธีการจำกัดกำลังของคลื่นความถี่แปลกปลอมอื่น ๆ ไม่ไหม้มีค่าเกินจากที่กำหนด คือจะต้องมีความแรงของคลื่นความถี่แปลกปลอมส่วนที่แรงที่สุด วัดที่จุดต่อเข้าสายส่งของระบบสายอากาศ ต่ำกว่าความแรงของคลื่นความถี่มูล (Fundamental Frequency) ซึ่งวัดได้ที่จุดเดียวกันไม่น้อยกว่า 60 dB และค่าความแรงดังกล่าวจะต้องมีค่าไม่เกิน 1 มิลิวัตต์
สำหรับข้อกำหนดของการส่งวิทยุชุมชน คือ คลื่นความถี่แปลกปลอมต่ำกว่าความแรงของคลื่นความถี่มูล (Fundamental Frequency) ซึ่งวัดได้ที่จุดเดียวกันไม่น้อยกว่า 45 dB ตามรูป(กำลังส่ง 30 วัตต์)
4. การแพร่นอกแถบ (out-of-band emission) เป็นข้อกำหนดเพื่อไม่ให้ส่งวิทยุเกินที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันการรบกวนช่องความถี่ข้างเคียง หมายถึงการแพร่ที่ขั้วต่อสายอากาศที่ความถี่ใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือแถบความถี่ที่จำเป็น (necessary bandwidth) ในขณะที่มีการมอดูเลตความถี่เสียงตามที่กำหนด โดยไม่รวมถึงความถี่แปลกปลอม (spurious emissions)
ขีดจำกัด การแพร่นอกแถบต้องอยู่ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ในรูป

จากข้อกำหนดจะเห็นได้ว่าคลื่นความถี่ที่ใช้งานจะอยู่ในช่วง = ฑ 100 kHz
สำหรับคลื่นความถี่หลัก กำหนดความกว้างที่จำเป็นต้องใช้ (Necessary Bandwidth) เครื่องส่งวิทยุจะต้องมีความกว้างของแถบคลื่นที่จำเป็นต้องใช้ไม่เกิน 200 kHz (หรือ ฑ 100 kHz)
5. ค่าผิดพลาดทางความถี่ (frequency error) หมายถึงค่าแตกต่างระหว่างความถี่คลื่นพาห์ในขณะที่ไม่มีการมอดูเลตกับความถี่ที่ระบุ (nominal frequency) ของภาคเครื่องส่ง
ขีดจำกัด ค่าผิดพลาดทางความถี่จะต้องไม่เกิน ฑ 2 kHz ของคลื่นความถี่คลื่นพาห์ในขณะที่ไม่มีการมอดูเลต (สำหรับคลื่นความถี่หลัก การควบคุมความถี่ของเครื่องส่งวิทยุ “ความถี่ที่ส่งออกอากาศ ในย่าน 87-108 MHz จะคลาดเคลื่อนจากค่าความถี่จัดสรรได้ไม่เกิน 20 ส่วนในล้านส่วนของค่าความถี่จัดสรร สมมุติว่า ความถี่จัดสรร 100 MHz ดังนั้นความคลาดเคลื่อนของความถี่เครื่องส่งวิทยุ = 20 ๗ 1,000,000 ื 100 ื 1,000,000 = 20,000 Hz = 20 kHz)
6. ค่าเบี่ยงเบนทางความถี่ (frequency deviation) หมายถึงค่าแตกต่างที่มากที่สุดระหว่างความถี่ขณะใดขณะหนึ่ง (instantaneous frequency) เมื่อไม่มีการมอดูเลต กับความถี่คลื่นพาห์ขณะที่ไม่มีการมอดูเลต
ขีดจำกัด ค่าเบี่ยงเบนทางความถี่จะต้องไม่เกิน ฑ 75 kHz ซึ่งการผสมสัญญาณวิทยุในระบบ FM เรียกว่าการผสมสัญญาณ 100% (Mod 100%) และอยู่ใน Necessary Bandwidth ที่กำหนด ฑ 100 KHz
7. ซิงโครนัสแอมพลิจูดมอดูเลต (Synchronous AM : AM due to FM) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงแรงดันสูงสุด (peak voltage) ของส่วนประกอบกระแสสลับ (a.c. component) ที่ปรากฏทางด้านออกของเครื่องส่ง เมื่อมีการมอดูเลตที่ส่งให้เกิดการกระเพื่อมของคลื่นพาห์ คล้ายกับการมอดูเลตแอมพลิจูด
ข้อจำกัด ซิงโครนัสแอมพลิจูดมอดูเลต จะน้อยกว่าร้อยละ 2 ที่ค่าเบี่ยงเบนความถี่เท่ากับ ฑ 40 kHz และความถี่เท่ากับ 500 Hz (สาเหตุสำคัญที่เกิดซิงโครนัสแอมพลิจูดมอดูเลต มาจากอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าไม่เรียบ ซึ่งมาตรฐานจะต้องมีการกระเพื่อมไม่เกิน 2% )
8. ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย
• ความปลอดภัยทางไฟฟ้า (Electrical Safety Requirements)
• ความปลอดภัยเกี่ยวกับการการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมต่อสุภาพมนุษย์ (Radiation Exposure Requirements)
9. วิธีการทดสอบ เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และวิธีการทดสอบ ดูรายละเอียดจาก มาตรฐานและลักษณะพึงประสงค์ทางด้านเทคนิค เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสำหรับชุมชน ย่านความถี่วิทยุ 87.5 MHz ถึง 108.0 MHz จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์เครื่องส่งวิทยุชุมชนจะต้องมีการรับรองมาตรฐาน เพื่อป้องกันการรบกวน และความปลอดภัย ดังนั้น อุปกรณ์เครื่องส่งวิทยุชุมชนจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตจากต่างประเทศที่มีมาตรฐานรับรอง หรือผลิตภายในประเทศ แต่จะต้องมีหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพรับรองคุณภาพ จึงจะนำมาใช้งานได้ ซึ่งปัจจุบันไม่การควบคุมมาตรฐานทางเทคนิค ทำให้การส่งวิทยุชุมชนมีการรบกวนสูง
การรบกวนที่เกิดจากการผสมคลื่นความถี่ของเครื่องส่งวิทยุที่ออกอากาศมากกว่า 2 ความถี่ขึ้นไป (Intermodulation Product)
การมอดูเลตระหว่างระหว่างกันเกิดขึ้นจากการที่เครื่องส่งจำนวนสองเครื่อง (หรือมากกว่า) ส่งสัญญาณที่ความถี่ที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะพิเศษ แล้วทำให้เกิดความถี่อื่นขึ้นมา ที่ตรงกับความถี่ที่อยู่ในพิสัยของเครื่องรับที่จะรับสัญญาณนั้นได้ (ดังแสดงในรูปและตาราง รูปที่ 1-2 ในกรณีของเครื่องส่ง A และเครื่องส่ง ซึ่งบางครั้งอาจมีระดับความแรงของสัญญาณมากกว่าระดับสัญญาณที่ต้องการเสียด้วยซ้ำ มักจะเกิดจาการที่เครื่องส่งมีการแยกสัญญาณ (isolation) ที่ไม่เพียงพอ
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ก็จะสมมุติให้เครื่องส่งวิทยุ A ความถี่ 100 MHz เครื่องส่งวิทยุ B ความถี่ 90 MHz
คลื่นความถี่ที่เกิดจาก 2 nd order A + B = 100 + 90 = 190 MHz รบกวนช่องโทรทัศน์
A – B = 100 – 90 = 10 MHz
คลื่นความถี่ที่เกิดจาก 3 rd order 2A+B = 2 ื 100 + 90 = 290 MHz รบกวนเคเบิ้ลทีวี
2A-B = 2 ื 100 -90 = 110 MHz
2B+A = 2 ื 90 + 100 = 280 MHz รบกวนเคเบิ้ลทีวี
2B-A = 2 ื 90 – 100 = 80 MHz
คลื่นความถี่ที่เกิดจาก 4 th order 2A+2B = 2 ื 100 + 2 ื 90 = 380 MHz รบกวนเคเบิ้ลทีวี
2A-2B = 2 ื 100 – 2 ื 90 = 20 MHz
3A+B = 3 ื 100 + 90 = 390 MHz รบกวนเคเบิ้ลที่วี
3A-B = 3 ื 100 - 90 = 210 MHz รบกวนช่องโทรทัศน์
3B+A = 3 ื 90 + 100 = 370 MHz รบกวนเคเบิ้ลทีวี
3B-A = 3 ื 90 – 100 = 270 MHz รบกวนเคเบิ้ลทีวี
คลื่นความถี่ที่เกิดจาก 5 th order 3A+2B = 3 ื 100 + 2 ื90 = 480 MHz รบกวนทีวี UHF
3B+2A = 3 ื 90 + 2 ื 100 = 470 MHz รบกวนทีวี UHF
3A-2B = 3 ื 100 – 2 ื 90 = 120 MHz
3B-2A = 3 ื 90 – 2 ื 100 = 70 MHz
4B+A = 4 ื 90 + 100 = 460 MHz รบกวนเคเบิ้ลทีวี
4A+B = 4 ื 100 + 90 = 490 MHz รบกวนทีวี UHF
4A-B = 4 ื 100 – 90 = 320 MHz รบกวนเคเบิ้ลทีวี
4B-A = 4 ื 90 – 100 = 260 MHz รบกวนเคเบิ้ลทีวี
จะเห็นได้ว่าผลจากการมอดูเลตระหว่างกัน (intermodulation product) ของเครื่องส่งสองเครื่อง ซึ่งอยู่ในมาตรฐานควบคุมตามข้อกำหนดเทคนิคในการแพร่แปลกปลอม (spurious emission) แล้ว แต่ก็มีการรบกวนเกิดขึ้นได้อีกจากการผสมคลื่นในอากาศ และหากมีการส่งคลื่นวิทยุชุมชนอย่างมากมายเหมือนในปัจจุบัน ก็จะเกิดการรบกวนตลอดทุกย่านความถี่ ซึ่งความรุ่นจะมีมากน้อยก็แล้วแต่พื้นที่การรับคลื่นวิทยุว่าอยู่ใกล้สถานีวิทยุใดบ้าง ดังนั้นการวางแผนความถี่ในการจัดสรรสถานีวิทยุชุมชน จะต้องมีการวางแผนเพื่อให้มีการรบกวนคลื่นวิทยุน้อยที่สุด ดังนั้นโอกาสที่จะจัดสรรคลื่นความถี่ให้ในย่านความถี่ 87.75-107.75 MHz จำนวน 81 ความถี่ ในพื้นที่บริการเดียวกันจึงเป็นไปไม่ได้
จากการศึกษาเปรียบเทียบวิทยุชุมชนของประเทศญี่ปุ่น กำลังส่งออกอากาศของเครื่องส่ง FM วิทยุชุมชน กำลังส่งไม่เกิน 20 วัตต์ การวางแผนจัดสรรความถี่ก็มีลักษณะเหมือนกัน และมีข้อกำหนดอีกอย่าง คือ ต้องหลีกเลี่ยงความถี่วิทยุใกล้เคียงในพื้นที่บริการเดียวกันที่มีความแตกต่างความถี่ 10.7 ฑ 0.1 MHz เพราะจะเกิดการรบกวนกันในการรับสัญญาณวิทยุตลอดย่านความถี่ที่ใช้งาน เนื่องจากความที่ดังกล่าวรบกวนความถี่ IF (Intermidiate Frequency : 10.7 MHz) ของเครื่องรับวิทยุ ทำให้เครื่องรับวิทยุที่อยู่ระหว่างสถานีวิทยุที่ส่งความถี่ที่มีผลต่างเท่ากับความถี่ IF (10.7 MHz หรือใกล้เคียง 10.7 ฑ 0.1 MHz) รับสัญญาณวิทยุสถานีอื่น ๆ ไม่ได้ รับได้เฉพาะความถี่ของสถานีวิทยุทั้งสองสถานี การรบกวนลักษณะนี้มีผลการรบกวนรุ่นแรงในย่านความถี่การส่งวิทยุกระจายเสียงระบบ FM จะต้องหลีกเลี่ยง ซึ่งในทางปฏิบัติหากจัดสรรคลื่นความถี่ให้มีช่องสัญญาณห่างกัน 0.50 MHz (ช่องละ 500 kHz) ก็ไม่เกิดการรบกวนกัน หรือพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สถานีที่มีผลต่างของความถี่ 10.7 ฑ 0.1 MHz อยู่ใกล้กัน หรืออยู่ในบริเวณเดียวกัน นอกจากนั้นให้หลีกเลี่ยงความถี่ของสถานีวิทยุที่อยู่ใกล้กันหรืออยู่มรบริเวณเดียวกันที่ใช้ความถี่มีผลการรวมสัญญาณคลื่นความถี่ในช่องสัญญาณโทรทัศน์ในเขตบริการเดียวกัน หรือมีความสัมพันธ์ระหว่างความถี่วิทยุ FM กับสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ นอกจากนั้นจะต้องหลีกเลี่ยงความถี่ที่เกิดจากการ Intermodulation ที่มีผลการรบกวนกับข่ายวิทยุสื่อสารในเขตบริการเดียวกัน รายละเอียดเกี่ยวกับวิทยุชุมชนระบบ FM ในประเทศญี่ปุ่น จากเอกสาร
• Community FM Radio in Japan
• วิทยุชุมชนระบบ FM ในประเทศญี่ปุ่น แปลโดย นายภูษิต มุ่งมานะกิจ
• บทความวารสารกรมประชาสัมพันธ์
วิทยุชุมชนระบบ FM ในประเทศญี่ปุ่น (Community FM Radio in Japan)
ความถี่ของสถานีวิทยุที่รบกวนกับความถี่ IF
(Intermediate Frequency : 10.7 ฑ 0.1MHz)

สถานีวิทยุ A ความถี่(MHz) สถานีวิทยุ B ความถี่(MHz) Intermodulation
B-A = 10.7 ฑ 0.1 (MHz) สถานีวิทยุ A ความถี่(MHz) สถานีวิทยุ B ความถี่(MHz) Intermodulation
B-A = 10.7 ฑ 0.1 (MHz)
87.25 98.00 98.00-87.25 =10.75 87.50 98.25 98.25-87.50 = 10.75
87.75 98.50 98.50-87.75 = 10.75 88.00 98.75 98.75-88.00 = 10.75
88.25 99.00 99.00-88.25 = 10.75 88.50 99.25 99.25-88.50 = 10.75
88.75 99.50 99.50-88.75 = 10.75 89.00 99.75 99.75-89.00 = 10.75
89.25 100.00 100.00-89.25 = 10.75 89.50 100.25 100.25-98.50 = 10.75
89.75 100.50 100.50-89.75 = 10.75 90.00 100.75 100.75-90.00 = 10.75
90.25 101.00 101.00-90.25 = 10.75 90.50 101.25 101.25-90.50 = 10.75
90.75 101.50 101.50-90.75 = 10.75 91.00 101.75 101.75-91.00 = 10.75
91.25 102.00 102.00-91.25 = 10.75 91.50 102.25 102.25-91.50 = 10.75
91.75 102.50 102.50-91.75 = 10.75 92.00 102.75 102.75-92.00 = 10.75
92.25 103.00 103.00-92.25 = 100.75 92.50 103.25 103.25-92.50 = 10.75
92.75 103.50 103.50-97.75 = 10.75 93.00 103.75 103.75-93.00 = 10.75
93.25 104.00 104.00-93.25 = 10.75 93.50 104.25 104.25-93.50 = 10.75
93.75 104.50 104.50-93.75 = 10.75 94.00 104.75 104.75-94.00 = 10.75
94.25 105.00 105.00-94.25 = 10.75 94.50 105.25 105.25-94.50 = 10.75
94.75 105.50 105.50-94.75 = 10.75 95.00 105.75 105.75-95.00 = 10.75
95.25 106.00 106.00-95.25 = 10.75 95.50 106.25 106.25-95.50 = 10.75
95.75 106.50 106.50-95.75 = 10.75 96.00 106.75 106.75-96.00 = 10.75
96.25 107.00 107.00-96.25 = 10.75 96.50 107.25 107.25-96.50 = 10.75
96.75 107.50 107.50-96.75 = 10.75 97.00 107.75 107.75-97.00 = 10.75

และจากการศึกษาเปรียบเทียบวิทยุชุมชนของประเทศสหรัฐอเมริกา มีข้อกำหนด คือ
1. กำหนดคลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน 88.7 – 91.7 MHz
2. คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชนจะต้องไม่ทำให้เกิดการรบกวนคลื่นความถี่ของวิทยุการบิน 110 -130 MHz
3. การประกอบการวิทยุชุมชนไม่อนุญาตให้มีการโฆษณา
4. ในพื้นที่เดียวกันให้มีได้ 1 ความถี่ และกำหนดระยะทางส่งไม่เกิน 6 กิโลเมตร
จากข้อกำหนดของ ITU มาตรฐานความเข้มของสัญญาณวิทยุระบบ FM (Minimum usable field strength) ขึ้นอยู่กับพื้นที่เขตบริการ คือ
สัญญาณที่วัดเป็นมาตรฐาน ใช้เสาอากาศในการรับสัญญาณ ความสูง 10 เมตร
จะเห็นได้ว่าเขตบริการพื้นที่ในเขตชนบท (Rural Area) การส่งวิทยุกระจายเสียงระบบ FM ความเข้มของสัญญาณวิทยุ FM Stereo อย่างน้อย เ ท่ากับ 54 dB หรือ 500 ตV เขตบริการตัวเมืองความเข้มของสัญญาณวิทยุ FM Stereo อย่างน้อย เ ท่ากับ 66 dB หรือ 2 mV เขตบริการตัวเมืองขนาดใหญ่ สัญญาณวิทยุ FM Stereo อย่างน้อย เ ท่ากับ 74 dB หรือ 5 mV
ดังนั้นจากเหตุผลทางด้านเทคนิค วิทยุชุมชน จึงไม่มีความเหมาะสมที่จัดตั้งในตัวเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร หรือตัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด เพราะ กำลังส่ง 30 วัตต์ เสาอากาศ 30 เมตร และ เขตบริการ 15 กิโลเมตร ที่กำหนด ไม่สามารถใช้ได้ในเขต ตัวเมืองขนาดใหญ่ และที่สำคัญในตัวเมืองใหญ่ ๆ จะมีการใช้คลื่นความถี่วิทยุเป็นจำนวนมาก มีการรบกวนจากการใช้อุปกรณ์ในภาคอุตสาหกรรม โรงงานต่าง ๆ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของสังคมเมืองใหญ่ ซึ่งสร้างคลื่นวิทยุออกมา โอกาสที่จะเกิดการรบกวนสูงมาก เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงในตัวเมืองใหญ่จำเป็นต้องส่งกระจายเสียงด้วยกำลังส่งสูง เพื่อให้ให้คลื่นที่รบกวนสามารถรบกวนได้น้อยลง ปัจจุบันในกรุงเทพมหานครเครื่องส่ง FM ที่กำลังส่งสูงสุด คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 95.50 MHz กำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ (40 KW. ERP) สถานีวิทยุกระจายเสียงระบบ FM ของหน่วยงานอื่นอนุญาตให้กำลังส่งสูงสุด 5 กิโลวัตต์ (20 KW. EPP) แต่ในทางความเป็นจริงแล้วกำลังส่งออกอากาศดังกล่าวในขณะนี้ ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมเขตบริการวิทยุกระจายเสียง กรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑล วิทยุชุมชนในกรุงเทพมหานครที่ส่งกระจายเสียงด้วยกำลังส่งเพียง 30 วัตต์ (ERP) จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้บริการพื้นที่รัศมี 15 กิโลเมตร ทำให้มีการส่งกระจายเสียงวิทยุชุมชนที่มีกำลังส่งสูงเกิน 30 วัตต์ มากมายในขณะนี้
วิทยุชุมชนจึงเหมาะสมกับพื้นที่เขตบริการชนบทมากกว่า เพราะพื้นที่ดังกล่าวประชาชนยังไม่มีสื่อวิทยุให้บริการข้อมูลข่าวสาร และความรู้ และพยายามหลีกเลี่ยงการใช้คลื่นความถี่ในพื้นที่หลาย ๆ ความถี่ เพื่อป้องกันการรบกวน ซึ่งตามหลักการแล้ววิทยุชุมชนในแต่ละพื้นที่ ควรจะมีเพียงสถานีเดียว แบ่งช่วงเวลาให้กลุ่มชุมชนใช้เวลา หากจะแบ่งการจัดสรรคลื่นความถี่ชุมชนออกเป็นตามความต้องการของชุมแต่ละด้านทุกด้าน เช่น ด้านศาสนา ก็ต้องแบ่งเป็น ศาสนาพุทธ สาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ และละแต่ศาสนาก็มีหลายนิกายไม่เหมือนกัน ก็ต้องจัดสรรให้เพิ่มอีก นอกจากนั้น ยังมีชุมชนที่ต้องการประชาสัมพันธ์ ด้านข่าวสาร ความรู้ และบันเทิง ซึ่งมีการแบ่งกลุ่มผู้ฟังออกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยกลางคน และกลุ่มสูงอายุ และอีกหลาย ๆ อย่าง เมื่อมีการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุชุมชนในแต่ละพื้นที่เป็นจำนวนมากแล้วการรบกวนกันก็หนีไม่พ้น นอกจะไม่เกิดความสมานฉันท์ ก็อาจจะเกิดการแตกแยกความสามัคคีกันในที่สุด การที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสิทธิเสรีภาพ ในการจัดสรรคลื่นความถี่ในภาคประชาชน ซึ่งเป็นการดีแก่สังคม แต่สังคมจะต้องมีกฎเกณฑ์ที่จะต้องให้ทุกคนเคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วย
............................................
ข้อมูลจาก
• รายงานผลการศึกษาการจัดทำมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสำหรับชุมชน ย่านความถี่วิทยุ 87.5 MHz ถึง 108 MHz (พฤศจิกายน 2550)
• มาตรฐานและลักษณะพึงประสงค์ทางด้านเทคนิค เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสำหรับชุมชน ย่านความถี่วิทยุ 87.5 MHz ถึง 108.0 MHz
• ระเบียบคณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ว่าด้วยการกำหนดลักษณะพึงประสงค์ทางเทคนิคสำหรับสถานีวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2520
• Community FM Radio in Japan
• วิทยุชุมชนระบบ FM ในประเทศญี่ปุ่น แปลโดย นายภูษิต มุ่งมานะกิจ
• บทความวารสารกรมประชาสัมพันธ์
วิทยุชุมชนระบบ FM ในประเทศญี่ปุ่น (Community FM Radio in Japan)
• เอกสาร ITU “ Rec. ITU-R BS.412-9” RECOMMENDATION ITU-R BS.412-9* Planning Standards for terrestrial FM Sound Broadcasting at VHF


บันทึกการเข้า

ค่าย AIS  087-293-7373 
ค่าย D  081-408-7373
คุณปรีชา วัชระนัย  e21nxs  นิคเนม เอ แคมรี่
ธนาคารกสิกรไทย สุขสวัสดิ์ ออมทรัพย์ 043-2-52076-7
บ.อมรสื่อสาร จำกัด ตำแหน่ง Assistant Project Manager
(ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายโครงการ)
โทร. 02-432-6789 FAX. 02-432-6784
HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND
« เมื่อ: 26 เมษายน 2011, 16:51:06 »

พื้นที่โฆษณา ขาย เครื่องชาร์จแบตเตอรี่อัตโนมัติ CTEK จาก สวีเดน ดีที่สุด/ถูกที่สุด+ประกัน5ปี
คลิ้กไปดูที่ลิ้งค์ข้างล่างเลยครับ
http://www.spy-thai.com/


GPS ติดตามรถหาย ดักฟังเสียงสนทนาในรถ หรือระบุตำแหน่งรถ สั่งดับเครื่อง
ติดตามรถได้ทั่วไทยโดยไม่มีค่าบริการรายเดือน / Tel. 086-9455977
 บันทึกการเข้า
สายฟ้า 11
member.
Hero Member
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4603

"เป็นเลิศ เป็นธรรม ร่วมนำสังคม"


« ตอบ #1 เมื่อ: 26 เมษายน 2011, 16:55:25 »

 ยิงฟันยิ้ม 2. ข้อกำหนดเครื่องส่ง (rated carrier power) กำลังส่งที่ออกอากาศที่สายอากาศ จะต้องมีค่าไม่เกิน 30 วัตต์ (ไม่ได้กำหนดว่าสายอากาศเป็นชนิดใด มีกำลังขยายหรือไม่)

ข้อนี้แหละที่เป็นจุดตายของสถานีวิทยุชุมชุม ส่วนมากจะออกกำลังส่งสูงๆๆ บางครั้งยังมากกวนความถี่วิทยุสมัครเล่นอีก กสทช ดำเนินการไปเลยครับ
บันทึกการเข้า
HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 เมษายน 2011, 16:55:25 »

 บันทึกการเข้า
HS3JBX
ผู้ช่วยผู้ดูแลบอร์ด
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 14261


ชีวิตผมไม่เห็นเหงื่อไม่ได้ตังค์


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 เมษายน 2011, 16:55:50 »

   เอาแค่ กำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ ความสูงเสาอากาศไม่เกิน 30 เมตรจากระดับพื้นดิน และรัศมีการออกอากาศ
ไม่เกิน 15 กิโลเมตร แค่นี้ สถานีวิทยุชุมชนในประเทศไทยมากกว่า 90% ผิดกฏหมายทั้งนั้น
   ทุกวันนี้ 45 เมตรถือว่าเด็กๆ กำลังส่ง ว่ากันที่ 300 วัตต์ขึ้นไปจนถึง 500 หรือระดับเป็นกิโลวัตต์ก็มีนะครับ
ว่าแต่...เอ๊ะ...นี่ผมพูดอะไรออกไปเนี่ย?...ผมไม่รู้ ผมเมา ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า


คลิกPMที่นี่เลยครับหากต้องการติดต่อผู้ดูแล
ทองพูน นุโยนรัมย์ 0614540972-ais
กสิกรไทย 2432123825 กรุงไทย 1010531972
Tommy_1KD
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2560


กองร้อยอาสารักษาดินแดนเมืองสงขลาที่ ๒


« ตอบ #3 เมื่อ: 26 เมษายน 2011, 16:57:04 »

  เอาแค่ กำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ ความสูงเสาอากาศไม่เกิน 30 เมตรจากระดับพื้นดิน และรัศมีการออกอากาศ
ไม่เกิน 15 กิโลเมตร แค่นี้ สถานีวิทยุชุมชนในประเทศไทยมากกว่า 90% ผิดกฏหมายทั้งนั้น
   ทุกวันนี้ 45 เมตรถือว่าเด็กๆ กำลังส่ง ว่ากันที่ 300 วัตต์ขึ้นไปจนถึง 500 หรือระดับเป็นกิโลวัตต์ก็มีนะครับ
ว่าแต่...เอ๊ะ...นี่ผมพูดอะไรออกไปเนี่ย?...ผมไม่รู้ ผมเมา ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
อ่ะแฮ่ม........ ขยิบตา ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND
   

พื้นที่โฆษณา ไฟฉายแรงๆ /วิทยุสื่อสาร /กล้องแอบถ่าย /เครื่องดักฟัง /GPS ติดตามรถหาย ระบุตำแหน่ง ผ่านดาวเทียม
คลิ้กไปดูที่ลิ้งค์ข้างล่างเลยครับ
http://www.spy-thai.com/


GPS ติดตามรถหาย ดักฟังเสียงสนทนาในรถ หรือระบุตำแหน่งรถ สั่งดับเครื่อง
ติดตามรถได้ทั่วไทยโดยไม่มีค่าบริการรายเดือน / Tel. 086-9455977
 บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  


 
กระโดดไป:  

ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�
ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�


Webmaster Earn Money! By Affiliate Program 100% Pay
www.samuismile.com

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF | SMF © 2006-2009, Simple Machines
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!