หัวข้อ: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: hs2tei ที่ 02 กันยายน 2011, 23:16:06 เล่น APRS มาตั้งนานไม่เคยได้มีโอกาสเจอ TNC-X ของเมืองนอกซักครั้ง
อาทิตย์นี้มีเืพื่อนๆ ใจดี ส่งมาให้ลองประกอบทดสอบทดลอง เลยลองประกอบ TNC-X ที่เพื่อนๆสั่งจากเวปเมืองนอก รวมภาษี ค่าขนส่ง ตกคนละ 2,890 บาท อุปกรณ์ก็เยอะพอสมควร แต่ทำได้ไม่ยากเกินไปนักสำหรับมือใหม่ ว่าแล้วลงมือเลยดีกว่า อุปกรณ์แยกชิ้นมีคู่มือมาให้ (http://upic.me/i/0e/tncx1.jpg) (http://upic.me/show/27770181) (http://upic.me/i/ik/tncx2.jpg) (http://upic.me/show/27770199) เริ่มลงมือใส่อุปกรณ์ตามคู่มือทีละรายการ เริ่มตั้งแต่ R และ C ไล่ไปเรื่อยๆ (http://upic.me/i/3z/tncx3.jpg) (http://upic.me/show/27770207) (http://upic.me/i/2a/tncx4.jpg) (http://upic.me/show/27770212) ใส่อุปกรณ์ที่ case เหล็ก ที่เจาะมาให้เรียบร้อย (http://upic.me/i/24/tncx5.jpg) (http://upic.me/show/27770362) (http://upic.me/i/bb/tncx6.jpg) (http://upic.me/show/27770367) (http://upic.me/i/q7/tncx7.jpg) (http://upic.me/show/27770369) (http://upic.me/i/xk/tncx8.jpg) (http://upic.me/show/27770373) (http://upic.me/i/97/tncx9.jpg) (http://upic.me/show/27770377) (http://upic.me/i/pr/tncx10.jpg) (http://upic.me/show/27770384) (http://upic.me/i/v0/tncx11.jpg) (http://upic.me/show/27770399) จัดเรียงไฟแสดงสถานะและยึดน็อต (http://upic.me/i/ca/tncx12.jpg) (http://upic.me/show/27770405) ใส่ปุ่มยางรองพื้นกันกระแทก (http://upic.me/i/tc/tncx13.jpg) (http://upic.me/show/27770409) เสร็จแล้วเอามาวางคู่กับพี่ๆ น้องๆ EZTNC และ OT2M TNC-X น่าจะเป็นพี่ใหญ่ เพราะตัวโตกว่าเพื่อนๆ (http://upic.me/i/dj/tncx14.jpg) (http://upic.me/show/27770415) จากนั้นทดลองเปิดเป็นไอเกต hs2tei-5 แทน hs2tei-3 ที่ใช้ OT2M (http://upic.me/i/mb/0tei5.jpg) (http://upic.me/show/27771096) จำนวน packet ที่ลงเน็ตทันเพื่อนๆ ตอนนี้หน้าฝนเน็ตค่อนข้างสะดุด ลงไม่ทันเพื่อนๆ เลย เร็วๆกันทั้งนั้น (http://upic.me/i/s1/tei51.jpg) (http://upic.me/show/27771108) สำหรับค่าตัวของ TNC แต่ละตัว ต่างค่ายต่างสำนัก (http://upic.me/i/0y/tncx15.jpg) (http://upic.me/show/27770424) 1. EZTNC ของไทยเรา 1,700 บาท 2. TNC-X ของนอก 2,890 บาท 3. OT2M ของนอก 4,200 บาท ของนอกราคาจะเปลี่ยนแปลงตามค่าเงิน ค่าขนส่ง และภาษี ในการซื้อจำนวนแต่ละครั้งไม่เท่ากัน ส่วน TNC220 ของญี่ปุ่น ต้องรบกวนท่าน e27dru หรือ e22idc มาแสดง เพราะมีเก็บไว้จริงๆ ส่วนผมไม่มีใช้กับเค้าเลย... ;D หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: E27DRU ที่ 02 กันยายน 2011, 23:41:48 มีอีกหรือเปล่าพี่อยากประกอบมั้งจัง
220 กำลังเดินทางครับ :D หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: Length ที่ 02 กันยายน 2011, 23:50:13 กำลังนั่งดูภาพทึ่งของใหม่
สุดท้ายแอบอมยิ้มการ์ดที่ลูกสาวเขียนให้คุณพ่อ ::) หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: hs2tei ที่ 02 กันยายน 2011, 23:51:10 กำลังนั่งดูภาพทึ่งของใหม่ สุดท้ายแอบอมยิ้มการ์ดที่ลูกสาวเขียนให้คุณพ่อ ::) เล่นเกมส์จับผิดภาพบ่อยๆแน่เลย สายตาเก็บทุกรายละเอียด ;D หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: xtomen ที่ 02 กันยายน 2011, 23:56:04 เป็นงานอดิเรก ที่ใช้เงินไม่น้อยเลยนะเนี้ย
ยังไงซะผมก็ขอสนับสนุน EZtnc เหมือนเดิม ให้ฟรียิ่งชอบ ฮ่าฮ่าฮ่า หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: dmesg ที่ 03 กันยายน 2011, 00:18:38 ลองแล้วช่วยเปรียบเทียบให้ฟังหน่อยครับ ทั้งสามตัวเป็นยังไงบ้างอยากรู้ครับ ;D
หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: hs2tei ที่ 03 กันยายน 2011, 01:39:31 ลองแล้วช่วยเปรียบเทียบให้ฟังหน่อยครับ ทั้งสามตัวเป็นยังไงบ้างอยากรู้ครับ ;D *ข้อมูลต่อไปนี้ เป็นความเห็นส่วนตัวของ hs2tei เองครับ ไม่ใช่ความเห็นทางวิชาการอ้างอิงแต่อย่างใด* จุดเด่นของ OT2M - เป็นแทรกเกอร์ได้ เป็นดิจิได้ เป็นไอเกตได้ในตัวเดียวกัน - รับเสียงได้กว้าง ทั้งเบาและดังที่ห่างกันมากๆ - สามารถต่อจอแสดงผลได้ - หรูดี (เพราะมันแพง55+) ;D จุดเด่นของ EZTNC - ราคาถูกสามารถจัดหาไว้ใช้ได้ง่าย - ผู้ผลิตอยู่ในไทยสามารถปรึกษา ปรับปรุงแก้ไขได้ง่าย อะไหล่มีในไทยทั้งหมด - มีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ เพิ่มความสามารถต่างๆ (วัดเสียง,วัดอุณหภูมิ)พัฒนาอยู่ตลอดเวลา - ต่อจอแสดงผลได้ - ไฟแสดงสถานะ รับแพ็คเกต ถอดได้ ส่ง แยกกันชัดเจนสะดวกในการปรับเสียง จุดเด่น TNC2 - รับ packet เสียงได้กว้างทั้งเบาและดัง โดยเฉพาะเสียงเบาถอดได้ดี - ราคามือสองหาซื้อได้ไม่แพงคุ้มค่า (ของใหม่ไม่มีผลิตแล้ว) จุดเด่นของ TNC-X - ฝังลงใน linksys สะดวกในการใช้งาน และเคลื่อนย้าย (ทางแปดริ้วผลิต) tnc-x ผมพึ่งจะมีใช้เลยยังไม่มีข้อมูลมากนักครับ ต้องรบกวนพี่ Linn มาแนะนำครับ ไม่เหมือน ot2m กับ tnc2 และโดยเฉพาะ EZTNC ที่เล่นซนมานาน ส่วน TNC-X เดี๋ยวจะเริ่มซนกับมันบ้างเพื่อศึกษาหาข้อมูล ส่วนเพื่อนๆที่อยากทราบการรับ ลองหาเวลาว่างๆ มาสังเกตพื้นที่นี้แล้วเปรียบเทียบการรับดูได้ครับ ว่าไอเกตของใครรับได้ยังไงกันบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องไม่ลืมว่า การรับดี รับเร็วเกิดจากหลายปัจจัยมาก 1. server ที่ใช้ในการรับ finland จะเร็วกว่าเสมอ 2. ความเร็ว upload ของอินเตอร์เน็ตของแต่ละสถานี ใคร up เร็วก็จะส่งข้อมูลเข้าเร็วกว่าจะเห็นว่ารับได้ก่อน แต่ไม่ได้หมายถึงรับดีกว่าเพื่อน เพียงแต่ลงเน็ตเร็วกว่าเพื่อนมากกว่า 3. สถานะสัญญาณรบกวนของสถานีใกล้ไอเกตในเวลานั้น จากสถานี echolink repeater วิทยุชุมชน มีผลให้เบียด packet เพี้ยนจนถอดไม่ออกได้ (http://upic.me/i/7v/n0tnc.jpg) (http://upic.me/show/27774270) จากประสบการณ์ของผมเอง ความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า TNC แต่ละตัวให้ผลไม่ต่างกันนัก เทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ อาจจะประมาณ 95 97 99 เปอร์เซ็นต์ ไล่ๆ กัน ปัจจัยหลายๆอย่างมากกว่าที่มีผล ใครรับได้มาก อันดับ 1 คือ "ความเร็ว upload ข้อมูล ของอินเตอร์เน็ต" หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: hs2tei ที่ 03 กันยายน 2011, 08:55:18 วันนี้ทดลองเปิดทิ้งไว้ให้ 3 ไอเกต ครับ เผื่อเพื่อนๆ จะลองศึกษาดูความแตกต่าง
hs2tei - icom ic-2000 - APRS4R - TNC2 - ไดโพล 8 st. - สาย haliax 1/2 - ความสูง 27 เมตร offset ทิศตะวันตก - server เป็น sweeden hs2tei-5 - ALINCO DR135 (รับสัญญาณจาก port Data หลังเครื่อง) - TNC-X - uiview32 - ไดโพล 8 st. - สาย haliax 7/8 - ความสูง 27 เมตร offset ทิศเหนือ - server เป็น asia hs2tei-3 - ICOM ic-271 - uiview32 - TNC OT2M - Diamond X500 - สายนำสัญญาณ 10DFB - ความสูง 27 เมตร (เกาะข้างทาวเวอร์ฝั่งทิศตะวันออก) - server เป็น rotate *หมายเหตุ การรับสัญญาณสถานีบ้านผมอาจจะด้อยกว่าเมื่อก่อนมากเพราะเสาต้นเดียวกัน มีสายอากาศรอบตัว ออกอากาศ echolink ด้วยเสารอบตัวที่ 12 เมตร อยู่ด้วย ทำให้กดภาครับเสาต้นอื่นๆ พอสมควร (http://upic.me/i/lg/5stei.gif) (http://upic.me/show/27777722) ส่วน EZTNC วันนี้ติดตามได้ในรถ hs2tei-9 ไอเกตเคลื่อนที่ติดตัวไปทุกที่ วันนี้เส้นทาง จันทบุรี - กทม. (http://upic.me/i/oz/8tei9.gif) (http://upic.me/show/27777801) เพื่อนๆลองแล้วมีความเห็นอย่างไร มาแชร์กันบ้างเป็นความรู้ครับ หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: dmesg ที่ 03 กันยายน 2011, 10:56:18 ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ อยากวิ่งไปยิงดูบ้างแต่วิ่งไปไม่ถึงจันทบุรีสักทีครับ ส่วนมากไปถึงแค่แถวๆชลบุรี ;D ส่วนตัวเรื่องเอาลงเนทนี่ผมไม่ค่อยซีเรียสเท่าไหร่ เพราะมันมีเรื่องความเร็วของเนทมาเกี่ยวข้อง ผมสนใจความสามารถในการถอดแพคเกตมากกว่า ตัวไหนรับแล้วถอดออกได้เยอะสุดนั่นล่ะครับดีที่สุด จะรอดูผลนะครับ ;D
หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: LiNN ที่ 04 กันยายน 2011, 21:49:13 NC.
หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: E27FBI ที่ 04 กันยายน 2011, 22:06:54 จุดเด่นของ TNC-X ไม่ค่อยประสีประสาเรื่ิองนี้เท่าไหร่ครับ เพียงแค่พอบัดกรีได้แบบไม่หลุดแค่นั้นครับ ประสิทธิภาพการใช้งานที่ลองใช้ดูก็พอไหวครับ รับได้ก็แสดงว่าต่อไม่ผิดครับ สำหรับ TNC-X- ฝังลงใน linksys สะดวกในการใช้งาน และเคลื่อนย้าย (ทางแปดริ้วผลิต) tnc-x ผมพึ่งจะมีใช้เลยยังไม่มีข้อมูลมากนักครับ ต้องรบกวนพี่ Linn มาแนะนำครับ ไม่เหมือน ot2m กับ tnc2 และโดยเฉพาะ EZTNC ที่เล่นซนมานาน ส่วน TNC-X เดี๋ยวจะเริ่มซนกับมันบ้างเพื่อศึกษาหาข้อมูล (https://blufiles.storage.live.com/y1pB_m-INwK3swe9GC9izGjiizUbUR50EVxh5SjLnO3GHsjepP6cZzNnZ919TvwCO4mpgvnFn28bKdwr2Gi9CLlvg/DSCN66141.jpg) หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: LiNN ที่ 04 กันยายน 2011, 22:23:36 NC.
หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: hs2tei ที่ 04 กันยายน 2011, 23:24:30 จากผังการต่อ port DATA หลังเครื่อง Alinco DR135
จากกระทู้ที่น่าสนใจ http://www.100watts.com/smf/index.php?topic=70898.0 (http://img84.imageshack.us/img84/2285/capturetm.jpg) (http://img405.imageshack.us/img405/1056/capture2rk.jpg) (http://img259.imageshack.us/img259/1035/capture3i.jpg) ตอนนี้กำลังทดสอบระหว่าง การใช้สัญญาณ 9600 กับ 1200 ว่าอย่างไหนจะดีกว่ากัน พี่ LINN ได้กรุณาถ่ายทอดประสบการณ์ ว่าเท่าที่ทดสอบการใช้ สัญญาณ 9600 จะรับทางไกลได้ดีกว่า เนื่องจากความแรงของสัญญาณ ที่ป้อนเข้า TNC-X ส่วน 1200 จะผ่านการกรองความถี่ที่ละเอียดกว่า ทำให้รับสัญญาณได้ดีกว่า แต่ในระยะใกล้ๆ เช่น สถานีใกล้ๆ จะมีความชัดเจนของสัญญาณดีกว่า 9600 ส่วนหากจะใช้ 9600 สมควรเปลี่ยน R ใน TNC-X ให้ค่าเป็น 10K เพื่อไม่ให้ความต้านทานฝั่งเครื่อง DR135 โหลดกับฝั่ง TNC-X (http://upic.me/i/3g/3ltnc.jpg) (http://upic.me/show/27834608) พอดีผมลืมครับพี่ว่าตัวไหน จำได้ว่าที่ RX ดูตามผัง มี R4 คร่อมอยู่ก่อน หรือเปลี่ยนที่ R3 ครับ รบกวนพี่แนะนำอีกรอบครับ ่ส่วนระหว่างนี้ผมจะซนไปเรื่อยๆ ทดสอบหลายๆ อย่างดูครับ... ;D หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: hs3pqj ที่ 05 กันยายน 2011, 09:25:15 เพิ่มเติม...
ผมใช้ OT+ ลง firmware kiss ใส่เข้าไปใน wrt54gl ก็พอใช้ได้นะครับ ดูที่ hs3pqj-1 อาจรับน้อยไปหน่อย..แต่สูงแค่ 6 m แถม net ก็ link มาห่างจากต้นทางตั้ง 1 กม. igate รอบๆ สูง 15-30 เมตร ทั้งนั้น..เก็บไปหมดครับ เผื่อเป็นไอเดียเพิ่มเติมให้เพื่อนๆ ครับ อ้อ..ที่สำคัญ ราคาน่าจะถูกที่สุด...ot+ รวมค่าส่ง แค่ 1,200.- เอง หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: LiNN ที่ 05 กันยายน 2011, 10:06:32 NC.
หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: hs2tei ที่ 05 กันยายน 2011, 10:16:35 พอว่ากันเรื่อง 9600 กับ 1200 เริ่มงง แล้วว่ามันต่างกันยังไง
เป็นเรื่องของ ความเร็ว ความดัง หรืออะไรกันแน่ แล้วแบบไหนจะดีกว่าสำหรับเงื่อนไขนี้ :D หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: LiNN ที่ 05 กันยายน 2011, 10:27:07 NC.
หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: pa_ul ที่ 05 กันยายน 2011, 15:12:17 ก่อนที่จะหลงทางกันไปใหญ่ ขออธิบายพื้นฐานการส่งข้อมูลในระบบ packet radio อย่างละเอียดนะครับ จะได้เข้าใจว่าหลงทางกันยังไง
1. ถ้าความเร็วข้อมูลเป็น 300/600/1200/2400 บิทต่อวินาที จะใช้การส่งที่เรียกว่า Audio Frequency Shift Keying - AFSK คือการเปลี่ยน(shift) ความถี่เสียง(Audio Frequency) ไปมาระหว่างสองความถี่ที่กำหนดไว้ ซึ่งจะมีกำหนดรูปแบบการเปลี่ยนความถี่ของการส่งข้อมูลบิทที่เป็น 0 กับข้อมูลบิทที่เป็น 1 ไว้แตกต่างกัน ความถี่สองความถี่สำหรับการส่งที่ความเร็วข้อมูล 1200 และ 2400 บิทต่อวินาที คือความถี 1200Hz และ 2200Hz 2. ถ้าความเร็วข้อมูลเป็น 4800/9600 หรือมากกว่า เราจะไม่สามารถใช้วิธีที่ 1 ได้ เพราะแถบความถี่ของสัญญาณ RF ที่ได้หลังจากแปลงข้อมูลไปเป็นเสียงสองความถี่แล้วโมดูลเลทในระบบ FM เพื่อออกอากาศนั้น จะมีย่านกว้างมากกว่า 25KHz ทำให้ไม่สามารถส่งออกไปได้ด้วยระบบวิทยุ FM ของวิทยุสมัครเล่นได้ จึงต้องใช้วิธีส่งข้อมูลดังกล่าวด้วยการเปลี่ยนความถี่ RF โดยตรง ซึ่งในทางเทคนิคเรียกว่า Frequency Shift Keying - FSK (ไม่มี A นำหน้า) คือข้อมูลบิท 0 และ 1 จะถูกนำไปบังคับความถี่ RF โดยตรง ไม่ได้ผ่านขบวนการแปลงเป็นเสียงก่อนดังเช่นวิธี AFSK ข้างต้น วิธีทั้งสองมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันหลายอย่าง ข้อหลักๆ ได้แก่ - AFSK ทำได้ง่ายกว่า สัญญาณออกของ TNC สามารถนำไปต่อเข้ากับขั้วไมค์ได้ของวิทยุรับส่งได้โดยตรง แต่ FSK จะต้องนำข้อมูล 0-1 ต่อตรงไปเข้าที่ภาคโมดูเลชั่น ซึ่งวิทยุที่ใช้ทั่วๆ ไปจะไม่มีจุดต่อสำหรับกรณีนี้ไว้ให้ ยกเว้นเครื่องคุณภาพสูงประเภทติดตั้งประจำที่ห รือเครื่องที่ออกแบบมารองรับโดยเฉพาะ (TM255, IC275, DR135, DR150, IC7000, FT736, ฯลฯ) - AFSK รองรับการส่งข้อมูลความเร็วไม่เกิน 2400 บิทต่อวินาทีเท่านั้น ในขณะที่ FSK สามารถรองรับความเร็วข้อมูลได้ถึงเกือบ 30000 บิทต่อวินาที ที่แถบความถี่ RF ไม่เกิน 25KHz มีต่อ.... หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: hs3pqj ที่ 06 กันยายน 2011, 09:12:24 ขอบคุณครับ อ.พรชัย
ผมนั่งอ่านว่าแล้ว..มันแม่งๆ พิกล หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: dmesg ที่ 06 กันยายน 2011, 10:24:39 รอ อ.พรชัยมาเขียนให้อ่านต่อครับ ;D
หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: hs3pqj ที่ 06 กันยายน 2011, 11:01:50 รอ อ.พรชัยมาเขียนให้อ่านต่อครับ ;D รอเหมือนกันครับอ้อ..อีกนิด...ผมมาช่วยยืนยัน ใช้ของฝีมือคนไทย(อ.พรชัย)ดีที่สุดครับ มีปัญหาก็แก้ไขได้ง่ายๆ แก้ไม่ได้ก็ส่งไปให้ อ. แถมยังมี firmware ใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ รอต่อครับ.... หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: pa_ul ที่ 07 กันยายน 2011, 09:03:26 มาต่อ...
การทำงานในระบบ AFSK ที่ใช้การป้อนเสียงที่สร้างจากภายนอกเข้าที่ขาไมค์นั้น หมายความว่าสัญญาณเสียงดังกล่าวจะต้องผ่านขบวนการกรอง และยกระดับความแรงของเสียงความถี่สูงให้มากกว่าเสียงความถี่ต่ำ ซึ่งเป็นขบวนการมาตรฐานในการรับส่งในระบบ FM ที่มีไว้เพื่อให้คุณภาพเสียงดีขึ้น สัญญาณรบกวนลดลง การยกระดับความแรงสัญญาณเสียงดังกล่าวจะถูกปรับลดลงให้กลับเป็นปรกติที่วิทยุฝั่งรับ ก่อนที่จะส่งเข้าภาคขยายออกสู่ลำโพง ขบวนการตรงนี้ในทางเทคนิคจะมีชื่อเรียกว่า พรีเอมฟาซิส (pre-emphasis) และ ดีเอมฟาซิส (de-emphasis) ที่ฝั่งส่งและฝั่งรับตามลำดับ ทีนี้ถ้าเราส่งข้อมูลจาก TNC ที่ต้นทางอย่างที่ทำกันอยู่ทั่วไป มันก็คือ AFSK ก็จะมีการยกความแรงของเสียงความถี่สูงให้แรงขึ้นก่อนออกอากาศ TNC ที่ปลายทางก็จะต้องใช้สัญญาณที่ผ่านขบวนการปรับลดความแรงลดให้สอดคล้องกัน ซึ่งในเครื่อง DR135 ก็คือสัญญาณจากจุดต่อที่ระบุว่าไว้ใช้สำหรับ TNC 1200bps แต่ถ้าเราไปใช้สัญญาณที่จุดต่อสำหรับ 9600bps (คือสัญญาณที่ไม่ได้ผ่านขบวนการปรับลดความแรง de-emphasis) นั่นหมายความว่าเราจะได้สัญญาณเสียงที่มีความถี่สูงแรงกว่าปรกติเมื่อเทียบกับด้านความถี่ต่ำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะใช้งานไม่ได้นะครับ เพราะความแรงที่แตกต่างกันไม่ได้ทำให้รับไม่ได้เลย แต่มันไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่ควรจะเป็น และก็เป็นไปได้ว่าการทำงานที่ฝั่งส่งก็ไม่สมบูรณ์ตามมาตรฐานเป๊ะๆ ตัว TNC หรืออุปกรณ์อื่นใดก็ตาม ที่สร้างสัญญาณ packet ป้อนเข้าวิทยุอาจจะสร้างสัญญาณเสียง 1200Hz/2200Hz มาไม่สมดุลกันตั้งแต่แรกก็เป็นไปได้ ถ้าบังเอิญว่าเสียงความถี่สูงมันแรงน้อยกว่าตั้งแต่ก่อนป้อนเข้าวิทยุตัวส่ง ก็จะกลายเป็นว่าการเอาสัญญาณจากจุดต่อ 9600bps มาใช้อาจจะได้สัญญาณที่ได้สมดุลดีกว่าสัญญาณจากจุดต่อ 1200bps เสียอีก หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: hs2tei ที่ 07 กันยายน 2011, 10:59:40 ตามความเข้าใจประมาณนี้ใช่ไม๊ครับ
แทรกเกอร์ ส่งสัญญาณความถี่ 1200Hz และ 2200Hz เมื่อส่งสัญญาณผ่านไมค์วิทยุสื่อสารออกอากาศในระบบ FM จะถูกแปลง ให้ความถี่ 2200 แรงขึ้น ให้ผ่านสัญญาณรบกวนในการผสมคลื่นในระบบ FM เมื่อถึงปลายทาง ความถี่จะเป็น 1200 กับ 2200 แต่ความแรงกลับมาไม่เท่ากัน คือ 2200 แรงกว่า วงจรในเครื่องก็จัดการแปลงให้เท่ากัน มาออกทางลำโพง ซึ่งที่ DR135 port 1200 ก็จะผ่านภาคกรองนี้มาแล้ว ส่วน 9600 ไม่มีการกรอง ทำให้สัญญาณมาแรงที่ 2200 แต่ 1200 มาปกติ ไม่เท่ากัน จึงเป็นที่มาว่า port 1200 จะได้มาตรฐานกว่า เพราะถูกแปลงให้ความแรงเท่ากับต้นทางเหมือนเดิม ส่วนใน TNC-X จำได้ว่าพี่ LINN เคยอธิบายว่ามีวงจรแปลงความแรงแล้วส่วนหนึ่ง ถ้าผ่าน 9600 ก็ยังได้รับการแปลงมาแล้ว แต่หากผ่าน DR135 ที่ port 1200 จะเหมือนกับ ผ่านการแปลงความแรงให้มาตรฐานสองต่อ :Dน่าจะเป็นประมาณนี้ถูกต้องไม๊ครับ... (http://upic.me/i/qo/r1200.jpg) (http://upic.me/show/27891442) หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: pa_ul ที่ 08 กันยายน 2011, 08:32:05 ในตัว TNC-X ผู้ออกแบบได้ใส่วงจรกรองความถี่เอาไว้ก่อนหน้าที่สัญญาณจะถูกส่งเข้าไปแปลงเป็นข้อมูลดิจิตอลที่ไอซี MX614 วงจรดังกล่าวใช้ไอซีออปแอมป์ MCP6023 และ R,C สามสี่ตัว จัดเป็นวงจรกรองความถี่สูงผ่าน (2nd Order High Pass Filter) ที่มีคุณลักษณะตามรูปข้างล่าง
(http://upic.me/i/k4/tnc-x-graph.jpg) วงจรนี้ไม่ใช่วงจร de-emphasis แต่อย่างใด แต่จุดมุ่งหมายที่ผู้ออกแบบใส่เอาไว้นั้น เป็นเพราะไอซี MX614 จะทำงานผิดพลาดเมื่อมีความถี่ต่ำเข้าไปรบกวนการทำงาน ผู้ออกแบบจึงทำการกรองมันออกก่อนที่จะส่งต่อให้ MX614 การกรองตรงนี้จะมีผลทำให้ความถี่ 1200 Hz มีความแรงลดลงไปประมาณ 30% ด้วย แต่ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดต่อการทำงานของ MX614 และโดยรวมมันทำให้ MX614 ทำงานได้แน่นอนมากขึ้น หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: LiNN ที่ 08 กันยายน 2011, 08:48:53 hs2teiลองอ่านเพิ่มเติมได้จากเอกสารของ Mr.John Hensen http://www.tnc-x.com/dcc3.doc (http://www.tnc-x.com/dcc3.doc) ก็ได้ครับ ผมแปลไม่ออกภาษา Enไม่แข็งแรง
อ้างถึง The next step was to analyze the audio from the packet itself. I captured an audio sample that contained both a packet that both modems could decode and one that was decoded by the TI chip, but not by the MX614. I then used a PC-based audio spectrum analyzer to look at the frequency components of the two packets. In addition to the expected peaks at 1200 and 2200 Hz, I found that both packets also had a lot of energy in the range of 200-400 Hz. In addition, the “bad” packet also had quite a bit of energy in the 600-900 Hz range, but the “good” packet did not. I began to suspect that the MX614 was susceptible to noise in this frequency range, while the TI chip was not. I ran the recorded “bad” packet through a fairly primitive PC-based graphic equalizer to attempt to filter the energy below about 1000 Hz. When I did that, the MX614 copied the “bad” packet just fine. My conclusion was that in order for the MX614 to work really well, it was going to be necessary to do some audio filtering ahead of the modem chip. Thus I added U4, a Microchip MCP602 dual op amp configured as a high pass filter. หรือเราจะไปหา TCM3105 มาลองกันดีครับ อ้างถึง There were two possibilities for this behavior. Either these packets were constructed in such a way that my firmware didn’t recognize them as packets (see Section 3, below on firmware design) or the data was garbled in the modem chip itself. I dug out an old TNC that I owned that was based on the venerable Texas Instruments TCM3105 chip and found that it copied the data just fine. Using a dual trace storage oscilloscope I was able to compare the data coming out the TI chip with that coming out of the MX614. The data matched exactly on those packets that both TNCs could decode, but it did not match at all on the packets that the MX614 based TNC did not decode. I concluded from this that there was something about the received audio that was causing the MX614 to produce bad data. That is, the problem lay in the modem chip, not in my receive algorithm. หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: LiNN ที่ 08 กันยายน 2011, 08:54:32 (http://upic.me/i/dj/tncx14.jpg)
ที่สถานีมี OT2mได้ลองเปรียบเทียบกับ TNC-Xแล้วประสิทธิภาพในการถอด Packetเป็นเช่นไรครับ เพราะ OT2mก็มี Modemและ Filterเหมือนกับ TNC-X ผมไม่เคยลอง OT2mเสียที ว่าจะรอดักปล้น OT2mของ E22IDCที่วิ่งผ่านบ่อยๆ ;D (https://blufiles.storage.live.com/y1pyNfnTRxA91jZZ74FoB74PgyapIn9Iw3pp13GTSOitB_xSdiwssurRWM19digdeUISbA2PLdkBmA/110908_ot2m-schematic.png) หัวข้อ: Re: มือใหม่หัดประกอบ TNC-X จากเมืองนอก เริ่มหัวข้อโดย: CDI22E ที่ 08 กันยายน 2011, 18:48:49 ที่สถานีมี OT2mได้ลองเปรียบเทียบกับ TNC-Xแล้วประสิทธิภาพในการถอด Packetเป็นเช่นไรครับ เพราะ OT2mก็มี Modemและ Filterเหมือนกับ TNC-X ผมไม่เคยลอง OT2mเสียที ว่าจะรอดักปล้น OT2mของ E22IDCที่วิ่งผ่านบ่อยๆ ;D อุ้ยๆ ดักปล้น OT2m รถผมเลยหรอครับ? เดี๋ยวมาปิดการจราจรดักปล้นรถผม เดี๋ยวรถติดยาวครับ(แถวนั้นรถเยอะครับ)เดี๋ยวส่งไปให้ทดลองเลยดีกว่าครับ อิอิ :) :) :) Webmaster Earn Money! By Affiliate Program 100% Pay www.samuismile.com |