หัวข้อ: nTNC-Thumb รีวิวและการประยุกต์ใช้งาน เริ่มหัวข้อโดย: HS5TQA ที่ 07 มีนาคม 2014, 01:51:15 nTNC-Thumb V1.0 รีวิวและการประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เริ่มจากแนวคิดด้วยการนำเอา nTNC-Module มาประยุกต์ใช้งานร่วมกับ USB To Serial TTL เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้งานในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ไอเก็ต ดิจิ และแพ็คเก็จเรดิโอ เป็นต้น ซึ่งมีขนาดเล็กกระทัดรัด ถอดเสียบและโยกย้ายการใช้งานที่ง่ายดาย เป็นอุปกรณ์พร้อมใช้งานอีกชิ้นหนึ่ง ที่เหมาะกับการนำไปใช้งานแบบ Plug&Play หรือฝึกฝนการเล่น APRS สำหรับผู้เริ่มต้นในอีกทางหนึ่ง อุปกรณ์พร้อมใช้เหมาะสำหรับเริ่มต้นระบบ APRS และ Packet Radio Features: -พอร์ตเชื่อมต่อ USB ประยุกต์ใช้งานง่าย -โปรโตคอลการสื่อสารภายใน HDLC,AX.25,APRS,KISS -ความเร็วสื่อสาร AFSK 1200bps -ความเร็วเชื่อมต่อ USB TO SERIAL 300bps-115200bps -เข้ารหัส Encode ด้วยซอฟแวร์ (APRS->Audio) -ถอดรหัส Decoder ด้วยซอฟแวร์ (Audio->APRS) -กำหนดใช้งานเป็น TNC (ทำไอเก็ต) -กำหนดใช้งานเป็น Digi Repeater (ทำดิจิ) -กำหนดใช้งานเป็น Packet Radio (KISS MODE) -กำหนดใช้งานเป็น Telemetry (ดาต้าล๊อกเกอร์) -รับส่งข้อมูลด้วย TNC2 Monitor หรือ KISS MODE แพ็คเก็จ nTNC-Thumb (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/APRS010_Package.jpg) ส่วนประกอบของ nTNC-Thumb (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Thumb_1.jpg) (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Thumb_Device.jpg) (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Thumb_2.jpg) (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Thumb_Side.jpg) ไดร์เวอร์สำหรับ nTNC-Thumb nTNC-Thumb นั้นจะใช้ USB TO SERIAL TTL ชิพเบอร์ PL-2303 HXA/XA ท่านสามารถดาวน์โหลดไดร์เวอร์มาติดตั้งได้ดังต่อไปนี้ สำหรับ Windows XP,Win7 ดาวน์โหลดได้ที่ http://aprs.nakhonthai.net/index.php?ind=downloads&op=entry_view&iden=19 สำหรับ Windows Vista,Win7,Win8 ดาวน์โหลดได้ที่ http://aprs.nakhonthai.net/index.php?ind=downloads&op=entry_view&iden=18 สำหรับ TP-Link MR3020 ให้อับเดทไดร์เวอร์ด้วยคำสั่ง apt-get install kmod-usb-serial-pl2303 การต่อแจ็คสัญญาณเสียงเข้ากับสายไมค์ ตำแหน่งและขาสัญญาณบนแจ็คหูฟังโทรศัทพ์แบบ 4ขั้ว (http://aprs.nakhonthai.net/mkportal/modules/gallery/album/a_35.png) การเชื่อมต่อเข้ากับสายไมค์ในแบบที่วิทยุมีสาย PTT (http://aprs.nakhonthai.net/mkportal/modules/gallery/album/a_13.jpg) การเชื่อมต่อเข้ากับสายไมค์ในแบบที่วิทยุใช้ขา PTT ร่วมกับขา MIC (http://aprs.nakhonthai.net/mkportal/modules/gallery/album/a_14.jpg) การหาขาสัญญาณจากสายไมค์นอกอย่างง่าย 1.หาขา กราวด์ โดยใช้มิเตอร์จับที่ขั้วสายอากาศเส้นหนึ่ง อีกเส้นไล่วัดที่สายไมค์ เส้นไหนช๊อตถึงกันกับขั้วสายอากาศ แสดงว่าสั้นนั้นคือเส้น GND 2.หาขา PTT โดยนำเส้นกราวน์ที่หาได้จากข้อที่ 1 ไปไล่ช๊อตเส้นอื่น ๆ เมื่อช๊อตแล้วถ้ามีไฟแดง TX ของวิทยุส่งออก แสดงว่าเส้นนั้นคือเส้น PTT 3.หาขา SP ให้ใช้ลำโพงหรือหูฟังต่าง ๆ มาทดสอบ โดยเปิด SQL ที่วิทยุเป็น 0 จนมีเสียงซ่า แล้วใช้ลำโพงหรือหูฟังขาหนึ่งช๊อตไว้กับขา GND อีกขาของลำโพงไล่ช๊อตกับเส้นอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้หา ถ้าพบว่าเส้นไหนมีเสียงซ่าออก แสดงว่าเส้นนั้นคือ SP 4.หาขา MIC ต้องใช้วิทยุอีกเครื่องมาเป็นตัวรับฟัง วิทยุที่ต้องการหาให้กดคีย์ส่งออกอากาศจากตัววิทยุ แล้วใช้มือจับปลายสายไมค์แรง ๆ ไล่ไปแต่ละเส้น ถ้าเส้นใดได้ยินเสียงตู๊ด ๆ แสดงว่าเส้นนั้นเป็นขา MIC 5.ถ้าขา MIC ตรงกับขา PTT แสดงว่าต้องต่อแบบ Connection Type B(PTT To Mic) ที่ต้องใช้ R ค่าประมาณ 1-3K ต่อร่วมเพิ่ม หัวข้อ: Re: nTNC-Thumb รีวิวและการประยุกต์ใช้งาน เริ่มหัวข้อโดย: HS5TQA ที่ 07 มีนาคม 2014, 01:52:02 การตั้งค่า nTNC-Thumb
บนคอมพิวเตอร์ท่านสามารถดาวน์โหลดไดร์เวอร์มาติดตั้งได้ดังต่อไปนี้ สำหรับ Windows XP,Win7 ดาวน์โหลดได้ที่ http://aprs.nakhonthai.net/index.php?ind=downloads&op=entry_view&iden=19 สำหรับ Windows Vista,Win7,Win8 ดาวน์โหลดได้ที่ http://aprs.nakhonthai.net/index.php?ind=downloads&op=entry_view&iden=18 เมื่อติดตั้งไดร์เวอร์แล้วให้เสียบ nTNC-Thumb เข้าไปยังพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ แล้วให้เข้าไปยัง Device Manager (ในคอนโทรลพาเนล) คลิ๊กในหัวข้อ Port(COM&LPT) ในตัวอย่างจะเห็นไดร์เวอร์มันทำงานอยู่ใน COM3 (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/USB_PL2303.png) หมายเหตุ ช่องเสียบ USB นั้นมีหลายช่อง การย้ายช่องเสียบไปในช่องอื่น ๆ จะทำให้ตำแหน่งพอร์ตเปลี่ยนไป การใช้โปรแกรมควบคุมในการตั้งค่าและทดสอบ โปรแกรมตังค่าบนวินโดว์ดาวน์โหลดได้ที่ http://aprs.nakhonthai.net/index.php?ind=downloads&op=section_view&idev=2 สำหรับบนลีนุกซ์ไม่ว่าจะเป็น RaspberryPi,OpenWRT,DDWRT ฯลฯ สามารถใช้โปรแกรมเทอร์มินอลทั่วไปเช่น picocom,minicom ในการตั้งค่าผ่านคอมมานด์ไลน์ได้ทันที เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้ว ให้กำหนด PORT ให้ตรงกับที่แสดงใน Device Manager ความเร็วปกติจะเป็น Baud rate: 9600 แล้วกดปุ่ม Connect เพื่อให้โปรแกรมเชื่อมต่อใช้งานผ่านพอร์ต USB TO SERIAL ผ่านไปยังตัว nTNC (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Control.png) การกำหนดค่าใช้งานในโหมด TNC โหมด TNC นั้นจะถูกนำไปใช้งานในโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้เป็นไอเก็ต ดิจิพีทเตอร์ มอนิเตอร์ รับส่งข้อความ แชท ฯลฯ โดยไปที่เมนู File->New->TNC Default จากนั้นค่าต่าง ๆ จะถูกกำหนดการทำงานแบบปกติในโหมดใช้งาน TNC ให้โดยอัตโนมัติ จากนั้นให้กดปุ่ม SETUP ALL (ให้สังเกตุสเตตัสบาร์ จะมีคำสั่งในก้ามปู[] ถูกส่งออกไปให้ nTNC เพื่อกำหนดค่าต่าง ๆ (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Control_TNCMenu.png) ในคอมมานด์ไลน์ใช้คำสั่งย่อ ๆ ได้ดังนี้ โค๊ด: MYCALL=HS5TQA ทดสอบการรับข้อมูล APRS Packet เปิดวิทยุและต่อสายไมค์ให้รียบร้อย แล้วไปยังแท็บ Terminal ในโปรแกรม เมื่อมีแพ็จเกจข้อมูลเข้ามาไฟสีเหลือง(RX) ที่ตัว nTNC-Thumb จะติดสว่างขึ้น ในหน้าต่างโปรแกรม ก็จะแสดงข้อมูลแพ็จเก็จโปรโตคอล AX.25 ในรูปแบบ TNC2 Monitor ออกมาให้เห็น ดังภาพประกอบ (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Control_TerminalRecv.png) ทดสอบการส่งข้อมูล APRS Packet ไปยังแท็บ Terminal ในโปรแกรม ท่านสามารถส่งสเตตัสง่าย ๆ ออกไปโดยพิมพ์ ">TEST nTNC-Thumb" แล้วกดปุ่ม Send แล้วให้สังเกตุไฟสีแดงจะติดสว่าง ตัววิทยุก็จะมีการกดคีย์ออกอากาศ ถ้ามีวิทยุหรืออุปกรณ์อีกชุดหนึ่ง ก็จะสามารถแสดงผลหรือรับข้อความนั้นได้ (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Control_TerminalTx.png) ถ้าส่งออกอากาศไปถึงไอเกตได้ ใน raw ของ aprs.fi ก็จะแสดงข้อความสเตตัส "TEST nTNC-Thumb" ให้เห็น (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Control_RawTx.png) การกำหนดค่าใช้งานในโหมด DIGI Repeater ในโหมด DIGI นั้น จะถูกกำหนดให้ทวนสัญญาณที่รับเข้ามาตามเงื่อนไข Path ของผู้ส่งกำหนดไว้ โดยไปที่เมนู File->New->DIGI Default จากนั้นค่าต่าง ๆ จะถูกกำหนดการทำงานแบบปกติในโหมดใช้งาน DIGI เบื้องต้น ให้กำหนดค่าใหม่ที่สำคัญเช่นค่า Callsign,SSID และใน APRS Beacon (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Control_DigiMenu.png) การกำหนดค่าตำแหน่งสถานีและไอคอนสัญลักษณ์ของสถานีดิจิ มีตัวช่วยในโปรแกรมง่ายๆ โดยในแท็บ Config ให้กดปุ่ม GEN มันจะถูกสลับไปยังแท็บ Protocol 1.ให้กำหนดค่าข้อมูลสถานีในกรอบ PHG เสร็จแล้วกดปุ่ม GEN จะได้ข้อความใน TEXT: 2.ไปกำหนดตำแหน่งของสถานีในกรอบ FIX POSITION ตำแหน่งใน LAT: และ LON: สามารถดูได้ในเว็บ http://aprs.fi และส่วน Icon สามารถใช้เมาท์ไปคลิ๊กแล้วเลือกภาพสัญลักษณ์ที่ต้องการ พร้อมทั้ง Comment: ใส่ได้ตามต้องการที่จะแสดง คลิ๊กปุ่ม ADD PHT อีกครั้ง ถ้าท่านต้องการแสดงข้อมูลสถานีที่กำหนดไว้ในข้อ 1 ไปแล้วด้วย จากนั้นกดปุ่ม GEN จะได้รูปแบบโปรโตคอล APRS ด้านล่างใน APRS TEXT PROTOCOL: (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Control_DigiBeacon.png) 3.กดปุ่ม Copy To Beacon ข้อความโปรโตคอลจะถูกคัดลอกกลับมาใส่ในแท็บ Config ในช่องของ APRS Beacon (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Control_DigiBeacon2.png) ส่วนค่าอื่น ๆ อธิบายความหมายได้ดังนี้ TX Beacon Every คือค่าเบคอนที่จะถูกส่งออกอากาศตามช่วงเวลา ตัวอย่างกำหนดส่งทุก 15นาที LOG DIGI/TNC คือค่า Telemetry ที่จะถูกส่งออกไปแสดงผลการทำงานรับและส่งทวนสัญญาณได้ ตัวอย่างติ๊กถูกไว้หมายถึงใช้งานด้วย RTS คือกำหนดขา Request to send เมื่อเชื่อมต่อกับ CPU ที่ทำงานช้ากว่า ตัวอย่างไม่ได้ถูกใช้งาน DIGI Delay คือค่าสุ่มหน่วงเวลาการทวนของสถานีดิจิ ตัวอย่างกำหนดไว้ที่ 2.5วินาที หมายถึง เมื่อได้รับแพ็จเก็จมามันจะสุ่มเวลา 1-2.5วินาทีแล้วหน่วงเวลาไว้ก่อนส่งออกอากาศ ป้องกันสถานีดิจิส่งพร้อมกันในเวลาเดียวกัน ลดคีย์ชนกันกลางอากาศของสถานีดิจิ กล่าวคือถ้ามีสถานีดิจิในพื้นที่มากควรตั้งไว้สูง ๆ ถ้าไม่มีเลย กำหนดเป็น NONE คือไม่ต้องหน่วงเวลาก็ได้ TX Delay คือค่าแฟลกซ์เปิดสัญญาณ วิทยุบางตัว SQL เปิดช้าหรือวิทยุบางตัวเปิดโหมด SAVE RX ไว้ทำให้ในช่วง 1-3วินาทีแรกอาจยังไม่ทันรับ จึงต้องหน่วงเวลาด้วยการส่งแฟลกซ์นี้ซ้ำ ๆ ออกไปก่อน ในตัวอย่างกำหนดไว้ที่ 80ตัวอักษร ยิ่งตัวอักษรมากค่าหน่วงนี้จะยิ่งนาน การตั้งค่าตามข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้คำสั่งบนเทอร์มินอลได้ดังนี้ โค๊ด: TNC=OFF (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Thumb_Digi.jpg) (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Thumb_MicCable.jpg) ทดสอบการใช้งาน โดยให้ทดสอบการส่งแพ็จเก็จให้ดิจิรับดู จะเห็นไฟสีเหลืองติดสว่าง แล้วไฟสีแดงจะติดสว่างตามลำดับ แสดงว่ามีการรับข้อมูลมาประมวลผลเส้นทาง แล้วทวนข้อมูลออกสู่อากาศกลับ จากนั้นจะนำ nTNC-Thumb ไปใช้เป็นดิจิได้โดยการนำไปเสียบกับแหล่งจ่ายไฟเช่นเพาว์เวอร์แบงค์ที่ใช้กับโทรศัพท์ หรืออแดปเตอร์แปลงไฟจากที่จุดบุหรีในรถยนต์เป็นต้น หัวข้อ: Re: nTNC-Thumb รีวิวและการประยุกต์ใช้งาน เริ่มหัวข้อโดย: HS5TQA ที่ 07 มีนาคม 2014, 01:52:56 การใช้งาน nTNC-Thumb กับโปรแกรมบนวินโดว์
บนคอมพิวเตอร์วินโดว์นั้น มีหลากโปรแกรมใช้งาน APRS แต่ที่ได้รับความนิยมถึงปัจจุบันคือโปรแกรม AGW และ UI-VIEW ในที่นี้เราจะกล่าวถึง AGW ก่อน จากที่โปรแกรม AGW นั้นออกพัฒนาจนมีความหลากหลาย การเชื่อมต่อกับ TNC จึงได้ถูกออกแบบให้ต้องมีตัวเชื่อมต่อคั่นกลางทำหน้าที่เฉพาะเพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะเรียกกว่า AGWPE หรือ AGW Packet Engine โปรแกรมนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ที่เป็น TNC กับตัวโปรแกรมแสดงผลใช้งานต่าง ๆ ที่ต้องลิ้งค์ผ่านมันอีกที เช่นเราจะใช้โปรแกรม AGWTracker ก็จะได้รูปแบบการเชื่อมต่อโปรแกรม TNC->AGWPE->INTERNET->AGWTracker จะเห็นว่าผู้พัฒนาโปรแกรม AGWTracker หรือ UI-VIEW ก็ไม่จำเป็นต้องไปทำงานเรื่องเชื่อมต่อพอร์ตฮาร์ดแวร์ แต่สามารถลิงค์ข้อมูลผ่าน AGWPE ได้ แถมมันยังสามารถลิงค์ได้ในระยะไกลได้ด้วย เช่น เรามีวิทยุ+TNC อยู่ที่บ้าน แต่เราอยากเล่น APRS ในที่ทำงานแต่ต้องการสัญญาณวิทยุที่บ้าน เป็นต้น ก็จะสามารถลิงค์ข้อมูลจากที่บ้านมายังที่ทำงาน เสมือนนั่งเล่นวิทยุอยู่ที่บ้าน (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwpe_logo.png) การติดตั้ง AGW Packet Engine เบื้องต้น เกริ่นมานานเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ขั้นตอนแรกเราจะใช้โปรแกรม AGWPE เพื่อมาเชื่อมต่อกับ nTNC-Thumb ก่อน กำหนดให้ทำงานในแบบ KISS โหมด ตัวโปรแกรมดาวน์โหลดจากเว็บไซต์หลักได้ที่ http://www.sv2agw.com/downloads/default.htm หรือลิงค์โดยตรงสำหรับตัวใช้งานฟรีที่ http://www.sv2agw.com/downloads/agwpe.zip เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วทำการแตกไฟล์ไว้ในไดฟ์ที่ต้องการ ไม่ต้องติดตั้ง เปิดขึ้นมาใช้งานได้ทันที (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwpe_file.png) เมื่อเปิดโปรแกรม AGW Packet Engine.exe ขึ้นมาแล้ว จะแสดงโลโก้สักพัก โปรแกรมจะย่อเป็นไอคอนในทากส์บาร์ ไปคลิ๊กขวา เลือก Properties เพื่อกำหนดค่า TNC (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwpe_icon.png) เมื่อหน้าต่าง RadioPort Selection ขึ้นมาแล้วให้กดปุ่ม New Port เพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อกับ nTNC (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwpe_newport.png) ในหน้าต่าง Properties for Port1 ขึ้นมาใหม่ ให้กำหนดค่าต่าง ๆ โดยในส่วน Select Port นั้นต้องตั้งค่าให้ตรงกับ Device Manager ที่พบตำแหน่งพอร์ต ส่วนความเร็ว BaudRate ค่าปกติจะอยู่ที่ 9600 แต่หากเปลี่ยนความเร็วให้ nTNC ไปแล้วก็ให้เลือกตามที่ท่านกำหนดใหม่ได้เอง ส่วนค่าอื่น ๆ กำหนดตามภาพประกอบ จากนั้นกดปุ่ม OK ซึ่งมันจะขึ้นเตือนว่าให้เรารีสตาร์ท AGWPE อีกครั้ง โดยการคลิ๊กขวาที่ไอคอนในทากส์บาร์แล้วเลือก Exit จากนั้นให้ไปกดรันไฟล์ AGW Packet Engine.exe ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwpe_properties.png) เมื่อรันโปรแกรมมาใหม่อีกครั้ง จะเห็นไอคอนรูปโมเด็มเพิ่มขึ้นมา เมื่อเอาเมาท์ไปชี้ ก็จะเห็นข้อมูลรายงานสถานะการทำงาน ว่าอยู่พอร์ตไหน(COM3) ชื่อพอร์ตอะไร(nTNC-Thumb) และมี้ข้อมูการรับส่งกี่เฟรมข้อมูล (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwpe_icon2.png) เมื่อตั้งค่าให้ TNC เสร็จแล้วต่อไปเราก็จะไปตั้งค่าการเชื่อมต่อลิงค์ออกไปยังโปรแกรมอื่น ๆ ทั้งนี้โปรแกรมอื่น ๆ ที่จะเอามาเล่น ก็สามารถใช้งานได้พร้อม ๆ กันโดยใช้ TNC เพียงตัวเดียวนี้ได้ นั่นหมายความว่าท่านสามารถเล่นเป็น ไอเกต ดิจิ แทรกเกอร์ มอนิเตอร์ ฯลฯ ไปได้พร้อม ๆ กันในหลาย ๆ โปรแกรมนั่นเอง และทำได้หลายสถานีในหลายโหมดโดยใช้ TNC+วิทยุ เพียงชุดเดียวนี้เท่านั้น เอาละให้ท่านไปกำหนดเปิดใช้งานลิงค์ข้อมูลผ่าน TCP/IP โดยคลิ๊กไอคอน AGWPE โดยเลือก Setup Interface (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwpe_icon.png) เมื่อขึ้นหน้าต่าง WinSock&HTTP Interface Setup โดยในแท็บ WinSock Interface ให้กำหนดดังภาพประกอบ แล้วกด OK (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwpe_winsock.png) การติดตั้งโปรแกรมลิงค์กับ nTNC-Thumb ก็จบเพียงเท่านี้ ต่อไปเราก็จะเอาโปรแกรมใช้งานต่าง ๆ มาเชื่อมต่อใช้งานกันต่อไป การเปิดใช้งานโปรแกรม AGWTracker เบื้องต้น ดาวน์โหลดโปรแกรมได้โดยตรงที่ http://www.sv2agw.com/downloads/AGWTracker.zip เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา ให้ไปที่เมนู Tools คลิ๊กไอคอน Setup (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwtracker_setup.png) จะขึ้นหน้าต่างใหม่ Easy AGWTracker Setup จากนั้นให้กำหนดค่าตามมันไปเรื่อย ๆ กำหนดตามเรียกขาน ไอคอนสัญลักษณ์ (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwtracker_wizard1.png) กำหนดตำแหน่ง APRS (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwtracker_wizard2.png) กำหนดในส่วนของเซิร์ฟเวอร์ APRS-IS (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwtracker_wizard3.png) เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วก็พร้อมเล่นกันได้แล้วละ โดยคลิ๊กในแท็บ Actions ให้กดปุ่ม Connect to Packet Engine (ต้องเปิดโปรแกรม AGWPE เตรียมไว้ก่อนแล้ว) จากนั้นก็รอรับข้อมูลดู จากตัวอย่างทดสอบยิงข้อมูลจากวิทยุเข้าไปดู (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwtracker_station.png) เมื่อต้องการแสดงข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตด้วย ก็ให้กดปุ่ม Connect To APRS Server ซึ่งมันอาจจะถามอีกครั้ง ก็เลือกเซิร์ฟเวอร์หรือใส่เข้าไปเองได้เลย (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwtracker_server.png) โปรแกรม AGWTracker นั้นสามารถเล่นได้หลายโหมดเช่น รับส่งข้อความ ส่งเบคอน แสดงผลสถานี ฯลฯ เป็นต้น (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/agwtracker_monitor.png) การติดตั้ง UI-View32 ร่วมกับ AGWPE เบื้องต้น ดาวน์โหลดตัวโปรแกรม UI-VIEW32 ได้ที่ลิงค์ http://www.ui-view.org โปรแกรมนี้แจกใช้ฟรี แต่ต้องลงทะเบียนที่ http://www.apritch.myby.co.uk/uiv32_uiview32.php?lang=english เมื่อทำการติดตั้งและเปิดโปรแกรมขึ้นมา ให้ไปที่เมนู Setup-> Comms Setup (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/uiview_menu.png) จะได้หน้าต่าง Comms Setup ขึ้นมา เมื่อเราได้ทำ AGWPE ไปแล้วก็ง่ายต่อการเชื่อมต่อกับ TNC แล้ว โดยเลือก Host mode เป็น AGWPE และค่าใน Setup ก็ใช้ค่าเดิมที่เราได้ตั้งไว้ใน AGWPE เป็นค่าปกติอยู่แล้ว ง่าย ๆ เลยใช่ไหม ? (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/uiview_comsetup.png) (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/uiview_agwpesetup.png) เมื่อกดปุ่ม OK ออกมา จะได้แสดงหน้าต่างว่า มันกำลังเชื่อมต่อไปยัง AGWPE แค่นี้เอง จบละ... (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/uiview_agwpeport.png) ในภาพตัวอย่างนี้ รถผมมันยิงออกมาพอดี รับมาได้ก็แสดงผลบนแผนที่และข้อมูลแบบ UI เฟรมด้านล่าง (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/uiview.png) การเล่นเพิ่มเติมในด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะหาแผนที่ประเทศไทยมาลง กำหนดเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ ทำเป็น Inet->Rf หรือ RF->Inet ทำงานเป็นดิจิ ไอเกต ต่าง ๆ นา ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีทั้งภาคภาษาไทยและอังกฤษ ขอให้สนุกครับ หัวข้อ: Re: nTNC-Thumb รีวิวและการประยุกต์ใช้งาน เริ่มหัวข้อโดย: HS5TQA ที่ 07 มีนาคม 2014, 01:53:59 การใช้งาน nTNC-Thumb กับ TP-Link MR3020
เดิมนั้น เราต้องแกะต้องแงะกล่องเร้าเตอร์ เพื่อที่จะตัดต่อบัคกรีประกอบ TNC ลงไป ทำให้ยุ่งยากในการดัดแปลงแก้ไข ด้วย MR3020 มีช่องพอร์ต USB อยู่แล้ว จึงไม่ยากเลยที่จะนำเอา nTNC-Thumb มาเสียบภายนอกโดยมิต้องแก้ไขดัดแปลงตัวเร้าเตอร์เลย จึงง่ายต่อการใช้งาน และยังสามารถถอดเอาไปใช้งานอื่น ๆ ได้ง่ายอีกด้วย (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Thumb_TPL_Radio.jpg) การติดตั้งและใช้งานเฟิร์มแวร์ การติดตั้งเฟิร์มแวร์ OpenWRT นั้น อ่านวิธีทำได้ในลิงค์ http://aprs.nakhonthai.net/forum/index.php?topic=16.0 การซ่อมหรือติดตั้งโดยตรง อ่านวิธีทำได้ในลิงค์ http://aprs.nakhonthai.net/forum/index.php?topic=18.0 การติดตั้งและใช้งานนั้น จะเหมือนกับนำเอา nTNC-Module มาใช้งานภายใน คงต่างตรงส่วนที่ตำแหน่งพอร์ตใช้งาน nTNC เท่านั้น การเชื่อมต่อภายในเดิมจะใช้พอร์ต /dev/ttyATH0 สำหรับ nTNC-Thumb เมื่อเสียบกับตัวเร้าเตอร์โดยตรง มักจะอยู่ในพอร์ต /dev/ttyUSB0 ถ้ามีการต่อฮับเพิ่ม หมายเลขพอร์ตจะเปลี่ยนไป การตั้งค่า nTNC-Thumb การกำหนดค่าให้ nTNC-Thumb นั้นคงทำเช่นเดิมจากคำสั่ง picocom -cb 9600 /dev/ttyUSB0 (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Thumb_TPL1.jpg)(http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Thumb_TPL2.jpg) หมายเหตุ การใช้งาน nTNC-Thumb ไม่เหมาะการใช้งานแบบถาวร อันเนื่องมาจากจุดเชื่อมต่อ USB อาจมีข้อผิดพลาดและการเชื่อมต่อพอร์ต USB อาจเกิดบัคติดขั้น จนกระทั่งตัวชิพ USB TO SERIAL นั้นกินไฟเพิ่ม เมื่อเทียบกับเอา nTNC-Module บัคกรีเชื่อมต่อเข้าไปภายในโดยตรง จะทำงานได้เสถียรกว่า หัวข้อ: Re: nTNC-Thumb รีวิวและการประยุกต์ใช้งาน เริ่มหัวข้อโดย: HS5TQA ที่ 07 มีนาคม 2014, 01:54:39 การใช้งาน nTNC-Thumb กับ Raspberry Pi
ในรุ่น nTNC-RaspberryPi นั้น ได้ทำเป็นบอร์ดที่เสียบลงไปในซ๊อกเก็ตของตัวราสเบอร์รี่พายโดยตรง ซึ่งการนำเอา nTNC-Thumb ไปใช้งานบนราสเบอร์รี่พายนั้น ก็ไม่ได้ต่างจากเดิมสักเท่าไหร่ เพียงย้ายพอร์ตเชื่อมต่อไปยังพอร์ต USB เท่านั้น ซึ่งก็ง่ายต่อการโยกย้ายไปใช้งานในอุปกรณ์ต่างชนิดได้มากกว่า (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Thumb_Rpi.jpg) การติดตั้งและใช้งานเฟิร์มแวร์ การติดตั้งเฟิร์มแวร์และการใช้งานอ่านได้ในรีวิวราสเบอร์รี่พายที่ลิงค์ http://aprs.nakhonthai.net/forum/index.php?topic=11.0 การติดตั้งและใช้งานนั้น จะเหมือนกับนำเอา nTNC-RaspberryPi มาใช้งานภายใน คงต่างตรงส่วนที่ตำแหน่งพอร์ตใช้งาน เท่านั้น การเชื่อมต่อภายในเดิมจะใช้พอร์ต /dev/ttyAMA0 สำหรับ nTNC-Thumb เมื่อเสียบกับตัวเร้าเตอร์โดยตรง มักจะอยู่ในพอร์ต /dev/ttyUSB0 ถ้ามีการต่อฮับเพิ่ม หมายเลขพอร์ตจะเปลี่ยนไป การตั้งค่า nTNC-Thumb การกำหนดค่าให้ nTNC-Thumb นั้นคงทำเช่นเดิมจากคำสั่ง picocom -cb 9600 /dev/ttyUSB0 (http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Thumb_Rpi1.jpg)(http://aprs.nakhonthai.net/images/picpost/nTNC_Thumb_Rpi2.jpg) หมายเหตุ การใช้งาน nTNC-Thumb ไม่เหมาะการใช้งานแบบถาวร อันเนื่องมาจากจุดเชื่อมต่อ USB อาจมีข้อผิดพลาดและการเชื่อมต่อพอร์ต USB อาจเกิดบัคติดขั้น จนกระทั่งตัวชิพ USB TO SERIAL นั้นกินไฟเพิ่ม เมื่อเทียบกับเอา nTNC-Module บัคกรีเชื่อมต่อเข้าไปภายในโดยตรง จะทำงานได้เสถียรกว่า หัวข้อ: Re: nTNC-Thumb รีวิวและการประยุกต์ใช้งาน เริ่มหัวข้อโดย: HS5TQA ที่ 07 มีนาคม 2014, 01:56:26 รหัสสินค้า [APRS010]
ชื่อสินค้า nTNC-Thumb V1 (ประกอบสำเร็จพร้อมใช้งาน) ประกอบด้วย -nTNC-Thumb 1ตัว -แจ็คโทรศัพท์ 3.5mm 4ชั้น 1ตัว ราคา 850บาท (พร้อมส่ง EMS ฟรี!) (http://aprs.nakhonthai.net/mkportal/modules/gallery/album/a_32.jpg) หัวข้อ: Re: nTNC-Thumb รีวิวและการประยุกต์ใช้งาน เริ่มหัวข้อโดย: samila ที่ 13 มีนาคม 2014, 15:40:42 ผลิตของเล่นใหม่มายั่วน้ำลายอีกแล้วนะท่าน HS5TQA
ของเก่ายังไม่ได้เล่นที..(ไม่ค่อยจะว่าง).. หัวข้อ: Re: nTNC-Thumb รีวิวและการประยุกต์ใช้งาน เริ่มหัวข้อโดย: HS5TQA ที่ 13 มีนาคม 2014, 18:18:24 ผลิตของเล่นใหม่มายั่วน้ำลายอีกแล้วนะท่าน HS5TQA แหม..ท่าน ใกล้จะปิดเทอมใหญ่แล้วคงจะว่างนะครับ ส่วนผมคงเผ่นขึ้นเหนืออีกละของเก่ายังไม่ได้เล่นที..(ไม่ค่อยจะว่าง).. ของเล่นใหม่นี่แบบว่า รอคนอื่นทำออกมาไม่ทันใจนะครับ เลยต้องทำเองแบบสำเร็จพร้อมใช้มาสักที ที่เตรียม ๆ ไว้เดี๋ยวตามมาอีกเยอะเลยละครับ ทั้งแทร็คเกอร์ มอนิเตอร์ ดาต้าล๊อกเกอร์ ฯลฯ นี่ผมก็รอ SABTrack อยู่ มาเกริ่น ๆ แล้วเงียบไปเลย ว่าจะทำแข่งแล้วเนี๊ยะ ฮ่า ๆ อ้อ..ท่านอยู่สายไฟฟ้า เอาไว้ผมจะมาปรึกษาเรื่องการวัดพลังงานไฟ้ฟ้านะครับ มีโครงการทำ APRS มาวัดพลังงานไฟ้าในบ้านแบบ Home Automation System อยู่ครับ ตอนนี้เลยสั่งเจ้านี่มาทดสอบก่อนราคาถูกแล้ววัดได้เยอะเลย (สมัยก่อนก็นั่งทำอยู่เหมือนกัน เล่นเอาเหงื่อตกไปเป็นปี) เจอจีนทำมาขายหงายท้องเลยครับ (http://upic.me/i/aa/ut8gz49xgldxxagofbxi.jpg) (http://upic.me/show/50082799) หัวข้อ: Re: nTNC-Thumb รีวิวและการประยุกต์ใช้งาน เริ่มหัวข้อโดย: supichan ที่ 13 มีนาคม 2014, 21:20:34 :o ของใหม่มาเพียบเลย...
SABTrack ไม่ไหวแล้วคร๊าบบบ ขอสละสิทธิ์ ..... ไอ่ตอนอยากทำก็อย๊าก ย๊าก อยาก... พอทำแล้วไม่ไหวทั้งเวลาและความเอาใจใส่ครับ สงสัยต่อไปจะเป็นแนวทำเองใช้เองน่ะครับ ผมถนัดออกไอเดีย แต่พอทำจริงๆ มันต้องใช้ความรู้และทักษะมากผมทำไม่ไหว และถ้าต้องทำจำนวนมากๆนี่ ไม่ไหวจริงๆเลย เพราะว่าดันไปสนใจอย่างอื่นบ้างเรื่อยเปื่อยเลย ไม่มีเวลาเอาใจใส่เท่าที่ควร ที่ทำนี้ ก็กัดฟัน ทำให้ครบตามของที่สั่งมาเตรียมไว้ (5ชุด) พอทำเสร็จ ยังทำใจแบ่งให้เพื่อนๆไปใช้ไม่ได้ เพราะคู่มือก็ยังไม่ได้ทำ เหมือนกับว่า ทำเองเล่นเป็นเองคนเดียว... :( (http://upic.me/i/7o/dscf7456_.jpg) (http://upic.me/show/50085656) หัวข้อ: Re: nTNC-Thumb รีวิวและการประยุกต์ใช้งาน เริ่มหัวข้อโดย: sattaya ที่ 13 มีนาคม 2014, 21:29:49 ของเล่นใหม่มาให้เสียตังค์อีกแล้ว ช่วยดันครับ ของดีๆน่าสนับสนุน
หัวข้อ: Re: nTNC-Thumb รีวิวและการประยุกต์ใช้งาน เริ่มหัวข้อโดย: Familyman ที่ 13 มีนาคม 2014, 22:32:34 น่าสนครับ
หัวข้อ: Re: nTNC-Thumb รีวิวและการประยุกต์ใช้งาน เริ่มหัวข้อโดย: nay01 ที่ 15 มีนาคม 2014, 00:59:17 มอนิเตอร์ ดาต้าล๊อกเกอร์ ใช้งานได้ไหนบ้างครับ ยกตัวอย่างหน่อยครับ Webmaster Earn Money! By Affiliate Program 100% Pay www.samuismile.com |