หัวข้อ: อยากทราบ หน้าที่ของสายชีลด์ ในสายนำสัญญาณ และวิธีการต่อกับขั้ว เริ่มหัวข้อโดย: OmniSci ที่ 12 กันยายน 2012, 21:36:22 แกนกลาง เป็นตัวนำสัญญาน จากสายอากาศ ในกรณีของ 8 D-FB
1. สายชีลด์ shield หมายถึง การป้องกันการรบกวน ใช่ไหม? ที่หุ้มล้อมรอบ ฉนวน และแกนกลาง จากเครื่องส่งถึงสายอากาศ 2. แล้ว ตะกั่วฟลอยด์ มีหน้าที่อะไร ฉีกทิ้งเลยได้ไหม? 3. สายชีลด์ จำเป็นต้องบัดกรีไหม เพราะส่วนใหญ่ ขั้วมันก็สัมผัสกับชีลด์แน่นหนาอยู่แล้ว หัวข้อ: Re: อยากทราบ หน้าที่ของสายชีลด์ ในสายนำสัญญาณ และวิธีการต่อกับขั้ว เริ่มหัวข้อโดย: hs3oxx ที่ 12 กันยายน 2012, 21:37:56 ท่านผู้รู้ตอบด้วยครับ
หัวข้อ: Re: อยากทราบ หน้าที่ของสายชีลด์ ในสายนำสัญญาณ และวิธีการต่อกับขั้ว เริ่มหัวข้อโดย: viruts ที่ 12 กันยายน 2012, 21:40:07 รอผู้รู้แบ่งปันด้วยครับ
หัวข้อ: Re: อยากทราบ หน้าที่ของสายชีลด์ ในสายนำสัญญาณ และวิธีการต่อกับขั้ว เริ่มหัวข้อโดย: birdte ที่ 12 กันยายน 2012, 21:54:57 แกนกลาง เป็นตัวนำสัญญาน จากสายอากาศ ในกรณีของ 8 D-FB
1. สายชีลด์ shield หมายถึง การป้องกันการรบกวน ใช่ไหม? ที่หุ้มล้อมรอบ ฉนวน และแกนกลาง จากเครื่องส่งถึงสายอากาศ แม่นแล้ว 2. แล้ว ตะกั่วฟลอยด์ มีหน้าที่อะไร ฉีกทิ้งเลยได้ไหม? มันคือชีลด์ shield อีกชั้นหนึ่ง ช่วยหุ้มชิลที่เป็นลวดอีกที มีประโยชน์ตอนพลาสติกหุ้มสายขาด มันช่วยหุ้ม ตอนสายงอทำให้ลวดเปิดช่องว่าง มันก็ทำหน้าที่ชิล 3. สายชีลด์ จำเป็นต้องบัดกรีไหม เพราะส่วนใหญ่ ขั้วมันก็สัมผัสกับชีลด์แน่นหนาอยู่แล้ว ถ้าจะให้ไฟฟ้าเดินได้ดีก็ควรบัดกรี ป้องกันการหลวมหลุด แต่ส่วนใหญ่บัดกรีไม่ติดหัว ต้องใช้หัวแร้งรุ่นกำลังสูงๆหน่อย หัวข้อ: Re: อยากทราบ หน้าที่ของสายชีลด์ ในสายนำสัญญาณ และวิธีการต่อกับขั้ว เริ่มหัวข้อโดย: OmniSci ที่ 12 กันยายน 2012, 22:23:49 ขอบคุณครับ
แล้วกรณีฟลอยด์ จำเป็นต้องบัดกรีรวมกับ ชีลด์ไหม ชีลด์กับแกนกลาง เป็นเหมือน +/- หรือเปล่า คือชีลด์ ที่ป้องกันสัญญาณรบกวน ต้องต่อ ลงกราวน์ ของระบบไหม หรือ ไม่เกี่ยวกัน ในกรณีนี้ ผมเคยเห็นบางระบบ (ที่ไม่ใช่ VR) เขาทิ้งปลายด้านหนึ่งของชีลด์ ไว้เลย ไม่ต้องไปต่อกับอะไร (ด้านหนึ่ง) การที่มันหุ้มไว้ก็ทำหน้าที่ของมันแล้วหรือ ขออภัย ที่ถามซอกแซก เพราะความคิดผม มักเอาเรื่องของสายนำสัญญาณ มาปนกับระบบวงจรไฟฟ้า ที่ต้องมี กระแสไฟ วิ่งเป็นวงจร ซึ่งจริงๆ น่าจะไม่ใช่ คือระะบบนำสัญญาณจากคลื่นวิทยุ แกนกลาง น่าจะเพียงพอต่อหน้าที่หลัก แล้ว ชิลด์เป็นแค่ตัวช่วย ที่อาจไม่มีในบางสถานการณ์ก็ได้ ก็จะกลับไปสู่คำถามที่ถามไว้ก่อนหน้า ว่า ไม่ต้องบัดกรี แค่หนีบไว้กับขั้วได้ไหม หัวข้อ: Re: อยากทราบ หน้าที่ของสายชีลด์ ในสายนำสัญญาณ และวิธีการต่อกับขั้ว เริ่มหัวข้อโดย: 7aaw ที่ 12 กันยายน 2012, 23:26:40 ทั้ง อินเนอร์ (แกนกลาง) และ ชิลด์ ทั้งสอง ประกอบกัน เพื่อให้ได้ ค่าอิมพีแดนช์ เฉพาะตัวด้วย คือ 50 โอมห์ ซึ่งมีผล ต่อ ระบบ เสาอากาศ
การ ลอก ชิลด์ ออก ทำให้ค่าอิมพีแดนช์ เปลี่ยนไปด้วย การลอกออก ควรคำนึงถึงด้วยว่า ลอกแค่ไหน เท่าไหร่ การบัดกรี จึง ควรต้อง ให้เนียบที่สุด เพื่อ ค่าอิมพีแดนช์ของสายเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด เพื่อระบบของ เสาอากาศที่ดี เมื่อ ติดตั้ง ขั้วต่อ สายอากาศอย่างถูกต้องและ เหมาะสมแล้ว การลงกราวด์ของระบบ ก็ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว ;D ;D ;D หัวข้อ: Re: อยากทราบ หน้าที่ของสายชีลด์ ในสายนำสัญญาณ และวิธีการต่อกับขั้ว เริ่มหัวข้อโดย: birdte ที่ 13 กันยายน 2012, 02:49:48 การต่อชิลเข้ากับขั้วต่อ แล้วนำไปต่อเข้ากับวิทยุ นั่นก็คือการต่อลงกราวด์ของระบบแล้ว ไม่เชื่อลองเอามิเตอร์วัดดู หัวคอนเน็กเตอร์ของวิทยุขอบนอกนั้นคือกราวด์ หรือไฟ 0V ไม่ใช่ไฟ - นะครับ หรือพูดง่ายๆคือชิลมันต่อกับขั้ว - ของแบตเตอรี่แล้ว การนำสัญญาณใช่แค่อินเนอร์ไม่ได้ ท่านต้องมองว่าลวดเส้นเดียวที่ต่อออกจากเครื่องส่งมันคืออะไร มันคือสายอากาศนั้นเอง ดังนั้นถ้าไม่มีชิล สายนำสัญญาณของเราก็จะไม่นำสัญญาณแต่จะแพร่กระจายสัญญาณแทน ชิลในระบบวิทยุจึงเป็นกราวด์ที่บอกกับสัญญาณไว้ว่าในสายนี้ถ้ามีชิลอยู่ห้ามแพร่กระจายสัญญาณจนกว่าจะหมดชิล ซึ่งก็คือถึงสายอากาศนั่นเอง ให้มองง่ายว่าชิลคือ กัน ไม่ให้เข้าและไม่ให้ออกด้วย ส่วนค่าความห่างระหว่างตัวนำ(อินเนอร์)กับชิลก็มีผลต่อความถี่ ไม่ขออธิบายเชิงลึกละกันครับ คือสรุปมันจะทำให้เกิดค่าอิมพีแดนซ์ที่ 50 โอห์ม เท่ากับของวิทยุ ซึ่งก็คือที่เราเรียกว่า สายมันแมต ส่วนการที่มีชีลแต่ไม่ได้ต่อเข้ากับกราวด์ หรือสัญญาณได้สัญญาณหนึ่ง มันก็ทำหน้าที่เป็นแค่วัสดุที่หุ้มอินเนอร์อยู่เท่านั้น แต่มันอาจมีผลต่อการนำไปประยุคใช้อื่นๆเช่นทำฟิวเตอร์ Webmaster Earn Money! By Affiliate Program 100% Pay www.samuismile.com |