HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND

HAMSIAM TECHNOLOGY => CB 245 MHz วิทยุประชาชน CITIZEN BAND RADIO => ข้อความที่เริ่มโดย: HS5TQA ที่ 13 เมษายน 2015, 14:46:32



หัวข้อ: เปิดโครงการ APRS ในเครือข่าย CB
เริ่มหัวข้อโดย: HS5TQA ที่ 13 เมษายน 2015, 14:46:32
เปิดโครงการ APRSTH ในเครือข่ายวิทยุ CB
(http://aprs.nakhonthai.net/images/aprs_system.jpg)

    ก่อนอ่านข้อเสนอต่อไปนี้ ขอเกริ่นก่อนว่า APRS คืออะไร ? ใช้อย่างไร ? ทำไมต้องใช้ ? มีไปทำเพื่อ...ฯลฯ (ท่านที่เข้าใจดีแล้วให้ข้ามไป) เชื่อว่าทุกท่านจะผุดคำถามนี้ขึ้นมาในหัวอย่างแน่นอนใช่ไหม ? เอาละ ไม่เยิ่นเย้อ..ว่ากันเลย APRS ย่อมาจาก Automatic Packet Report System แปลกันง่าย ๆ ว่าคือ "ระบบรายงานข้อมูลอัตโนมัติ" ลงลึกอีกหน่อยก็คือรูปแบบการสื่อสารหนึ่งทางดิจิตอล เปรียบเทียบคล้าย ๆ กับโปรโตคอล HTML หรือเว็บนั่นละ มันก็วิ่งอยู่เครือข่ายหลาย ๆ เครือข่าย ในเว็บก็มีบริการทั้งวีดีโอ แสดงเพจ ฟังเพลง แชทฯลฯ เช่นเดียวกัน APRS ก็วิ่งบนหลายเครือข่ายได้ และการใช้งานก็มีทั้งส่งพิกัดจีพีเอส ข้อมูลตรวจวัดอากาศ แชทข้อความ ข้อมูลในระบบโทรมาตร ฯลฯ ได้เช่นกัน

     เดิมระบบ APRS เป็นของนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น เราก็ได้พัฒนาจากระบบวิทยุสมัครเล่นที่ได้มีการทดลอง ใช้งาน ต่าง ๆ นา ๆ กันมานานมากแล้ว เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนทั่วไป มิใช่จำกัดเฉพาะกลุ่มที่ต้องเป็นนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น เมื่อเราได้พัฒนามาก็คงต้องเปลี่ยนชื่อกันสักหน่อยโดยใช้ชื่อ APRSTH (Automatic Packet Report System Thailand) ซึ่งเราได้พัฒนาระบบเครือข่ายและบริการเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งเครือข่ายวิทยุสมัครเล่นและประชาชนทั่วไป ภายใต้การพัฒนานั้นเราได้พัฒนาทั้งทางด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟร์แวร์ เครือข่ายตลอดจนงานบริการเซิร์ฟเวอร์ อีกทั้งระบบคงรองรับกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือซอฟร์แวร์เดิมอีกด้วย

     เนื่องจากเราได้พัฒนามาจาก APRS (เครือข่ายวิทยุสมัครเล่น) ดังนั้นรูปแบบโปรโตคอลรวมถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ สามารถนำของวิทยุสมัครเล่นที่มีอยู่ทั้งของต่างประเทศและในประเทศ มาใช้งานได้เช่น Traceker,TNC,IGate,Mobile App เป็นต้น ในปัจจุบันเรานิยมใช้งาน APRS ผ่านระบบกัน 2ทางด้วยกันคือ 1.ทางคลื่นวิทยุ และ 2.ทางสมาร์ทโฟน

1.APRSTH ผ่านเครือข่ายคลื่นวิทยุรับส่ง
     หากเราจะนำข้อมูลดิจิตอลส่งผ่านคลื่นวิทยุรับส่งนั้น เราต้องแปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นอนาล๊อกหรือทางกลับกัน(TNC) ด้วยการม๊อดดูเลตในแบบต่าง ๆ ในที่นี้เราใช้การม๊อดดูเลตแบบ AFSK(Audio Frequency Shift Keying) พูดง่าย ๆ คือเราให้ความถี่ 1200Hz แทนบิท 0 และ 2200Hz แทนบิท 1 และสังเกตุคำว่า Audio แปลกันง่าย ๆ เลยว่ามันเป็นเสียงเราสามารถส่งผ่านข้อมูลนี้ผ่านทางไมค์วิทยุได้ และฟังมาจากลำโพงได้เช่นกัน จึงทำให้เกิดความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะสามารถนำวิทยุรุ่นยีห้อใด ๆ ก็ได้ที่รับส่งเสียงได้(มีแบนด์วิธไม่ต่ำกว่า 12.5KHz) นำมาใช้ AFSK ได้ทันที ก็แปลว่านำวิทยุรุ่นเก่า ๆ กลับมาเล่นโหมดดิจิตอลในยุคใหม่ได้เช่นกัน ทำให้วิทยุรุ่นเก่า ๆ คงมีค่าใช้งานได้อยู่นั่นเอง
เอาละ..ด้วยการม๊อดดุเลตแบบ AFSK มันทำความเร็วได้ไม่สูงมากนัก ทำได้เพียง 1200bps หรือประมาณ 150 ตัวอักษรต่อวินาที แต่ก็เร็วเพียงพอต่อการส่งข้อความสั้น ๆ เช่นข้อมูลพิกัดจีพีเอส ข้อมูลตรวจอากาศ ข้อความสั้น ๆ เป็นต้น ข้อความเหล่านี้ใช้เวลาไม่เกิน 3วินาทีในการส่งแต่ละครั้งเท่านั้น และเสียงที่ออกทางลำโพงที่ได้รับฟังทางวิทยุสื่อสาร ก็จะเป็นเสียงข้อมูลอี๊ด ๆ อ๊าด ๆ คล้าย ๆ กับเสียงแฟ็กซ์ ทำให้ผู้ใช้วิทยุสื่อสารรู้ทันทีว่านี่คือการสื่อสารข้อมูลแบบ AFSK 1200bps ในด้านอุปกรณ์นั้นมีหลากหลายแบบหลายยีห้อทั้งไทยและเทศ นำมาประยุกต์ใช้งานได้ทั้งนั้น ทั้งเป็นแทรกเกอร์ ดิจิรีพีทเตอร์ และไอเกท สามารถหาอ่านรายละเอียดความรู้ความเข้าใจจากระบบ APRS ของนักวิทยุสมัครเล่นที่มีอยู่ทั่วโลกได้เลย หรือเริ่มจากบทความ APRS เบิ้องต้นที่ http://aprs.nakhonthai.net/index.php?ind=reviews&op=entry_view&iden=1
(http://aprs.nakhonthai.net/images/aprsth_system.jpg)
อธิบายภาพเบื้องต้น
     ประกอบด้วย 3ส่วนคือ GPS TRACKER คือส่วนผู้ใช้งานที่ติดในรถ พกไว้ข้างเอว ขึ้นกับผู้ใช้ที่จะส่งพิกัดผ่านคลื่นวิทยุ ส่วนที่สอง IGate คือผู้ให้บริการเกตเวย์ที่จะนำข้อมูลจากคลื่นวิทยุเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งอาจเป็นบุคคล หน่วยงาน บริษัทขึ้นกับผู้สนใจบริการโดยส่งไปที่ aprsth.nakhonthai.net port 24580 และส่วนที่สามส่วนเซิร์ฟเวอร์บริการ ทางผมเริ่มต้นก้าวแรกเป็นผู้ให้บริการก่อนโดยมีเซิร์ฟเวอร์เกตเวย์ ฐานข้อมูลและเว็บเซิร์ฟเวอร์ และส่งต่อให้ผู้ใช้ทั่วไปผ่านการแสดงผลบนคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนโดยเปิดเข้าสู่เว็บไซต์ http://aprsth.nakhonthai.net

2.APRSTH ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
     ใช้แอปบนสมาร์ทโฟนก็เล่น APRS ได้เช่น AprsDroid,U2APRS เป็นต้น หรือจะใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นโปรแกรม UIVIEW,AGWTracker,nTNC Software เป็นต้น หรือใช้เป็นพวก RaspberryPi/BananaPi เช่น XASTIR,aprsd,aprx เป็นต้น ซอฟแวร์เหล่านี้สามารถนำมาเล่น APRS ได้โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ต้องใช้วิทยุสื่อสาร เพียงแต่หากจะมีค่าใช้จ่ายตามแพ็คเก็จอินเทอร์ที่ท่านใช้เท่านั้น
(http://aprs.nakhonthai.net/images/aprs_droid.jpg)

     ในปัจจุบันในเครือข่ายวิทยุสมัครเล่นเราใช้คลื่นความถี่ 144.390MHz ความถี่เดียวทั่วประเทศไทย นับว่าเป็นการใช้ทรัพยากรณ์ที่คุ้มค่ามากที่สุด(จำนวนผู้ใช้ต่อ 1ความถี่) เมื่อพัฒนามาในระบบ CB 245MHz ก็คงผลเช่นเดียวกัน ซึ่งเราต้องมาตกลงกันว่าจะใช้ความถี่ใดสำหรับสื่อสารในระบบ APRS ที่จะเอามาใช้ร่วมกันทั้งประเทศได้ ซึ่งทางผมมีแนวคิดของช่องสัญญาณดังนี้
1.ควรเป็นช่องใน 40ช่องที่ประกาศใช้ครั้งแรก เพราะจะได้นำเครื่องวิทยุรุ่นเก่า 40ช่อง กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้
2.ควรเป็นช่องที่ไม่มีคนใช้ และกระทบกับผู้ใช้งานเดิมน้อยที่สุด ไม่งั้นเค้าต้องย้ายช่องความถี่ไปความถี่อื่นแน่นอน
3.ไม่ใช่ช่องที่ถูกกำหนดเป็นช่องสื่อสารกลางหรือช่องเตือนภัยพิบัติ

สำหรับช่อง APRS ที่เราจะนำมาใช้กันทั้งประเทศในช่องเดียวนั้น ลองมาช่วยกันหาดูว่า ความถี่ใดช่องใดน่าจะเหมาะสมที่สุด

ตัวอย่างการแสดงผลคลิ๊กดูได้ที่ http://aprs.nakhonthai.net/map/index.php
(http://aprs.nakhonthai.net/mkportal/modules/gallery/album/a_36.png)

ข้อมูลอื่น ๆ ประกอบดังนี้

ระบบเครือข่าย APRS เบื้องต้น: http://aprs.nakhonthai.net/index.php?ind=reviews&op=entry_view&iden=1
เริ่มต้นกับพัฒนาระบบ APRS ไทย : http://nakhonthai.net/index.php/performance/researchanddevelopment/13-aprs-start
nTNC กับการพัฒนาและประยุกต์ใช้งาน : http://www.hamsiam.com/smf/index.php?topic=136276.0
APRS บนมือถือ Android: http://www.hamsiam.com/smf/index.php?topic=73263.0
APRS โดย HS9DMC เนื้อหาเยอะมาก : http://www.hs9dmc.com
เปิดเซิร์ฟเวอร์บริการข้อมูลและแผนที่โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย: http://aprs.nakhonthai.net/forum/index.php?topic=26.0
---------------------
อ้างอิงจาก: http://aprs.nakhonthai.net/forum/index.php?topic=31.0


หัวข้อ: Re: เปิดโครงการ APRS ในเครือข่าย CB
เริ่มหัวข้อโดย: HS5TQA ที่ 21 เมษายน 2015, 18:08:17
มีช่องไหนพอจะว่าง และพร้อมจะย้ายไปความถี่ใหม่(146.00-147.00MHz)(246.00-247.00MHz) กันบ้าง ?
ตอนนี้เล็งไว้ที่ช่อง 65(80Ch) หรือ ช่อง  33(40Ch) หรือความถี่ 245.8000MHz ซึ่งจะได้เริ่มเปิดทดสอบเร็ว ๆ นี้ครับ



(http://blog.etcpool.com/wp-content/uploads/2012/05/CB-Channel-Chart.jpg)


หัวข้อ: Re: เปิดโครงการ APRS ในเครือข่าย CB
เริ่มหัวข้อโดย: pracha51 ที่ 05 กรกฎาคม 2015, 23:37:34
สรุปแล้วใช้งานช่องไหนครับพี่
ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�
ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�


Webmaster Earn Money! By Affiliate Program 100% Pay
www.samuismile.com