จะบอกว่าบุญเกิดจากความตั้งใจทำดี
ก็นับว่าคุณตาได้บุญไปส่วนหนึ่งแล้วครับ
แต่ถามว่าเหมาะสมหรือไม่
ผมว่าไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่
โดยเฉพาะภาพพระสะพายทุเรียน
มันพิลึกพิลั่นมาก
แถมยังมีโอกาสที่หนามทุเรียนจะตำท่านด้วย
สำหรับตัวผลไม้ที่ทีโอกาสจะเจริญเติบโตต่อได้
เช่นผลไม้ที่มีเมล็ด พระท่านเรียกพีชคาม
หากรับประทานแล้วทำให้พืชนั้นเจริญเติบโตไม่ได้
เช่นขบกัดโดนเม็ด พระท่าปรับอาบัติทุกคำกลืน
คนโบราณเวลาถวายผลไม้
จึงต้องคว้านเม็ดทำให้เหลือแต่เนื้อ
เพื่อให้เป็นกัปปิยะภัตตาหาร
หลีกเลี่ยงไม่ให้ท่านต้องอาบัติ
แม้จะเป็นอาบัติระดับเบาก็ตามครับ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 282
อธิบายการทำกัปปิยะและวัตถุที่ใช้ทำกัปปิยะ
ก็การกระทำกัปปิยะในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยกระแสแห่งสูตร
นี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตเพื่อบริโภคผลไม้ ด้วยสมณกัปปะ (สมณโวหาร)
๕ คือ ผลที่จี้ด้วยไฟ ที่แทงด้วยมีด ที่จิกด้วยเล็บ ผลที่ไม่มีเมล็ด ที่ปล้อน
เม็ดออกแล้ว เป็นที่คำรบ ๕.๑
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิปริจิตํ มีอรรถว่า ฉาบ คือ
ลวก เผา จี้แล้วด้วยไฟ.
บทว่า สตฺถกปริจิตํ มีอรรถว่า จด คือ ฝาน ตัด หรือแทง
แล้วด้วยมีดเล็ก ๆ. ในข้อว่า จิกด้วยเล็บ ก็นัยนั้นนั่นแล. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
และผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว เป็นกัปปิยะด้วยตัวมันเองแท้.
ภิกษุเมื่อจะทำกัปปิยะด้วยไฟ พึงทำกัปปิยะด้วยบรรดาไฟฟืนและไฟ
โคมัยเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้ด้วยแต่งโลหะที่ร้อน. ก็แล
วัตถุนั้นจับไว้ข้างหนึ่ง พึงกล่าวคำว่า กัปปิยัง แล้วทำเถิด.
เมื่อจะทำด้วยมีด. แสดงรอยตัด รอยผ่า ด้วยปลาย หรือด้วยคม
แห่งมีดที่ทำด้วยโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทีสุดแม้แห่งเข็มและมีดตัดเล็บ
เป็นต้น. พึงกล่าวว่า กัปปิยัง แล้วทำเถิด.
เมื่อจะทำกัปปิยะด้วยเล็บ อย่าพึงทำด้วยเล็บเน่า. ก็เล็บของพวก
มนุษย์ สัตว์ ๔ เท้า มีสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง และลิงเป็นต้น และ
แห่งนกทั้งหลาย เป็นของแหลมคม, พึงทำด้วยเล็บเหล่านั้น. กีบแห่งสัตว์
มีม้า กระบือ สุกร เนื้อ และโคเป็นต้น ไม่คม อย่าพึงทำด้วยกีบเหล่านั้น.
แม้ทำแล้วก็ไม่เป็นอันทำ. ส่วนเล็บช้าง ไม่เป็นกีบ. จะทำกัปปิยะด้วยเล็บช้าง
เหล่านั้น ควรอยู่ แต่การทำกัปปิยะด้วยเล็บเหล่าใด สมควร, พึงแสดง
การตัด การจิก ด้วยเล็บเหล่านั้นที่เกิดอยู่ในที่นั้นก็ดี ที่ยกขึ้นถือไว้ก็ดี กล่าวว่า
กัปปิยัง แล้วกระทำเถิด.
บรรดาพืชเป็นต้นเหล่านั้น ถ้าแม้นว่าพืชกองเท่าภูเขาก็ดี ต้นไม้
จำนวนพันที่เขาตัดแล้ว ทำให้เนื่องเป็นอันเดียวกันกองไว้ก็ดี อ้อยมัดใหญ่ที่
เขามัดรวมไว้ก็ดี, เมื่อทำพืชเมล็ดหนึ่ง กิ่งไม้กิ่งหนึ่งหรืออ้อยลำหนึ่งให้เป็น
กัปปิยะแล้ว ย่อมเป็นอันทำให้เป็นกัปปิยะแล้วทั้งหมด. อ้อยลำและไม้ฟืน
เป็นของอันเขามัดรวมกันไว้. อนุปสัมบัน จะแทงไม้ฟืนด้วยตั้งใจว่า เราจัก
กระทำอ้อยให้เป็นกัปปิยะ ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน. แต่ถ้าเป็นของที่เขาผูกมัด
ด้วยเชือกหรือด้วยเถาวัลย์ใด จะแทงเชือกหรือเถาวัลย์นั้น ไม่ควร. ชนทั้งหลาย
บรรจุกระเช้าให้เต็มด้วยลำอ้อยท่อนแล้วนำมา. เมื่อทำอ้อยท่อนลำหนึ่งให้เป็น
กัปปิยะแล้ว อ้อยท่อนทั้งหมด ย่อมเป็นอันทำให้กัปปิยะแล้วเหมือนกัน.
ก็ถ้าว่า พวกทายำนำภัตปนกับพริกสุกเป็นต้นมา เมื่อภิกษุกล่าวว่า
จงกระทำกัปปิยะ ถ้าแม้นว่า อนุปสัมบันแทงที่เมล็ดข้าวสวย ก็สมควร
เหมือนกัน. แม้ในเมล็ดงาและข้าวสารเป็นต้น ก็นัยนั้นนั่นแล. แต่พริกสุก
เป็นต้นนั้น ที่เขาใส่ลงในข้าวต้ม ไม่ตั้งอยู่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน. บรรดา
พริกสุกเป็นต้นนั้น พึงทำกัปปิยะแทงที่ละเมล็ดนั่นเทียว. เยื่อในแห่งผลมะขวิด
เป็นต้น ร่อนเปลือกแล้วคลอนอยู่ (หลุดจากกะลาคลอนอยู่ช้างใน) ภิกษุพึง
ให้ทุบแล้วให้ทำกัปปิยะ. (ถ้า) ยังติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน (กับเปลือก),
จะทำ (กัปปิยะ) แม้ทั้งเปลือก (ทั้งกะลา) ก็สมควร .