HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND

HAMSIAM TECHNOLOGY => พูดคุยทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: แฮมโคราชา ที่ 22 สิงหาคม 2012, 15:14:41



หัวข้อ: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: แฮมโคราชา ที่ 22 สิงหาคม 2012, 15:14:41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7471/2551

.......จำเลยกระทำความผิดฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้นำเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ติดตั้งในยานพาหนะซึ่งใช้การได้ไปติดตั้งไว้ภายในบ้านโดยเปิดสัญญาณไว้สำหรับฟังข้อความจากผู้ใช้วิทยุสื่อสาร แม้จำเลยจะเป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนของอำเภอบางระกำ แต่จำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและไม่ได้รับยกเว้นใดๆ ตามกฎหมาย......... “สถานีวิทยุคมนาคม” หมายความว่า ที่ส่งวิทยุคมนาคม ที่รับวิทยุคมนาคม หรือที่ส่งและรับวิทยุคมนาคม และคำว่า “วิทยุคมนาคม” หมายความว่า การส่งหรือการรับเครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียงหรือการอื่นใดซึ่งสามารถเข้าใจความหมายได้ด้วยคลื่นแฮรตเซียน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยติดตั้งไว้สามารถรับฟังข้อความจากผู้ใช้วิทยุสื่อสารได้ การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 แล้ว.......

ปล. พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2522
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
..
"หน่วยอาสาสมัคร" หมายความว่า หน่วยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย พลเรือน
....
 "พนักงานป้องกันภัย" หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้อำนวยการป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือนแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
....
 ;D  ;D  ;D


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: HS_5_FKR ที่ 22 สิงหาคม 2012, 15:26:06
ถ้าตามนี้รถอาสาผิดกันเพียบเลย


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: pro ที่ 22 สิงหาคม 2012, 15:43:43
แล้วผลยังไงครับ  บอกไม่หมด


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: HS4YQG ที่ 22 สิงหาคม 2012, 15:45:25
สำหรับอาสาสมัครต้องผ่านการอบรมก่อนครับแล้วไปขอใบรับรองในอบรมเพื่อนำไปขออนุญาติในการมีหรือติดตั้งสถานีวิทยุครับ

หรือใช้เครื่องมือสื่อสารในราชการที่เค้าอนุญาตให้ใช้ตามนั้นๆ แต่ซื้อเครื่องเองแต่เวลามีปัญหาทางราชการจะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น



หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ 23 สิงหาคม 2012, 11:42:52
ทำอย่างไรก็ได้ให้ผิดกฏหมายให้น้อยที่สุดหรือไม่ให้ผิดเลย คนที่ผ่านการอบรมเกี่ยวกับวิทยุสื่อสารมาย่อมเป็นคนที่มีความรู้

มากกว่าปกติ ดังนั้นโทษที่ได้รับต้องมากกว่าคนปกติ เหมือนกับ ราชการทำผิดศาลจะลงโทษมากกว่า ปชช. 3 เท่า อิอิ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: TaMzNaKul3 ที่ 23 สิงหาคม 2012, 11:47:56
เอาเสาโมบายลง ใช้แฮนดี้คุยในรถ ปวดหัวตาย เห้อถ้ามันลำบากขนาดนี้ (เลิกเป็นดีกว่ามั้งเรา)


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: iayyai ที่ 23 สิงหาคม 2012, 12:08:41
เอาเ้ข้าจริงๆ เครื่องดำที่ใช้งานอาสา แทบจะผิดทั้งหมดเลยมั้ง  ยกเว้น อปพร ที่ผ่านการอบรมสังเคราะห์ความถี่ เท่านั้นหรือเปล่า ที่ซื้อเครื่องใช้งานแล้วรอด 

ส่วนวิธีแก้ขัดส่วนใหญ่ที่เห็นอาสาแถวบ้านทำกัน คือไปอบรมนักวิทยุ แล้ว เอาวิทยุมาเปิดแบนด์ แล้วเข้าใจว่ารอด อันนั้นถ้าเอากันจริงๆก็ไม่น่าจะรอด ไม่รู้ว่าผมเข้าใจผิดหรือเปล่า

เป็นนักวิทยุ แต่เปิดแบนด์
เครื่องวิทยุที่ซื้อมามี ปท. ถูกต้อง แต่ก็เป็น ปท.วิทยุสมัครเล่น
ตั้งสถานีไม่ว่าในรถ ในบ้าน ก็ขออนุญาต ในกิจการวิทยุสมัครเล่น


ก็เห็นจะมีความถี่ cb 27 78 245 422 ทรั้งค์ ที่เป็นทางออก

แต่ศูนย์กู้ภัยอย่าง กรุงเทพ กับพระนคร ก็ไม่ได้ออกอากาศในย่านเหล่านี้ ยกเว้น กู้ชีพหรือกู้ภัยบางแห่งที่ออกอากาศในย่าน 245


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: hs1efd ที่ 23 สิงหาคม 2012, 12:20:54
อะลุ่มอะหล่วยคือทางออกครับ ไม่ใช่กร่าง
แล้วผมเชื่อว่า ถ้าไม่กร่าง เจ้าหน้าที่ท่านก็ไม่อยากจะกำจัดหรอกครับ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: mixer49 ที่ 23 สิงหาคม 2012, 12:32:10
ถูกต้องครับ.หากท่านเข้ามาในวงการอาสาสมัครจากความรู้สึกก้นบึ้งของหัวใจจริงๆ ไม่ได้เข้ามาเป็นอาสาฯ เพื่อต่อยอด หรือเพื่อการใดการหนึ่ง
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เขาไม่มายุ่ง ไม่มาวุ่นวายกับท่านหรอกครับ มีแต่เห็นดีเห็นงามเสียอีกที่จะได้มีผู้ช่วย แต่ที่เป็นคดีความหรือเป็นเรื่องอยู่ทุกวันนี้
ก็เพราะการวางตัวที่ไม่เหมาะสมของคนบางคน ที่เรียกตัวเองว่าอาสาฯ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: แฮมโคราชา ที่ 23 สิงหาคม 2012, 12:43:11
แล้วผลยังไงครับ  บอกไม่หมด

ครับ ผมยกบางส่วนมาให้ดูว่า เวลาคนที่ใช้วิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาตถูกจับกุมดำเนินคดี และถูกส่งตัวฟ้องศาล
ศาลท่านจะลงความเห็นว่าผิดอย่างไร  ;D
คดีนี้จำเลยถูกแจ้งข้อหา มีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ครอบครองไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาต มียาบ้าในครอบครอง และมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต

รายละเอียดลองไปศึกษาจากฎีกาดูนะครับ
http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/search.jsp
ใส่เลขคำพิพากษา แล้วค้นหาได้เลย

ในความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 จำเลยรับสารภาพ และถูกศาลชั้นต้นพิพากษาดังนี้
....ฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตปรับ 2,000 บาท ฐานใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตปรับ 2,000 บาท รวมจำคุก 30 ปี 9 เดือนและปรับ 10,000 บาท....

ศาลอุธรณ์ แก้เป็น
.....ความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทแต่ละบทมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ปรับ6,000 บาท....

ศาลฎีกา ยกคำร้องในความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ให้ลงโทษจำเลยตามที่ศาลอุธรณ์ตัดสิน


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: goblinknight ที่ 23 สิงหาคม 2012, 12:46:09
เครื่องที่ระบุใช้ในส่วนราชการอื่น แต่เอามาใช้งานกู้ภัย(ย่าน16X)ก็ผิดกฎหมายอยู่ดีครับ

อบรมวิทยุสมัครเล่น แต่มาใช้งานย่านอื่น ก็ผิด

 แล้วหลายๆท่าน ก็มองว่าการขออนุญาตอย่างถูกต้องมันยุ่งยาก แต่จะบอกว่า ถึงจะยุ่งยากแต่ก็ต้องทำครับ เพื่อความเป็นระบบ ระเบียบ เป็นมาตรฐาน

ทำให้ถูก ทำทีเดียวครับ ช้าหน่อย ยุ่งหน่อย แต่คุ้มค่า

ที่สำคัญ อย่ากร่าง ตามที่ท่านข้างบนบอก เข้าร้านอาหาร ไม่ต้องเปิด ว.เสียงดังหรอกครับ
มีแล้วก็ไม่ต้องอวด คนหมั่นไส้เยอะ




หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: HS4VNY ที่ 23 สิงหาคม 2012, 12:54:17
ขอบคุณข้อมูลข่าวสารครับ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: iayyai ที่ 23 สิงหาคม 2012, 12:59:51
เครื่องที่ระบุใช้ในส่วนราชการอื่น แต่เอามาใช้งานกู้ภัย(ย่าน16X)ก็ผิดกฎหมายอยู่ดีครับ

อบรมวิทยุสมัครเล่น แต่มาใช้งานย่านอื่น ก็ผิด

 แล้วหลายๆท่าน ก็มองว่าการขออนุญาตอย่างถูกต้องมันยุ่งยาก แต่จะบอกว่า ถึงจะยุ่งยากแต่ก็ต้องทำครับ เพื่อความเป็นระบบ ระเบียบ เป็นมาตรฐาน

ทำให้ถูก ทำทีเดียวครับ ช้าหน่อย ยุ่งหน่อย แต่คุ้มค่า

ที่สำคัญ อย่ากร่าง ตามที่ท่านข้างบนบอก เข้าร้านอาหาร ไม่ต้องเปิด ว.เสียงดังหรอกครับ
มีแล้วก็ไม่ต้องอวด คนหมั่นไส้เยอะ



เห็นด้วยครับ บางทีเปิดซะดัง กลัวคนไม่รู้ว่าำำำพก ว.


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ 23 สิงหาคม 2012, 13:11:35
ถูกต้องครับ.หากท่านเข้ามาในวงการอาสาสมัครจากความรู้สึกก้นบึ้งของหัวใจจริงๆ ไม่ได้เข้ามาเป็นอาสาฯ เพื่อต่อยอด หรือเพื่อการใดการหนึ่ง
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เขาไม่มายุ่ง ไม่มาวุ่นวายกับท่านหรอกครับ มีแต่เห็นดีเห็นงามเสียอีกที่จะได้มีผู้ช่วย แต่ที่เป็นคดีความหรือเป็นเรื่องอยู่ทุกวันนี้
ก็เพราะการวางตัวที่ไม่เหมาะสมของคนบางคน ที่เรียกตัวเองว่าอาสาฯ

+1 ครับ ที่โดนส่วนมากคือพวกที่ อ๊อฟไซน์ น่ะ อิอิ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ 23 สิงหาคม 2012, 13:15:53
แล้วผลยังไงครับ  บอกไม่หมด

ครับ ผมยกบางส่วนมาให้ดูว่า เวลาคนที่ใช้วิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาตถูกจับกุมดำเนินคดี และถูกส่งตัวฟ้องศาล
ศาลท่านจะลงความเห็นว่าผิดอย่างไร  ;D
คดีนี้จำเลยถูกแจ้งข้อหา มีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ครอบครองไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาต มียาบ้าในครอบครอง และมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต

รายละเอียดลองไปศึกษาจากฎีกาดูนะครับ
http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/search.jsp
ใส่เลขคำพิพากษา แล้วค้นหาได้เลย

ในความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 จำเลยรับสารภาพ และถูกศาลชั้นต้นพิพากษาดังนี้
....ฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตปรับ 2,000 บาท ฐานใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตปรับ 2,000 บาท รวมจำคุก 30 ปี 9 เดือนและปรับ 10,000 บาท....

ศาลอุธรณ์ แก้เป็น
.....ความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทแต่ละบทมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ปรับ6,000 บาท....

ศาลฎีกา ยกคำร้องในความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ให้ลงโทษจำเลยตามที่ศาลอุธรณ์ตัดสิน

รอลงอาญา ความผิด วิทยุ แต่ความผิดอื่น รอ...ชาติหน้าสิ  ;D ;D


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: HS 3 UEW ที่ 23 สิงหาคม 2012, 13:25:02
ทำทุกอย่างให้มันถูกต้องก็ไม่ต้องพะวงอะไร แต่ทุกวันนี้ผมเห็นชื้อขายวิทยุกัน คำถามที่ฮิตที่สุด ติดเจหรือเปล่า เปิดแบนด์ได้มั้ย ทั้งๆที่รุ็ว่าผิดแต่ตูก็จะทำ ทั้งๆที่ตัวไม่ได้มีส่วนอะไรกับสัง

เคราะความถี่ ถ้าถูกกฎหมายทุกอย่างไม่ต้องกลัวจะเปิดดังก็เปิดไปเถอะ ไม่มีใครว่าตำรวจไม่จับ แต่จะโดนประชาชีเค้าหมั่นใส้เอา


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: popz_civic ที่ 23 สิงหาคม 2012, 13:27:56
การทำความดี ทำยาก มีต้นทุน...แต่...การทำชั่ว ทำง่าย ต้นทุนต่ำ บ้านเมืองถึงได้เป็นอย่างนี้ไงละ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: HS2 XGM ที่ 23 สิงหาคม 2012, 13:30:48
ขอบคุณเจ้าของกระทู้ทีให้ความรู้แก่เพื่อนสมาชิกครับ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ao_love044 ที่ 23 สิงหาคม 2012, 13:39:15
ถูกต้องครับ.หากท่านเข้ามาในวงการอาสาสมัครจากความรู้สึกก้นบึ้งของหัวใจจริงๆ ไม่ได้เข้ามาเป็นอาสาฯ เพื่อต่อยอด หรือเพื่อการใดการหนึ่ง
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เขาไม่มายุ่ง ไม่มาวุ่นวายกับท่านหรอกครับ มีแต่เห็นดีเห็นงามเสียอีกที่จะได้มีผู้ช่วย แต่ที่เป็นคดีความหรือเป็นเรื่องอยู่ทุกวันนี้
ก็เพราะการวางตัวที่ไม่เหมาะสมของคนบางคน ที่เรียกตัวเองว่าอาสาฯ

+1 ครับ ที่โดนส่วนมากคือพวกที่ อ๊อฟไซน์ น่ะ อิอิ
  ++เลยครับ ส่วนตัวผมเป็นอาสาฯมา10กว่าปี รถผมมี5เครื่อง(+1ไว้ใช่นอกรถ) กำลังส่งเกินมาตราฐานทั้งนั้น ไม่กร่างไม่ทำตัวเหนือกฏฯก็ไม่เคยมีอะไรเลยครับ รถก็ใช่ขึ้นเหนือล่องใต้ตลอดครับ  :)


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: phakim24 ที่ 23 สิงหาคม 2012, 13:55:45
ผมในฐานะข้าราชการท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการใช้วิทยุสื่อสารของข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างในสังกัด รวมถึง อปพร. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตพื้นที่ ที่ขอร่วมใช้ข่ายสื่อสาร ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นดังนี้นะครับ
   ๑.อปพร. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ส่วนใหญ่ รวมถึงข้าราชการบางคน  เข้าใจผิดคิดว่าตัวเองมีหน้าที่ตำแหน่งแล้วสามารถใช้วิทยุสื่อสารได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างร้ายแรง
   ๒.นักวิทยุสมัครเล่น บางคน คิดว่าตัวเองสามารถใช้ความถี่วิทยุร่วมกับข่ายราชการได้ โดยใช้ใบอนุญาตที่ได้รับมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่กรณีถูกตรวจค้น ซึ่งก็เป็นความเข้าใจที่ผิดร้ายแรงเช่นเดียวกัน

    ซึ่งการที่จะสามารถใช้เครื่องวิทยุราชการได้นั้น ต้องผ่านการอบรมการใช้วิทยุสังเคราะห์ความถี่เสียก่อน แล้วจึงมาขออนุญาตเข้าร่วมข่ายสื่อสารต่อหัวหน้าหน่วยงานราชการ เช่น เทศบาล หัวหน้าหน่วยงานก็คือนายกฯเทศบาลนั้นๆ  เมื่อหัวหน้าหน่วยงานอนุญาตให้ใช้แล้วจึงจะสามารถใช้ความถี่ได้ แต่ต้องเป็นความถี่ของหน่วยงานที่อนุญาตแล้วเท่านั้น จะไปใช้ความถี่ของหน่วยงานราชการอื่นไม่ได้ เช่น ตำรวจ ทหาร อำเภอ ไฟฟ้า หรือโรงพยาบาลเป็นต้น และที่สำคัญอย่าเข้าใจผิดว่าเมื่อได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่แล้ว จะใช้วิทยุอะไร ก็ได้ นั้นไม่ถูกต้องนะครับ  ต้องใช้วิทยุราชการของหน่วยงานนั้นๆซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำเรื่องขอยืมให้  แต่กรณีที่ท่านจะใช้วิทยุส่วนตัว ต้องทำเรื่องขออนุญาตหน่วยงานเพื่อขอใช้เครื่องวิทยุสื่อสารอีกครั้งหนึ่ง เมื่อหัวหน้าหน่วยงานอนุญาตแล้ว จึงจะสามารถไปหาซื้อวิทยุสังเคราะห์ความถี่ประเภทสอง ที่อนุญาตให้ใช้ในราชการ (ไม่ใช้เครื่องวิทยุสมัครเล่น หรือเครื่องวิทยุอื่นๆที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในราชการ) เสร็จแล้วจึงจะสามารถไปขอใบอนุญาตใช้เครื่องวิทยุสื่อสารราชการ กับ กสทช.  ย้ำนะครับ ว่า กสทช.โดยตรงเท่านั้น  สำนักงาน กสทช.เขต ไม่มีสิทธิ์ออกใบอนุญาตใช้เครื่องวิทยุราชการได้   สำหรับข้าราชการ เสียค่าใช้จ่าย ในการขอใบอนุญาตใช้เครื่อง ๑๐๗ บาทครับ ส่วน อปพร.กำนัน ผญบ. สมาชิกสภาท้องถิ่น ไม่แน่ใจว่ากี่บาทเพราะไม่เคยยื่นเรื่องให้ ส่วนใหญ่ให้ยื่มเครื่องของหน่วยงานใช้
    ขอแสดงความคิดเห็นแค่นี้นะครับ ขอบคุณครับ  


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: peerapat ที่ 23 สิงหาคม 2012, 14:08:45
อ่านไว้ รอไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: gakar ที่ 23 สิงหาคม 2012, 14:13:48
ผมก็อยากจะไปอบรมการใช้วิทยุสังเคราะห์ความถี่ราชการ ไม่ทราบว่ามีที่ไหนเปิดบ้างครับ ;)


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: สายน้ำ ที่ 23 สิงหาคม 2012, 14:30:16
ผมก็อยากจะไปอบรมการใช้วิทยุสังเคราะห์ความถี่ราชการ ไม่ทราบว่ามีที่ไหนเปิดบ้างครับ ;)

ป้อหลวงจะเอาประเภท2กาครับได้กะ..ข่วงประตู๋ท่าแพยาวไปถึงพาณิชน้ามคือครับเพียบ  ::) ::)

ครับ การจะทำให้ถูกกฏหมาย100%มันยากมากแต่ควรพยายามถึงที่สุดแต่ในช่วงที่ยังไม่พร้อมก็ขอใช้ให้เกิดประโยชน์

ต่อสังคม อย่ากร่าง/อย่าออฟไซน์/อย่าให้ชาวบ้านเดือดร้อน/อย่าทำผิดกฏหมายอื่นๆเพิ่มเข้าไปอีก ผมเชื่อว่าดุลพินิจ

ของ จนท. ตร.หรือที่เกี่ยวข้อง เขาคงดูออกว่า อาสาจริง หรือ อาห่า ครับ หลายๆท่านเป็นอาสาเป็น10 ปีก็ยังอยู่ดีมีสุข

แต่บางคนไม่ทันข้ามปีก็โดน ทั้งวิทยุ/ปืน/ยา อันนี้แหละคือ ไอห่า ครับ  ;D ;D


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ham.new ที่ 23 สิงหาคม 2012, 14:32:17
ถ้าเราจะใช้เครื่องส่วนตัวต้องเป็น ปท.ราชการเท่านั้นไหมครับ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: phakim24 ที่ 23 สิงหาคม 2012, 15:28:23
ถ้าเราจะใช้เครื่องส่วนตัวต้องเป็น ปท.ราชการเท่านั้นไหมครับ
ถูกต้องครับต้องเป็น ปท. หรือ NTC ID ของเครื่องวิทยุสังเคราะห์ความถี่ ที่ กสทช.อนุญาตให้ใช้ในราชการเท่านั้นครับ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: Mr_been ที่ 23 สิงหาคม 2012, 15:33:03
ผมในฐานะข้าราชการท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการใช้วิทยุสื่อสารของข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างในสังกัด รวมถึง อปพร. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตพื้นที่ ที่ขอร่วมใช้ข่ายสื่อสาร ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นดังนี้นะครับ
   ๑.อปพร. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ส่วนใหญ่ รวมถึงข้าราชการบางคน  เข้าใจผิดคิดว่าตัวเองมีหน้าที่ตำแหน่งแล้วสามารถใช้วิทยุสื่อสารได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างร้ายแรง
   ๒.นักวิทยุสมัครเล่น บางคน คิดว่าตัวเองสามารถใช้ความถี่วิทยุร่วมกับข่ายราชการได้ โดยใช้ใบอนุญาตที่ได้รับมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่กรณีถูกตรวจค้น ซึ่งก็เป็นความเข้าใจที่ผิดร้ายแรงเช่นเดียวกัน

    ซึ่งการที่จะสามารถใช้เครื่องวิทยุราชการได้นั้น ต้องผ่านการอบรมการใช้วิทยุสังเคราะห์ความถี่เสียก่อน แล้วจึงมาขออนุญาตเข้าร่วมข่ายสื่อสารต่อหัวหน้าหน่วยงานราชการ เช่น เทศบาล หัวหน้าหน่วยงานก็คือนายกฯเทศบาลนั้นๆ  เมื่อหัวหน้าหน่วยงานอนุญาตให้ใช้แล้วจึงจะสามารถใช้ความถี่ได้ แต่ต้องเป็นความถี่ของหน่วยงานที่อนุญาตแล้วเท่านั้น จะไปใช้ความถี่ของหน่วยงานราชการอื่นไม่ได้ เช่น ตำรวจ ทหาร อำเภอ ไฟฟ้า หรือโรงพยาบาลเป็นต้น และที่สำคัญอย่าเข้าใจผิดว่าเมื่อได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่แล้ว จะใช้วิทยุอะไร ก็ได้ นั้นไม่ถูกต้องนะครับ  ต้องใช้วิทยุราชการของหน่วยงานนั้นๆซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำเรื่องขอยืมให้  แต่กรณีที่ท่านจะใช้วิทยุส่วนตัว ต้องทำเรื่องขออนุญาตหน่วยงานเพื่อขอใช้เครื่องวิทยุสื่อสารอีกครั้งหนึ่ง เมื่อหัวหน้าหน่วยงานอนุญาตแล้ว จึงจะสามารถไปหาซื้อวิทยุสังเคราะห์ความถี่ประเภทสอง ที่อนุญาตให้ใช้ในราชการ (ไม่ใช้เครื่องวิทยุสมัครเล่น หรือเครื่องวิทยุอื่นๆที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในราชการ) เสร็จแล้วจึงจะสามารถไปขอใบอนุญาตใช้เครื่องวิทยุสื่อสารราชการ กับ กสทช.  ย้ำนะครับ ว่า กสทช.โดยตรงเท่านั้น  สำนักงาน กสทช.เขต ไม่มีสิทธิ์ออกใบอนุญาตใช้เครื่องวิทยุราชการได้   สำหรับข้าราชการ เสียค่าใช้จ่าย ในการขอใบอนุญาตใช้เครื่อง ๑๐๗ บาทครับ ส่วน อปพร.กำนัน ผญบ. สมาชิกสภาท้องถิ่น ไม่แน่ใจว่ากี่บาทเพราะไม่เคยยื่นเรื่องให้ ส่วนใหญ่ให้ยื่มเครื่องของหน่วยงานใช้
    ขอแสดงความคิดเห็นแค่นี้นะครับ ขอบคุณครับ 

ตามที่พี่ว่ามาเลย หลักการ 3 ค 1. คนใช้ 2.เครื่อง 3.ความถี่


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: phakim24 ที่ 23 สิงหาคม 2012, 15:36:32
ผมก็อยากจะไปอบรมการใช้วิทยุสังเคราะห์ความถี่ราชการ ไม่ทราบว่ามีที่ไหนเปิดบ้างครับ ;)
ส่วนใหญ่ จะเป็นหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ปภ.จังหวัดครับ นอกจากนั้นไม่ทราบครับ  แต่หากท่านเป็นข้าราชการ หรือพนักงาน ลูกจ้างของรัฐ สามารถให้หัวหน้าหน่วยงานท่าน ทำเรื่องขอรับการฝึกอบรมกับทาง กสทช.เขต ได้ครับ แต่ค่าใช้จ่ายต่างๆหน่วยงานท่านต้องจ่ายเองทั้งหมด


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: chinakrit ที่ 23 สิงหาคม 2012, 15:38:29
ผมก็อยากจะไปอบรมการใช้วิทยุสังเคราะห์ความถี่ราชการ ไม่ทราบว่ามีที่ไหนเปิดบ้างครับ ;)
มีหลายที่ครับ ลองเช็คกับเพื่อนสมาชิกดูครับ ผมเองก็เพิ่งอบรมมาครับ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: phakim24 ที่ 23 สิงหาคม 2012, 16:32:14
ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ขออีกเล็กน้อยนะครับเพื่อให้เข้ากับหัวข้อกระทู้ (สำหรับท่านผู้เสียสละรับใช้สังคม หรือ อาสาทั้งหลาย ที่โดนตำรวจจับ ข้อหาหมั่นไส้ ทั้งที่ท่านอุทิศชีวิตเพื่อสังคมมาโดยตลอด)กรณีนี้ขอให้ท่านรีบแจ้ง กสทช.โดยด่วน เพื่อให้กระบวนการคดีเสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยไม่ต้องนำคดีสู่ศาล เมื่อเจ้าพนักงานฯ มาถึง ขอให้ท่านรับสารภาพความผิด(กรณีผิดจริง) และให้ความร่วมมือกับทางเจ้าพนักงานฯด้วยดี เพื่อที่จะได้ทำการเปรียบเทียบปรับ โดยท่านผู้เสียสละต้องจ่ายค่าปรับภายใน ๑๕ วัน ตามกฎหมายผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับคือ กสทช.หรือเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตที่ กสทช.แต่งตั้ง ผลการเปรียบเทียบปรับสิทธิการฟ้องคดีเป็นอันละงับไป (หมายถึงจ่ายค่าปรับเป็นอันจบ ไม่ต้องขึ้นศาล) ขอย้ำว่าตำรวจไม่มีสิทธิ์ปรับท่านผู้เสียสละทั้งหลายนะครับ แต่มีสิทธิ์ส่งตัวท่านฟ้องศาล  ก็อยู่ที่ท่านผู้เสียสละ ล่ะครับหากโดนกรณีแบบนี้จะหาหนทางพ้นคุกอย่างไร อย่าลืมนะครับว่า ผู้ใด ทำ  มี  ใช้  นำเข้า นำออก หรือค้า เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท จำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งจำทั้งปรับ  ผมว่าผู้เสียสละทั้งหลายอย่าเสี่ยงเลยดีกว่า ควรลดเวลาช่วยเหลือสังคมลงบ้างเพื่อไปดำเนินการขออนุญาตใช้วิทยุสื่อสารให้ถูกต้องตามกฎหมายจะดีกว่านะครับ
    ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: E27BPB ที่ 24 สิงหาคม 2012, 22:04:25
แล้วผลยังไงครับ  บอกไม่หมด

ครับ ผมยกบางส่วนมาให้ดูว่า เวลาคนที่ใช้วิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาตถูกจับกุมดำเนินคดี และถูกส่งตัวฟ้องศาล
ศาลท่านจะลงความเห็นว่าผิดอย่างไร  ;D
คดีนี้จำเลยถูกแจ้งข้อหา มีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ครอบครองไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาต มียาบ้าในครอบครอง และมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต

รายละเอียดลองไปศึกษาจากฎีกาดูนะครับ
http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/search.jsp
ใส่เลขคำพิพากษา แล้วค้นหาได้เลย

ในความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 จำเลยรับสารภาพ และถูกศาลชั้นต้นพิพากษาดังนี้
....ฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตปรับ 2,000 บาท ฐานใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตปรับ 2,000 บาท รวมจำคุก 30 ปี 9 เดือนและปรับ 10,000 บาท....

ศาลอุธรณ์ แก้เป็น
.....ความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทแต่ละบทมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ปรับ6,000 บาท....

ศาลฎีกา ยกคำร้องในความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ให้ลงโทษจำเลยตามที่ศาลอุธรณ์ตัดสิน
ตกลง ฎีกายกหรือยืนตามอุธรณ์ครับ ความผิดตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม อ่านแล้วงง


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ao_love044 ที่ 24 สิงหาคม 2012, 22:21:19
ไม่ได้ออกว.4ก็ไม่ต้องพก ชุดนอกชุดอยู่บ้านขาสั้นไม่ต้องใช่ ไม่กร่าง ไม่ซ่า ไม่สร้างความเดือดร้อน ใช่ความถี่เท่าที่จำเป็น ไม่มีช่องกูช่องมึง ก็คงไม่มีปัญหานะครับ  :D


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: HS6YKL ที่ 24 สิงหาคม 2012, 22:29:40
เสียวหลังเลยครับ ช่วยเหลือผู้คน ไม่ได้ระรานใคร ไม่ได้ทำใครเดือดร้อน แต่เครื่องและสถานียังไม่ถูกต้องตามกฏครับ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: DAN.2517 ที่ 24 สิงหาคม 2012, 22:43:33
เอาแบบผมใหมครับ ออกนอกบ้านพกเครื่องแดงอย่างเดียว (เอกสารเราครบ) เครื่องอื่นๆเก็บไว้บ้านใช้ตอนออก ว4 เท่านั้น (เพราะมันเปิดแบรนด์หมดเลย แถมไม่มีเอกสารอีกด้วย  ;D)


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: แฮมโคราชา ที่ 24 สิงหาคม 2012, 22:44:24
แล้วผลยังไงครับ  บอกไม่หมด

ครับ ผมยกบางส่วนมาให้ดูว่า เวลาคนที่ใช้วิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาตถูกจับกุมดำเนินคดี และถูกส่งตัวฟ้องศาล
ศาลท่านจะลงความเห็นว่าผิดอย่างไร  ;D
คดีนี้จำเลยถูกแจ้งข้อหา มีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ครอบครองไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาต มียาบ้าในครอบครอง และมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต

รายละเอียดลองไปศึกษาจากฎีกาดูนะครับ
http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/search.jsp
ใส่เลขคำพิพากษา แล้วค้นหาได้เลย

ในความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 จำเลยรับสารภาพ และถูกศาลชั้นต้นพิพากษาดังนี้
....ฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตปรับ 2,000 บาท ฐานใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตปรับ 2,000 บาท รวมจำคุก 30 ปี 9 เดือนและปรับ 10,000 บาท....

ศาลอุธรณ์ แก้เป็น
.....ความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทแต่ละบทมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ปรับ6,000 บาท....

ศาลฎีกา ยกคำร้องในความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ให้ลงโทษจำเลยตามที่ศาลอุธรณ์ตัดสิน
ตกลง ฎีกายกหรือยืนตามอุธรณ์ครับ ความผิดตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม อ่านแล้วงง

ผมอาจจะใช้คำผิดนิดนึง
ความผิด พรบ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498  ศาลฎีกาตัดสินยืนตามอุทธรณ์ครับ
จำเลยในคดีนี้ ยื่นอุทธรณ์ และยื่นฎีกา ในทุกประเด็นข้อหาครับ
มาดูฎีกาในส่วนของความผิด พรบ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 นะครับ

จำเลยฎีกา

         ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในปัญหาว่า จำเลยกระทำความผิดฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้นำเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ติดตั้งในยานพาหนะซึ่งใช้การได้ไปติดตั้งไว้ภายในบ้านโดยเปิดสัญญาณไว้สำหรับฟังข้อความจากผู้ใช้วิทยุสื่อสาร แม้จำเลยจะเป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนของอำเภอบางระกำ แต่จำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและไม่ได้รับยกเว้นใดๆ ตามกฎหมาย เห็นว่า แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ไว้ในคำขอท้ายคำฟ้องแต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องและได้ระบุมาตรา 23 อันเป็นบทกำหนดโทษของมาตรา 11 ไว้ในคำขอท้ายคำฟ้องแล้ว คำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมพ.ศ.2498 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต และบทนิยามในมาตรา 4 ให้ความหมายคำว่า “สถานีวิทยุคมนาคม” หมายความว่า ที่ส่งวิทยุคมนาคม ที่รับวิทยุคมนาคม หรือที่ส่งและรับวิทยุคมนาคม และคำว่า “วิทยุคมนาคม” หมายความว่า การส่งหรือการรับเครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียงหรือการอื่นใดซึ่งสามารถเข้าใจความหมายได้ด้วยคลื่นแฮรตเซียน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยติดตั้งไว้สามารถรับฟังข้อความจากผู้ใช้วิทยุสื่อสารได้ การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 แล้ว การต้องใช้คลื่นความถี่เท่าใดเป็นข้อกำหนดสำหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานที่วิทยุคมนาคมในการใช้คลื่นความถี่ให้ถูกต้อง หาจำต้องเป็นการตั้งสถานีเครื่องรับส่งในระยะความถี่ไม่น้อยกว่า 25 วัตต์ มีขีดความสามารถรับส่งได้ในระยะทางไม่น้อยกว่า 25 กิโลเมตร หรือต้องเป็นการติดต่อหรือประกาศแจ้งออกไปสู่บุคคล องค์กร หรือต่อประชาชนในการประกาศข่าวสาร ส่งหรือรับข่าวสารข้อความใดๆ ได้ชัดเจนดังที่จำเลยฎีกาไม่ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: tugthawung ที่ 24 สิงหาคม 2012, 23:07:02
พรบ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
ปีนี้ 2555 ไม่มีใครช่วยแก้
;D


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: HS_5_FKR ที่ 27 สิงหาคม 2012, 14:22:49
ชาตินี้จะมีโอกาศเห็นทะเบียนวิทยุที่ถูกต้องของเหล่าอาสาอย่างเราๆมั่งนะแบบทะเบียนราชการไรเงี้ย
ไม่รวมเครื่องแดงนะครับอยากให้มีเครื่องที่มีทะเบียนสำหรับอาสาอย่างเราๆท่านๆจริงๆแต่คงได้แค่ฝัน


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: SAT.EQE ที่ 27 สิงหาคม 2012, 21:47:12
คดีนี้ถูกจับที่บ้านใช่หรือเปล่าครับ
 แล้วทำไมถึงโดนจับ จนท.ผ่านมาเห็นสายอากาศแล้วออกหมายจับได้เลยหรือเปล่า ต้นเหตุอย่างรู้ครับ
จะได้เป็นแนวทางในการใช้งานวิทยุ
 อาสาสมัคร คือ ผู้มาช่วยเหลือโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน หรือก็คือ ผู้ปิดทองหลังพระ นั้นเอง


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: _Food_ ที่ 27 สิงหาคม 2012, 21:57:14
มันก็คงจะต้องเป็นอย่างงั้นละครับ หน่วยงานไหนไม่มีใบอนุญาตก็ต้องผิดกฎหมายอยู่ดีไม่ควรได้รับการยกเว้นครับ ไม่อย่างงั้นเดี๋ยวจะเป็นว่า2มาตฐานอีกแหละ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: MR.BOY ที่ 27 สิงหาคม 2012, 22:23:18
ต้องยกความถี่ใหม่ เช่น 27  78  245  422   MHz  มาใช้ในกิจการกู้ภัย น่าจะเป็นทางออกเดียวที่น่าง่ายที่สุด เพราะเครื่องดำมีข้อจำกัดมากมายตามมา ถึงแม้จะสอบเป็นวีอาร์แต่เปิดแบนด์ก็ผิดกฎหมาย หากโดนตรวจสอบก็โดนอยู่ดี ปัจจุบันหน่วยกู้ภัยหลายหน่วย ย้ายมาประสานเครื่องแดง 245 MHz กันเยอะ แม้กระทั่งการจับกุม สารวัตร กสทช.ก็ได้แจ้งให้มาใช้ความถี่ย่านประชาชน

เพราะ ความถี่ 27  78  245   422   MHz เป็นความถี่ประชาชน ไม่ต้องสอบ ซื้อเครื่องใช้งานได้เลย มีใบถูกต้อง

27 MHz  ยังไ่ม่อนุญาตให้ตั้งสถานี  มีใบอนุญาตใช้ถูกต้อง  ปัจจุบันมีคนใช้น้อย
78 MHz อนุญาตให้ตั้งสถานี  มีใบอนุญาตใช้ถูกต้อง ปัจจุบัน เริ่มมีคนใช้งาน หรือเฉพาะกลุ่ม
245 MHz อนุญาตให้ตั้งสถานี  มีใบอนุญาตใช้ถูกต้อง ปัจจุบัน คนใช้เยอะทั่วประเทศ
422 MHz ยังไ่ม่อนุญาตให้ตั้งสถานี  มีใบอนุญาตใช้ถูกต้อง ปัจจุบัน แทบไม่มีคนใช้งานหรือน้อยมากๆ


เพราะสรุปสุดท้าย คนโดนจับมิใช่ศูนย์ คือลูกข่ายที่ทำงานเพื่อสังคม ที่ใช้งานวิทยุึสื่อสารด้วยความไม่เข้าใจถึงข้อกฎหมายที่ตามมา  เพราะ กฎหมาย วิทยุสื่อสาร เทียบเท่า อาวุธปืน นี่เอง


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: E20MLS ที่ 27 สิงหาคม 2012, 22:30:14
อ่านซะตาลาย อิอิอิ กฎหมายมีขีดบังคับ ปฎิบัติตามกฎไม่มีผิด งานอาสาผมยกให้เป็นหนึ่ง สู้ๆครับ อย่าถอย ในสังคมยังมีความพร่อง

หากมองข้าม จะมีผู้ใดเล่าค่อยช่วยกัน พลเมืองมีสิทธิตามชอบ ช่วยกันครับ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: eagle j733 ที่ 27 สิงหาคม 2012, 22:39:34
ใช้ๆไปเถอะครับ ไม่ไปกร่าง ออกนอกพื้นที่ก็ไม่ต้องพกไป อย่าไปคิดอะไรมากครับ บางทีกฎหมายกับความเป็นจริงก็สวนทางกันครับ เหมือนเมีย+แม่ตำรวจยังตั้งวงที่แฟลตเลย อิอิ..ผมพกทั้งเครื่องแดงเครื่องดำ ยังไม่ได้ไปจดทะเบียนซักกะเครื่อง วันก่อนไป แถวๆ เกาะเรียน อยุธยา มา โดนเจ้าถิ่นแถวนั้น แซวว่ารถใครว่ะติดเสาเยอะแยะมาจอดเกะกะหน้าร้าน แหม..ทีรถตัวเอง (นาวาร่า สีขาวๆ) ติดซะตั้งสามต้น ดีนะมีคนมอง ไม่งั้นสอยเสามาแล้ว  ;D


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: E20MLS ที่ 27 สิงหาคม 2012, 22:42:46
ใช้ๆไปเถอะครับ ไม่ไปกร่าง ออกนอกพื้นที่ก็ไม่ต้องพกไป อย่าไปคิดอะไรมากครับ บางทีกฎหมายกับความเป็นจริงก็สวนทางกันครับ เหมือนเมีย+แม่ตำรวจยังตั้งวงที่แฟลตเลย อิอิ..ผมพกทั้งเครื่องแดงเครื่องดำ ยังไม่ได้ไปจดทะเบียนซักกะเครื่อง วันก่อนไป แถวๆ เกาะเรียน อยุธยา มา โดนเจ้าถิ่นแถวนั้น แซวว่ารถใครว่ะติดเสาเยอะแยะมาจอดเกะกะหน้าร้าน แหม..ทีรถตัวเอง (นาวาร่า สีขาวๆ) ติดซะตั้งสามต้น ดีนะมีคนมอง ไม่งั้นสอยเสามาแล้ว  ;D

เจ้าอย่าได้หวัง มีระเบิดติดอยู่ เป็นไงล่ะหมวดแจ๊ก ลูกแดงเยอะจัง อิอิอิอิอิ  :P :P :P


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ao_love044 ที่ 11 กันยายน 2012, 11:50:28
อ่านซะตาลาย อิอิอิ กฎหมายมีขีดบังคับ ปฎิบัติตามกฎไม่มีผิด งานอาสาผมยกให้เป็นหนึ่ง สู้ๆครับ อย่าถอย ในสังคมยังมีความพร่อง

หากมองข้าม จะมีผู้ใดเล่าค่อยช่วยกัน พลเมืองมีสิทธิตามชอบ ช่วยกันครับ
  +1


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: hs3oxx ที่ 11 กันยายน 2012, 11:55:54
การจะทำความดีก็ต้องทำให้ถูกด้วยตามกฏหมายด้วยนะครับ  เพราะกฏหมายไม่ได้เขียนยกเว้นไว้  ฉะนั้น  เป็นอาสาก็โดนได้ดังนั้นควรติดตั้งสถานีให้เรียบร้อยจะดีที่สุดเพื่อกันเราไว้ด้วยครับ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: cz79 ที่ 11 กันยายน 2012, 12:36:25
ให้ขอความถี่จากกทช.หรือยุ่งยากก็ให้ทำการขอใช้ความถี่ร่วมที่เขามีอยู่แล้วยกตัวอย่างเช่นมูลนิถิร่วมกตัญญูส่วนวิทยุก็ขอนิรโทษกรรมจ่ายห้าร้อยกว่าบาทจะมีป้ายโลหะให้แล้วนำมาติดที่ตัววิทยุครับอันนี้ทำมาแล้วครับขออนุญาตกล่าวถึงที่ทำงานเดิมผมนะครับกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่5มีความถี่ที่ขออนุญาตแล้วซึ้งขณะขอเดิมกทช.เป็นกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ครับกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่7ก็ทำหนังสือขอใช้ความถี่ร่วมกับปตอ.พัน.5ส่วนวิทยุของกำลังพลก็ทำหนังสือถึงกรมไปรษณีย์ในขณะนั้นจ่ายไปคนละห้าร้อยกว่าบาทครับไได้ป้ายโลหะเล็กๆมาติดด้านข้างวิทยุครับก็ใช้มาถึงปัจจุบันครับ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ao_love044 ที่ 11 กันยายน 2012, 21:08:52
พรบ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
ปีนี้ 2555 ไม่มีใครช่วยแก้
;D
+1


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: rescue012 ที่ 12 กันยายน 2012, 08:25:01
หัวอกคนเคยโดนจับ  ผมเนี่ยโดนมาแล้ว
โดนไอ้โก๋ พนัส พามาจับ หาว่าไปป่วนช่องต่างๆ (ตอนนั้นเพิ่งเป็นอาสาใหม่ๆ)
สีบจังหวัดจับ ใช้เวลารอเขียนใบบันทึกจับกุม 2 ชั่วโมง
แจ้ง พบการครอบครอง ( ในเก๊ะลิ้นชัก) นำส่งร้อยเวร
ร้อยเวรเห็นหน้า  ปรับซะ100 ข้อหาไม่พกบัตร
ตอนนั้น   เสียดายตังค์แทบตาย
ตอนนี้ เหม็นขี้หน้าไอ้โก๋พนัส รีพีทเตอร์เถื่อนจริงๆ


หัวข้อ: Re: ทีนี้มาดูกันว่า แม้แต่อาสาสมัครที่มีกฎหมายรองรับ ก็ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: EMS_chonburi1669 ที่ 12 กันยายน 2012, 08:55:45
หัวอกคนเคยโดนจับ  ผมเนี่ยโดนมาแล้ว
โดนไอ้โก๋ พนัส พามาจับ หาว่าไปป่วนช่องต่างๆ (ตอนนั้นเพิ่งเป็นอาสาใหม่ๆ)
สีบจังหวัดจับ ใช้เวลารอเขียนใบบันทึกจับกุม 2 ชั่วโมง
แจ้ง พบการครอบครอง ( ในเก๊ะลิ้นชัก) นำส่งร้อยเวร
ร้อยเวรเห็นหน้า  ปรับซะ100 ข้อหาไม่พกบัตร
ตอนนั้น   เสียดายตังค์แทบตาย
ตอนนี้ เหม็นขี้หน้าไอ้โก๋พนัส รีพีทเตอร์เถื่อนจริงๆ

ขนาดนั้นเลยนะ ถึงเค้าจาเถื่อนแต่เค้าก้เข้าถึงระดับภาค-ระดับจังหวัดเลยนะพ่อหนุ่ม
อ่านมาทุกความเห็นในกระทู้นี้ครับ ผมว่าถึงคราวซวยยังไงก็ผิด ฉะนั้นทางที่ดีใช้ให้ถูกที่ถูกกาลเทศะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับพวกเราอาสาฯทั้งหลายครับ ทำด้วยใจ ใช้ไม่ได้กับนักรักษากฎหมายนะครับ ยังไงก็โดนจะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง
ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�
ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�


Webmaster Earn Money! By Affiliate Program 100% Pay
www.samuismile.com