HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND

HAMSIAM TECHNOLOGY => วิทยุสมัครเล่น (Amateur Radio) => ข้อความที่เริ่มโดย: umnad ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 20:57:48



หัวข้อ: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: umnad ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 20:57:48
พอดีได้ยินได้ฟังเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นทั้งรุ่นพี่ และรุ่นเดียวกัน ถกปัญหากันเกี่ยวกับช่องสะท้อนดวงจันทร์
อีกฝ่ายนึงก็บอกว่าสามารถใช้ได้และใช้มา 20 กว่าปีแล้ว ก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร อีกฝ่ายนึงก็บอกว่าตามแบรนด์
แพลน มันให้ใช้สำหรับสะท้อนดวงจันทร์ ไม่ได้มีไว้คุยกันตามปกติ ฝ่ายนึงบอกว่าตั้งเป็นกลุ่ม ในช่องนี้มาหลายสิบปี
มีทำเนียบรับรองด้วย ดังนั้นเขามีสิทธิใช้ได้กลุ่มเดียว ดังนั้นผมจึงสงสัยว่า มันใช้ได้ และใช้แบบถูกต้องจริงหรือไม่
และถ้า ใช้ไม่ได้และไม่ถูกต้อง ใครเป็นผู้ดูแลครับ กสทช หรือ กลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นต้องดูแลเอง
ด้วยความสงสัยมากๆครับ และถ้าใช้ได ผมสามารถชวนเพื่อนๆไปใช้คุยกันได้หรือไม่ครับ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: HS3JBX ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 21:12:38
    ที่เขาแจ้งมาก็ถูกต้องแล้วครับ เพราะจริงๆช่อง 1 ที่เริ่มให้ใช้เป็นช่องพูดคุยกันตามปกติคือ 144.075 ขึ้นไป
ช่องตั้งแต่ 144.000-144.075 เป็นช่องที่มีไว้สำหรับการส่งEMEทั่วโลก ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น
    และนักวิทยุสมัครเล่นทุกคน ควรศึกษาแบนด์แพลนที่กำหนดไว้ว่าช่องไหนใช้สนทนาได้ ช่องไหนเป็นช่อง
สำหรับกิจการรอง ช่องไหนเป็นช่องสำหรับCW ช่องไหนเป็นช่องสำหรับรีพีทเตอร์ จะได้ไม่ปล่อยไก่เวลามีผู้ทัก
ท้วง
    ไม่ได้ยินเสียง ไม่ได้หมายความว่าไม่มีคนใช้  เงียบที่บ้านเรา แต่อีกซีกโลกเขากำลังใช้งานโดยที่ท่านไม่รู้ว่า
สัญญาณไปรบกวนเขา ช่อง 145.900 ที่เราเคยใช้ติดต่อประสานงานด้านจราจรมาหลายปี ต้องยุติการออกอากาศ
ในช่องนั้น เพราะสาเหตุแห่งการรบกวน ไม่ใช่รบกวนใกล้ๆ แต่ข้ามฟากไปไกลถึงออสเตรเลียถึงอเมริกานู่น เพราะ
ในช่วงที่มีดาวเทียมบินผ่าน มันจะลิงค์สัญญาณไปอีกซีกโลกทันที
    และในดาวเทียมของNASA พนักงานวิทยุบนยานอวกาศเคยให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อยานบินมาเหนือประเทศไทย
เขาจะปิดวิทยุทันที เพื่อไม่ให้สัญญาณลิงค์ไปอีกซีกโลกหนึ่ง เพราะประเทศไทยมีคนใช้ความถี่ผิดแบนด์แพลน
    หากใครบอกว่าช่องนี้เป็นช่องEME ก็ต้องยุติการใช้งานทันที คนที่ไปยึดช่องนั้นเป็นของชมรมใดๆ ก็ควรจะขยับ
ขยายไปที่ช่องความถี่อื่นแทน เพราะผมได้ยินนักวิทยุต่างประเทศบ่นให้ฟังหลายคนแล้ว


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: pun191 ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 21:42:06
ขออนุญาตผมเป็นรุ่นใหม่ ตอนสอบก็ท่องกันว่าความถี่เท่าไร เป็นช่องอะไร รู้กันหมด แต่เวลาใช้งานก็น่าจะเว้นไว้นะ........


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: pa_ul ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 21:45:44
กระทาชายนายหนึ่ง เห็นมีที่เปล่ารกร้างอยู่ข้างบ้านซึ่งกำหนดเป็นทางฟลัดเวย์ แต่ไม่เคยเห็นน้ำท่วมซักที ก็เลยไปตั้งเพิงขายอาหาร มีโต๊ะให้ลูกค้านั่งดื่มกิน คนผ่านไปมาก็มานั่งกินกัน บางคนเห็นขายดี ก็เลยมาเปิดขายน้ำดื่มอยู่ข้างๆ กลายเป็นสังคมย่อยๆ บนที่เปล่ารกร้างนั้น ทำอย่างนี้มานานโข คนแถวๆนั้นรู้จักกันดี

ถามว่าจะอ้างได้มั้ยว่าเปิดค้าขายมานานแล้ว ชาวบ้านร้านตลาดรู้จักกันทุกคน จึงมีสิทธิ์เต็มในพื้นที่นั้น ทางการไม่สามารถใช้เป็นฟลัดเวย์ตามที่กำหนดไว้แต่แรกได้ เพราะได้มาตั้งโต๊ะเก้าอี้ทำการค้าขายแล้ว


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: ZERO. ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 21:48:35
พอดีได้ยินได้ฟังเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นทั้งรุ่นพี่ และรุ่นเดียวกัน ถกปัญหากันเกี่ยวกับช่องสะท้อนดวงจันทร์
อีกฝ่ายนึงก็บอกว่าสามารถใช้ได้และใช้มา 20 กว่าปีแล้ว ก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร อีกฝ่ายนึงก็บอกว่าตามแบรนด์
แพลน มันให้ใช้สำหรับสะท้อนดวงจันทร์ ไม่ได้มีไว้คุยกันตามปกติ ฝ่ายนึงบอกว่าตั้งเป็นกลุ่ม ในช่องนี้มาหลายสิบปี
มีทำเนียบรับรองด้วย ดังนั้นเขามีสิทธิใช้ได้กลุ่มเดียว ดังนั้นผมจึงสงสัยว่า มันใช้ได้ และใช้แบบถูกต้องจริงหรือไม่
และถ้า ใช้ไม่ได้และไม่ถูกต้อง ใครเป็นผู้ดูแลครับ กสทช หรือ กลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นต้องดูแลเอง
ด้วยความสงสัยมากๆครับ และถ้าใช้ได ผมสามารถชวนเพื่อนๆไปใช้คุยกันได้หรือไม่ครับ

            ไม่ต้องไปเชื่อพวกเค้าหรอกครับ พวกบ้านอำนาจ ไม่เคารพ กฎกติกาสังคม ที่ทั่วโลกเค้าเคารพกัน มันก็มีระเบียบบอกไว้อยู่แล้ว EME นั้น ในบ้านเราก็เคยมีคนทดลองออกอากาศครับ เพียงแต่มีน้อยไปหน่อย เพราะมีอะไรหลายๆอย่าง ที่ไม่ค่อยเอื้อกับการทดลองออกอากาศแบบนี้ เช่นเรื่องของกำลังส่ง สายอากาศ สถานที่ที่ออกอากาศ เป็นต้น


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: E27EK ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 23:06:50
ลองดู Band Plan ของอเมริกาสิ 
ช่วงต้นแบนด์ เขาเว้นไว้สำหรับ EME และสัญญาณอ่อน ๆ
144.000-144.200 เลย

(http://uploadpic.org/storage/2011/S1iqUakbQhpZoUOJbRpI0IaZK.png)

(หลายคนมีเครื่อง ssb /cw และมียากิ ถึงส่งไปไม่ถึง ก็น่าจะลองรับดู ยากิแผงเดียวเขาก็รับกันได้นะ)


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ใ
เริ่มหัวข้อโดย: E29WWT ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 23:18:04
 :)


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: hs2tei ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 23:23:51
เหตุเพราะคนส่วนใหญ่ที่ผ่านการอบรมและแจก

ยังไม่ทราบว่า " วิทยุสมัครเล่นมีมากกว่าที่คุณคิด "

มีกิจการอื่นในวิทยุสมัครเล่นนอกเหนือจากการนำมาใช้คุยเล่นอย่างเดียว

สะท้อนดวงจันทร์,สะท้อนหางดาวหาง,HF,CW,SSB,APRS,

บอลลูนวิทยุสมัครเล่น,ค้นหา fox, และอื่นๆมากมาย


หลายคนถูกสร้างมาจากการซื้อเครื่องแดงมาคุย พอแย่งช่องไม่ได้มีแต่คนจอง

ก็ถูกกลุ่มชมรมเกณฑ์มาสอบวิทยุสมัครเล่น เพื่อให้มีช่องใช้คุยได้โดยไม่มีใครมายึดมาจอง


หรืออีกกลุ่มมาจากอาสากู้ภัย ที่มาสอบเพื่อหวังจะได้ใบอนุญาตตั้งสถานีรถยนต์

และสถานีบ้านไว้คุ้มครองไม่ให้ถูกจับ


กลุ่มที่เป็นนักวิทยุสมัครเล่นโดยแท้ที่มีหัวใจ "ทดสอบทดลองเพื่อพัฒนาการสื่อสาร"

จึงเหลือน้อยมาก  ต้องช่วยกันให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อนๆกันเยอะเลยครับ :D


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: HS3XDB ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 23:30:33
มีอะไรให้คุยกันนักหนาครับท่านนักคุยสมัครเล่น ตอนสอบไม่ได้ศึกษากันเลยหรือ ว่าใช้ได้หรือไม่ได้  :-\
นักวิทยุสมัครเล่น (Amateur Radio) ต้องรู้ซิ ว่าอะไรได้หรือไม่ได้ สอบมาเพื่อจะคุยกันอย่างเดียวเลยเนอะ
ถึงจะคุยกันอย่างเดียวไม่สนใจโหมดอื่นแต่ก็ขอให้รู้ไว้หน่อยก็ดี ใช้ความถี่ให้มันถูก Band Plan ด้วยครับ
สักวันจะมีจดหมายจาก กสทช. ถึงบ้านท่าน


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: birdte ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 23:37:57
ลองเข้าไปดูครับ ถ้าคิดว่าใช้คุยได้แบบถูกต้อง
http://www.facebook.com/#!/media/set/?set=a.240341596050045.58919.100002226183730&type=3


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: HS3XHX ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 07:39:09
 ;D ;D ;D
เพิ่งรู้ว่ามีการใช้แบบนี้ด้วย  แวะมาหาความรู้ดีๆ ครับ ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: hs3vcp ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 08:00:18
พอดีได้ยินได้ฟังเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นทั้งรุ่นพี่ และรุ่นเดียวกัน ถกปัญหากันเกี่ยวกับช่องสะท้อนดวงจันทร์
อีกฝ่ายนึงก็บอกว่าสามารถใช้ได้และใช้มา 20 กว่าปีแล้ว ก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร อีกฝ่ายนึงก็บอกว่าตามแบรนด์
แพลน มันให้ใช้สำหรับสะท้อนดวงจันทร์ ไม่ได้มีไว้คุยกันตามปกติ ฝ่ายนึงบอกว่าตั้งเป็นกลุ่ม ในช่องนี้มาหลายสิบปี
มีทำเนียบรับรองด้วย ดังนั้นเขามีสิทธิใช้ได้กลุ่มเดียว ดังนั้นผมจึงสงสัยว่า มันใช้ได้ และใช้แบบถูกต้องจริงหรือไม่
และถ้า ใช้ไม่ได้และไม่ถูกต้อง ใครเป็นผู้ดูแลครับ กสทช หรือ กลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นต้องดูแลเอง
ด้วยความสงสัยมากๆครับ และถ้าใช้ได ผมสามารถชวนเพื่อนๆไปใช้คุยกันได้หรือไม่ครับ


ใครที่ใช้ความถี่ผิดแบนด์ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง แล้วยังอ้างข้างๆคูๆ ก็ปล่อยเขาไปเหอะครับ
บอกแล้วไม่ฟังก็ปล่อยให้ กสทช. ทำงานทำหน้าที่ไป
ส่วนเราที่ทราบและเข้าใจแล้ว ก็ใช้ให้ถูกต้อง ยังมีช่องความถี่อีกเยอะแยะ
อิอิ ว่างๆพี่ umnad ก็หันยากิมาทางชัยภูมิคุยกันก็ได้ครับ 144.2125 MHz รับรองถูกต้องตามแบนด์แพลน
ลองดูอีกครั้ง ว่าจะผ่านวิทยุชุมชนได้รึเปล่า  ;D


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: hs1amm ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 08:04:36
เคยทดลอง EME ลงทุนนับแสนบาทเสียทั้งเวลาเงินทองแต่ต้องมาเสียความรู้สึกกับมือถือเสายางและคำที่อ้างว่าผมก็มีสิทธิใช้ได้ทั้งแบนด์ผมจะคุยก็เรื่องผม คุณจะทดลองอะไรก็เรื่องของคุณ ตั้งแต่นั้นมา กิจการวิทยุสมัครเล่นสำหรับผมมีใบประกาศสำหรับติดไว้ข้างฝาบ้านว่าข้าก็เป็นนักวิทยุสมัครเล่น


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: แฮมโคราชา ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 08:38:39
กิจการวิทยุสมัครเล่นในซีกโลกตะวันตก เขาเจริญแล้ว เป็นผู้ดี มีวัฒนธรรม รู้อะไรควร อะไรไม่ควร ทำก็ทำจริง ลงมือทำเป็นเรื่องเป็นราว จนมีผลิตภัณฑ์ออกมาให้นักวิทยุสมัครเล่นแดนสารขัณฑ์ได้ใช้งาน โกยเงินเข้ากระเป๋า เข้าประเทศเขาไม่รู้เท่าใหร่ต่อเท่าใหร่ นักวิทยุสมัครเล่นแดนสารขัณฑ์ได้ใช้ก็เอามาอวดกันว่าได้ใช้ของต่างประเทศ ทำใช้เองไม่เป็นนั่นแหละ หารู้ใหมว่า ฟากซีกโลกตะวันตกเขาหัวเราะขำกลิ้ง ในความไร้เดียงสาของนักวิทยุสมัครเล่นแดนสารขัณฑ์

นี่ก็ออกคำเตือนการก่อการร้ายมาอีกแล้ว น่าเศร้าจัง  >:(  ???  >:(

ปล.เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า ห้ามนำข้อความนี้ไปอ้างอิงในทุกที่  ;D


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: MEGAOHM ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 10:09:47
ตะแบง


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: DateChainat_E22TRU ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 10:22:01
ลองเข้าไปดูครับ ถ้าคิดว่าใช้คุยได้แบบถูกต้อง
http://www.facebook.com/#!/media/set/?set=a.240341596050045.58919.100002226183730&type=3

ต่อไปจะมีเอกสารลักษณะนี้จัดส่งออกไปอีกเยอะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/343/TmXnrk.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/vTk2P73PIM3UyDKM)


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: nida ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 10:35:37
เคยทดลอง EME ลงทุนนับแสนบาทเสียทั้งเวลาเงินทองแต่ต้องมาเสียความรู้สึกกับมือถือเสายางและคำที่อ้างว่าผมก็มีสิทธิใช้ได้ทั้งแบนด์ผมจะคุยก็เรื่องผม คุณจะทดลองอะไรก็เรื่องของคุณ ตั้งแต่นั้นมา กิจการวิทยุสมัครเล่นสำหรับผมมีใบประกาศสำหรับติดไว้ข้างฝาบ้านว่าข้าก็เป็นนักวิทยุสมัครเล่น


พี่ amm ต้องมาเล่นทางเหนือที่เชียงใหม่ครับ ที่นี่คนขึ้นความถี่พอประมาณ และทุกท่านก็เคารพกติกา ช่อง ๑ ที่มีกลุ่มประจำกันอยู่ก็ย้ายจาก ๑๔๔.๐๐๐ มฮ. มาอยู่ ๑๔๔.๐๗๕ มฮ. ต้นแบนด์เงียบกริบ

ส่วนปลายแบนด์ ๑๔๕.๘๐๐ ขึ้นไป(ถัดจากอีโก้ลิง) ก็เงียบกริบเช่นกัน เล่นดาวเทียมสบายแฮครับ

แต่ที่จริง ฝรั่งเขายิงดวงจันทร์ หลายครั้งมันก็เกินจาก ๐๗๕ ไปเยอะเหมือนกันเนอะ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: woody ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 10:41:29
ผมไม่รู้ว่าความถี่นี้เขาใช้งาน EME อยู่ , ผมก็เห็นไม่มีคนคุยมันเงียบดี   
ผมคุยมานานเล้วจะให้ย้ายไปไหนเขาจองกันหมดแล้ว , ผมจะใช้  และอื่นๆ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: jossjiggalow ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 10:47:14
ผมไม่รู้ว่าความถี่นี้เขาใช้งาน EME อยู่ , ผมก็เห็นไม่มีคนคุยมันเงียบดี   
ผมคุยมานานเล้วจะให้ย้ายไปไหนเขาจองกันหมดแล้ว , ผมจะใช้  และอื่นๆ

   ได้ยินมาเหมือนผมเลย....


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: THUNSICA ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 18:07:27

-สวัสดีชาวสารขัณฑ์ทุกท่านครับ...

-ผมว่า"สารขัณฑ์"เป็นคำที่เหมาะสมกับไทยหัวนอก ที่ฝรั่งเขามองเป็นจำอวด....อย่างยิ่ง

- จริงๆน่าจะมาจาก "สามขัณฑ์"หรือ..สาม(ขำ)ขัน..ก็อาจใช่ ...หมายถึง สามพี่น้อง(ท้ายสุด)แห่งเอเชีย......

----------------------------------------------------------------------

-แค็ตตาล็อค คือความหมายแห่งชีวิตสารขัณฑ์...

-ไม่มีแค็ตตาล็อค....ชีวิตก็ไร้ความหมาย...

-ชาวสารขัณฑ์ พร้อมแล้วที่จะตาย...

-เพื่อตามหาแค็ต่ตาล็อค ตลอดไป...

-สิ่งที่คิดนี้ไม่ใช่ความโง่...เพราะคนโง่ ดูแค็ตตาล็อค...ไม่เป็น...

--------------------------------------------------------

-ระบบโทรเลข ได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการไปแล้ว...

-มูลค่าเครื่องมือและส่วนประกอบเป็นเงินมหาศาล+ เจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญ ทุกอย่างพร้อมสร้างผลทันที...

-ได้ถูกยกเลิกเพราะกลายเป้นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็น หรือช้ากว่าความจำเป็น...

-EME มีผลงานหรือความพร้อมใช้หรือจำเป็นใช้ เทียบกับโทรเลขอย่างไร ลองคิดตามสักนิดครับ

----------------------------------------

-กว่าถั่วจะสุก งาก็จะไหม้(ก่อน)...ภาษิตไทย ที่เปรียบเรื่องที่จริงได้

-อยากขอทราบกำลังส่ง ในระบบ EME

-คลื่น 2M ของไทยเป็นไม้เบื่อไม้เมากับชาวบ้านที่รับคลื่นทีวี(อนาล็อก) เท่าที่ทราบ ต่างประเทศ เขาเป็นดิจิตอลกันหมดแล้ว.. ..สถานะของเราเอื้อเท่าฝรั่งเขาเปล่า...อยากรู้ครับ

--------------------------------------------------

-ผลย่อมเกิดจากการใช้ ถ้าไม่ได้ใช้ ก็ไม่ได้เกิดผล แต่จะกันที่ไว้รอผล บูชาให้ศักสิทธ์ คงหมายถึงอนาคต ไม่ใช่กับสารขัณฑ์ ที่เห็นๆกันอยู่ในรุ่นนี้....ใช่เปล่าครับ

--------------------------------------------

-แต่อย่างไร ผมก็เห็นด้วยที่ขอความร่วมมือกับนักวิทยุที่ใช้ความถี่ช่องที่มีแปลนสากล แต่ไม่เห็นด้วยที่ไปว่าเขา คิดถึง HS1HB ท่านก็เคยใช้ 144.050 นั่นคือนักวิทยุตัวอย่างที่ดีนะครับ....เวลาที่เปลี่ยนเนื้อเรื่องไป ต้องให้เวลาปรับตัวกับสิ่งผูกพันเดิมบ้าง กสทช. ยังใช้คำว่า "ขอความร่วมมือ"....เลยนะครับ

--------------------------------------------------------

-ข้อความแรง หรือส่อแววขัดแย้งรุนแรง ลบได้เลย ไม่ต้องเตือน/ไม่ต้องถาม....ไม่เอาความ ไม่รักษาสิทธิ์...ขอบคุณครับ

----------------------------------------------------------------------------------------------



หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: jim ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 18:40:04
ลองเข้าไปดูครับ ถ้าคิดว่าใช้คุยได้แบบถูกต้อง
http://www.facebook.com/#!/media/set/?set=a.240341596050045.58919.100002226183730&type=3

ต่อไปจะมีเอกสารลักษณะนี้จัดส่งออกไปอีกเยอะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/343/TmXnrk.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/vTk2P73PIM3UyDKM)
ถ้าได้จดหมายแบบนี้ เดี๋ยว กลุ่มใหม่ๆน้องทางนครปฐม สงสัยเดี๋ยวก็มีมาแน่ๆ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: nida ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 19:07:48

--------------------------------------------------------

-ระบบโทรเลข ได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการไปแล้ว...

-มูลค่าเครื่องมือและส่วนประกอบเป็นเงินมหาศาล+ เจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญ ทุกอย่างพร้อมสร้างผลทันที...

-ได้ถูกยกเลิกเพราะกลายเป้นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็น หรือช้ากว่าความจำเป็น...

-EME มีผลงานหรือความพร้อมใช้หรือจำเป็นใช้ เทียบกับโทรเลขอย่างไร ลองคิดตามสักนิดครับ

----------------------------------------


ระบบโทรเลขถูกยกเลิกไปแล้ว อันนี้จริงครับ หลายๆประเทศเลิกสอบรหัสมอร์สไปแล้ว อันนี้ก็จริง แต่ที่ความถี่ต้นแบนด์ในย่าน HF ทุกย่าน ย่าน VHF ทั้ง low band และ high band นั้น นักวิทยุสมัครเล่นก็ยังใช้กันอยู่ครับ ยังใช้กันอยู่เป็นจำนวนมากเหมือนเดิมกับตอนที่ยังสอบรหัสมอร์สกันอยู่  ฉะนั้น  โทรเลข/รหัสมอร์ส/cw หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียก มันยังคงถูกใช้งานอยู่โดยนักวิทยุสมัครเล่น (แต่บ้านเราไม่ได้กำหนดไว้ที่ต้นแบนด์)

เพียงแต่บางท่าน หลายท่าน อาจไม่ทราบ เพราะไม่มีเครื่องวิทยุชนิด All Mode ที่ปรับไปใช้งาน CW ได้ จึงไม่ทราบว่า มีการใช้งานกันอยู่

EME ไม่มีผลงานอะไรโดดเด่นหรอกครับ ส่วนใหญ่เป็นการทดสอบ ทดลอง และใจรักล้วนๆ เพราะถ้าจะนำมาใช้ในเหตุฉุกเฉินก็ยิ่งไม่ทันการ ใช้วิธีอื่นดีกว่า ที่จริง EME มัีนเริ่มจากการทดลองของกองทัพเรือสหรัฐในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ติดต่อกันได้จริงครั้งแรกระหว่างฮาวาย กับแผ่นดินใหญ่สหรัฐ แล้วนักวิทยุสมัครเล่นก็เล่นกันเรื่อยมา


---------------------------------------------------

-กว่าถั่วจะสุก งาก็จะไหม้(ก่อน)...ภาษิตไทย ที่เปรียบเรื่องที่จริงได้

-อยากขอทราบกำลังส่ง ในระบบ EME

-คลื่น 2M ของไทยเป็นไม้เบื่อไม้เมากับชาวบ้านที่รับคลื่นทีวี(อนาล็อก) เท่าที่ทราบ ต่างประเทศ เขาเป็นดิจิตอลกันหมดแล้ว.. ..สถานะของเราเอื้อเท่าฝรั่งเขาเปล่า...อยากรู้ครับ

--------------------------------------------------


EME เล่นกันจริงๆ กำลังส่งระดับ ๑๐๐ วัตต์ขึ้นครับ เพราะตามสูตรแล้ว การสะท้อนดวงจันทร์นั้น สัญญาณมันกลับมาถึงโลกเพียง ๗% เท่านั้น ส่ง ๑๐๐ วัตต์ มันสะท้อนกลับมาถึงโลกแค่ ๗ วัตต์ครับ อันนี้เรื่องจริง ดังนั้น ยิ่งแรงยิ่งดี เมืองนอกเขาว่ากันเป็น กิโลวัตต์ครับ ใช่ครับ ย่านทูมิเตอร์ ๑๔๔.๐๐๐ ต้นๆแบนด์นั่นแหละ

แต่การเล่น EME ไม่ใช่แค่การอัดไปเป็นร้อยๆวัตต์นะครับ อีกฟากหนึ่งมันคือความสามารถในการรับคลื่นที่สะท้อนจากดวงจันทร์ให้ได้ต่างหาก เรามีสายอากาทิศทางซัก ๑๑ อีขึ้นไปเพียงแค่แผงเดียว เราก็สนุกกับ EME ได้แล้ว มันเป็นความท้าทายที่จะต้องปรับปรุงสถานีและปรับปรุงความรู้ ความสามารถ ทักษะ ของเราเองให้รับสัญญาณอ่อนๆจากดวงจันทร์นั้นให้จงได้ต่างหาก

ดังนั้น ถ้าเจอคู่สถานีที่มีสายอากาศขนาดใหญ่มากๆ เราก็ไม่จำเป็นต้องอัดไปขนาดนั้น เพียง ๕๐-๘๐ วัตต์ก็จะเพียงพอแล้ว เพราะคู่สถานีมีสายอากาศที่มีอัตราขยายสัญญาณที่ดีมาก

มีหลายๆสถานีที่พยายามเข้าสู่วงการด้วยการ "รับ" ให้ได้ก่อน แต่เมื่อมีการใช้งานกันผิดแบนด์แพลนแบบนี้ ก็เหมือนกลุ่มๆหนึ่งถูกปิดกั้นใช่หรือไม่ กิจการวิทยุสมัครเล่นมันไม่ใช่มีแค่การ คุย คุย คุย แล้วก็ คุย เท่านั้น

ส่วนเรื่องกวนทีวี เดี๋ยวนี้สบายครับ ทุกช่องในเมืองไทยย้ายไปส่งย่าน UHF กันหมดแล้ว ไม่กวนครับ และตามบ้านส่วนใหญ่ก็ใช้จานดาวเทียม DTH กันเยอะแล้ว เรื่องกวนทีวีนั้น ไม่มีครับ จะมีก็แต่ ทีวีมากวน EME นี่แหละ (RFI วิ่งมาตามสายไฟฟ้าเมื่อเปิดทีวี)


--------------------------------------------

-แต่อย่างไร ผมก็เห็นด้วยที่ขอความร่วมมือกับนักวิทยุที่ใช้ความถี่ช่องที่มีแปลนสากล แต่ไม่เห็นด้วยที่ไปว่าเขา คิดถึง HS1HB ท่านก็เคยใช้ 144.050 นั่นคือนักวิทยุตัวอย่างที่ดีนะครับ....เวลาที่เปลี่ยนเนื้อเรื่องไป ต้องให้เวลาปรับตัวกับสิ่งผูกพันเดิมบ้าง กสทช. ยังใช้คำว่า "ขอความร่วมมือ"....เลยนะครับ

--------------------------------------------------------


ช่วยๆกันประชาสัมพันธ์ครับ จะได้ใช้อย่างถูกวิธี เมืองไทยไม่ได้กวนกันเองเท่านั้น แต่ยังไปกวนเพื่อนบ้านและต่างประเทศด้วย (กรณีความถี่ดาวเทียม) ถ้าเราไม่เคลียร์ความถี่ก่อน แล้วคนที่จะเริ่มเล่นก็จะไม่ได้เริ่มซะที เมื่อความถี่มันเคลียร์แล้ว ผมว่าไม่นานกิจกรรมด้านนี้จะค่อยๆเติบโตขึ้นในบ้านเราครับ

ที่แน่ๆ ต้นๆแบนด์ ไม่ใช่แค่ EME เท่านั้น วันไหนความถี่ว่าง เราก็ลอง Tropo หรือสะท้อนชั้นบรรยากาศกัน ซึ่งใช้กำลังส่งไม่มากนัก แต่ติดต่อได้ระยะทางไกลๆ ระดับ ๑,๐๐๐ กม.ขึ้นไป กทม.-เชียงใหม่ ใช้สายอากาศแผงเดียวติดต่อกันได้แล้วครับ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: xtomen ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 19:19:12

--------------------------------------------------------

-ระบบโทรเลข ได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการไปแล้ว...

-มูลค่าเครื่องมือและส่วนประกอบเป็นเงินมหาศาล+ เจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญ ทุกอย่างพร้อมสร้างผลทันที...

-ได้ถูกยกเลิกเพราะกลายเป้นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็น หรือช้ากว่าความจำเป็น...

-EME มีผลงานหรือความพร้อมใช้หรือจำเป็นใช้ เทียบกับโทรเลขอย่างไร ลองคิดตามสักนิดครับ

----------------------------------------


ระบบโทรเลขถูกยกเลิกไปแล้ว อันนี้จริงครับ หลายๆประเทศเลิกสอบรหัสมอร์สไปแล้ว อันนี้ก็จริง แต่ที่ความถี่ต้นแบนด์ในย่าน HF ทุกย่าน ย่าน VHF ทั้ง low band และ high band นั้น นักวิทยุสมัครเล่นก็ยังใช้กันอยู่ครับ ยังใช้กันอยู่เป็นจำนวนมากเหมือนเดิมกับตอนที่ยังสอบรหัสมอร์สกันอยู่  ฉะนั้น  โทรเลข/รหัสมอร์ส/cw หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียก มันยังคงถูกใช้งานอยู่โดยนักวิทยุสมัครเล่น (แต่บ้านเราไม่ได้กำหนดไว้ที่ต้นแบนด์)

เพียงแต่บางท่าน หลายท่าน อาจไม่ทราบ เพราะไม่มีเครื่องวิทยุชนิด All Mode ที่ปรับไปใช้งาน CW ได้ จึงไม่ทราบว่า มีการใช้งานกันอยู่

EME ไม่มีผลงานอะไรโดดเด่นหรอกครับ ส่วนใหญ่เป็นการทดสอบ ทดลอง และใจรักล้วนๆ เพราะถ้าจะนำมาใช้ในเหตุฉุกเฉินก็ยิ่งไม่ทันการ ใช้วิธีอื่นดีกว่า ที่จริง EME มัีนเริ่มจากการทดลองของกองทัพเรือสหรัฐในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ติดต่อกันได้จริงครั้งแรกระหว่างฮาวาย กับแผ่นดินใหญ่สหรัฐ แล้วนักวิทยุสมัครเล่นก็เล่นกันเรื่อยมา


---------------------------------------------------

-กว่าถั่วจะสุก งาก็จะไหม้(ก่อน)...ภาษิตไทย ที่เปรียบเรื่องที่จริงได้

-อยากขอทราบกำลังส่ง ในระบบ EME

-คลื่น 2M ของไทยเป็นไม้เบื่อไม้เมากับชาวบ้านที่รับคลื่นทีวี(อนาล็อก) เท่าที่ทราบ ต่างประเทศ เขาเป็นดิจิตอลกันหมดแล้ว.. ..สถานะของเราเอื้อเท่าฝรั่งเขาเปล่า...อยากรู้ครับ

--------------------------------------------------


EME เล่นกันจริงๆ กำลังส่งระดับ ๑๐๐ วัตต์ขึ้นครับ เพราะตามสูตรแล้ว การสะท้อนดวงจันทร์นั้น สัญญาณมันกลับมาถึงโลกเพียง ๗% เท่านั้น ส่ง ๑๐๐ วัตต์ มันสะท้อนกลับมาถึงโลกแค่ ๗ วัตต์ครับ อันนี้เรื่องจริง ดังนั้น ยิ่งแรงยิ่งดี เมืองนอกเขาว่ากันเป็น กิโลวัตต์ครับ ใช่ครับ ย่านทูมิเตอร์ ๑๔๔.๐๐๐ ต้นๆแบนด์นั่นแหละ

แต่การเล่น EME ไม่ใช่แค่การอัดไปเป็นร้อยๆวัตต์นะครับ อีกฟากหนึ่งมันคือความสามารถในการรับคลื่นที่สะท้อนจากดวงจันทร์ให้ได้ต่างหาก เรามีสายอากาทิศทางซัก ๑๑ อีขึ้นไปเพียงแค่แผงเดียว เราก็สนุกกับ EME ได้แล้ว มันเป็นความท้าทายที่จะต้องปรับปรุงสถานีและปรับปรุงความรู้ ความสามารถ ทักษะ ของเราเองให้รับสัญญาณอ่อนๆจากดวงจันทร์นั้นให้จงได้ต่างหาก

ดังนั้น ถ้าเจอคู่สถานีที่มีสายอากาศขนาดใหญ่มากๆ เราก็ไม่จำเป็นต้องอัดไปขนาดนั้น เพียง ๕๐-๘๐ วัตต์ก็จะเพียงพอแล้ว เพราะคู่สถานีมีสายอากาศที่มีอัตราขยายสัญญาณที่ดีมาก

มีหลายๆสถานีที่พยายามเข้าสู่วงการด้วยการ "รับ" ให้ได้ก่อน แต่เมื่อมีการใช้งานกันผิดแบนด์แพลนแบบนี้ ก็เหมือนกลุ่มๆหนึ่งถูกปิดกั้นใช่หรือไม่ กิจการวิทยุสมัครเล่นมันไม่ใช่มีแค่การ คุย คุย คุย แล้วก็ คุย เท่านั้น

ส่วนเรื่องกวนทีวี เดี๋ยวนี้สบายครับ ทุกช่องในเมืองไทยย้ายไปส่งย่าน UHF กันหมดแล้ว ไม่กวนครับ และตามบ้านส่วนใหญ่ก็ใช้จานดาวเทียม DTH กันเยอะแล้ว เรื่องกวนทีวีนั้น ไม่มีครับ จะมีก็แต่ ทีวีมากวน EME นี่แหละ (RFI วิ่งมาตามสายไฟฟ้าเมื่อเปิดทีวี)


--------------------------------------------

-แต่อย่างไร ผมก็เห็นด้วยที่ขอความร่วมมือกับนักวิทยุที่ใช้ความถี่ช่องที่มีแปลนสากล แต่ไม่เห็นด้วยที่ไปว่าเขา คิดถึง HS1HB ท่านก็เคยใช้ 144.050 นั่นคือนักวิทยุตัวอย่างที่ดีนะครับ....เวลาที่เปลี่ยนเนื้อเรื่องไป ต้องให้เวลาปรับตัวกับสิ่งผูกพันเดิมบ้าง กสทช. ยังใช้คำว่า "ขอความร่วมมือ"....เลยนะครับ

--------------------------------------------------------


ช่วยๆกันประชาสัมพันธ์ครับ จะได้ใช้อย่างถูกวิธี เมืองไทยไม่ได้กวนกันเองเท่านั้น แต่ยังไปกวนเพื่อนบ้านและต่างประเทศด้วย (กรณีความถี่ดาวเทียม) ถ้าเราไม่เคลียร์ความถี่ก่อน แล้วคนที่จะเริ่มเล่นก็จะไม่ได้เริ่มซะที เมื่อความถี่มันเคลียร์แล้ว ผมว่าไม่นานกิจกรรมด้านนี้จะค่อยๆเติบโตขึ้นในบ้านเราครับ

ที่แน่ๆ ต้นๆแบนด์ ไม่ใช่แค่ EME เท่านั้น วันไหนความถี่ว่าง เราก็ลอง Tropo หรือสะท้อนชั้นบรรยากาศกัน ซึ่งใช้กำลังส่งไม่มากนัก แต่ติดต่อได้ระยะทางไกลๆ ระดับ ๑,๐๐๐ กม.ขึ้นไป กทม.-เชียงใหม่ ใช้สายอากาศแผงเดียวติดต่อกันได้แล้วครับ

ขอ คารวะ ด้วย เหล้า นารีแดง พันจอก


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: umnad ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012, 21:52:49
ครับ เมื่อก่อนผมเองก็เคยใช้อยู่ในนั้น แต่เมื่อมีเพื่อนสมาชิก บางท่านแจ้งว่ามันไม่สมควรใช้และมันมีแบรนด์แพลนที่กำหนดให้ใช้ ผมเองก็เลย สอบถามรุ่นพี่ๆที่แนะนำให้ใช้ช่องสะท้อนดวงจันทร์ เขาก็ตอบว่า ก็ใบอนุญาติ ของเรามัน
ระบุไว้ว่า ให้ใช้ได้ 144.000-146.000 นะ ดังนั้นเราจึงมีสิทธิใช้ได้  แต่พอได้สอบถามกับเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่น
ท่านอื่นๆ และหลายๆความถี่ ก็ได้รับคำอธิบายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้ผมสงสัยว่าในเมื่อมันผิดแบรนด์
แพลน แล้วทำไม ไม่มีหน่วยงานใดคอยดูแล เมื่อมีบุคคลเข้ามาใช้ ทำไมไม่มีการแจ้งเตือน และยังมีการปล่อยให้ใช้
พูดคุยได้ตามปกติ และจากการลองสแตนด์บายฟังดู มีใช้ตั้งแต่ 144.000-0125-025-0375-050-0625
และเขาเหล่านั้น ก็เป็นรุ่นเก่าๆทั้งนั้น และสัญญาณค่อนข้างแรงมากๆ
แต่ในวันนี้ ต้องขอขอบคุณ พี่ๆและเพื่อนๆ ที่ช่วยตอบและอธิบายให้ได้รู้ และเข้าใจได้ถูกต้อง ถึงในความถี่มันจะเงียบ แต่ก็ไม่สมควรเข้าไปใช้ เพราะว่ามันเหมือนเป็นการชี้นำให้คนอื่นเข้าไป ทำลายกฎต่างๆที่ทำให้เกิดระเบียบ
ผมเข้าใจถูกต้องหรือไม่ครับ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: THUNSICA ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 08:01:07
สวัสดีครับ...

-ไม่copy คำตอบที่ผ่านมาๆเป็นโจทย์อีก ขอกล่าวต่อเลย อย่างไรหวังว่าคงกลับไปอ่านเองได้...

-เหตุผลแบบมัดรวมกับต่างประเทศ ยังมีน้ำหนักน้อยเกินไปในฐานะที่ต่างศักยภาพ และในฐานะผู้ตาม ...


-แวดล้อมของไทยคือ144-146 MHZ ของฝรั่งเขาบางประเทศ 144-148 MHZ ของไทยเราเดิมก็144-145 เท่านั้น และขยายเพิ่มไปถึง146 ในราว20ปี หมายถึงเรื่องการตามถูกกำหนดให้เหมาะสมกับประเทศไทย มีการไตร่ตรองความเหมาะสมกับคนไทยเพื่อเลือกให้ใช้ด้วย เรื่องนักวิทยุรุ่นแรกๆจึงใช้ความถี่แถบบต้นๆกันมากเพราะเหตุนี้ด้วยอย่างหนึ่ง

-ระบบโทรเลขที่ยกเลิก คือประเทศไทย ยกมาเพื่อติงให้เห็นว่าที่สำคัญและพร้อมใช้กว่าเขายังเลิกกันแล้ว จะมาปัดที่ปัดทางเริ่มต้นอะไร ไตร่ตรองหน่อย วิศวกรของเขาก็เปลี่ยนไปวิจัยงานใหม่กันหมดแล้ว ไทยเราไหนๆก็ช้ามาต้องนานแล้ว ตอนนี้ไปบูม..เขาจะขำกลับมาได้....ผู้ที่ยังคงอยู่ในกิจกรรมEMEเป็นชนกลุ่มน้อย ความเบาบางเป็นภาพคงเหลือ ไม่ใช่ภาพเริ่มต้น......

-การชี้แจง จะสร้างศรัทธาได้ แต่การแก้ตัว อาจได้ผลเป็นตรงกันข้ามกับที่ตั้งใจ ดังนั้น หากใจรักและสร้างสรรค์จริง ต้องเป็นกลางจริงๆ ศาสตร์ คือความรู้ เป็นของดีอยู่แล้ว อย่าเติมแต่งให้เกินจริง ถ้ากลับกลายเป็น"สารท" ...ต้นตำรับ  เขาจะว่าเราคิดก็ไม่เป็น แต่ใช้จนพังได้

-เรื่องการรบกวนข้ามประเทศ ขอออกความเห็นว่า อากาศเป็นสื่อพลังงานที่มีความเสถียรน้อยมากเป็นธรรมชาติ แต่เป็นของฟรี ที่ต้องทนใช้ ระดับวิศวกรสร้างงานต้องรู้ปัญหานี้อยู่แล้ว

-วิธีปฏิบัติต่อระบบEME...หากไม่มีกฎหมายบังคับ หมายถึงยังเป็นเรื่องที่ไม่คงที่ ก่อนที่จะมีตำตอบใหม่จากวิศวกร การขอความร่วมมือคือวิธีทำงาน ดังนั้น อย่านำการขอความร่วมมือมาเป็นข้อรังเกียจกัน เพราะนั่นคือการเดาเจตนาแก้ไขที่ทำให้เรื่องเปลี่ยนได้ อย่าเพิ่งยกมือ อย่าพึ่งชี้เอาๆ ผู้ที่มีหน้าที่กระทำและรับผิดชอบ(ต่อค่าธรรมเนียม) หรือผู้มีสิทธิกำหนดความเหมาะสมให้คนไทยใช้ในขอบเขต144-146 ยังมีตัวตนอยู่ครับ...

---------------------------------------------------------

-เครื่องมือและเทคนิคของนักวิทยุสมัครเล่น หยุดความก้าวหน้าไปนานกว่า10ปีแล้ว ทรงๆทรุดอยู่กับที่ มีเพียงวิทยุสื่อสารที่ยังออกรุ่นใหม่ๆ เพื่อผลทางธุรกิจ ผลการทดสอบสัญญาน แบบสายอากาศที่เก่งกว่าเดิม หรือแม้แต่คุณภาพวิทยุสื่อสารไม่ก้าวหน้ามานานมาก....

-แต่สิ่งหนึ่งของย่านสมัครเล่นชั้นต้น...คือการออกอากาศ ซึ่งเป็นการแสดงออกต่อหน้าผู้อื่น หรือต่อสาธารณสถาน หรือเวทีแสดงฟรีนั่นเอง คนที่ขยัน/ช่างสังเกตุ/ยอมรับผู้อื่น/จะได้โอกาสฝึก"คิดก่อนพูด"...เรียนแบบและเริ่มแสดง เพื่อสร้างรางวัลประสพการณ์ให้ตนเอง..เปรียบคล้ายโรงเรียนสอนการแสดง แต่คนละแวดล้อม ด้วยเหตุผลที่ตั๋วเรียนราคาถูก+ไม่มีการควบคุม หลากหลายทั้งดีและด้อย จึงปนกันอยู่ ....ลืมบอกไป เป็นเวทีไทยด้วยครับ....เข้าใจง่าย

-ดังนั้นการออกอากาศจึงเป็นเรื่องไม่ตาย แม้ว่าจะเกิดเทคนิคสื่อสารแบบใหม่ที่ดีกว่าขึ้นแล้วก็ตาม เพราะไม่ได้หมายถึงการติดต่อเท่านั้น แต่เป็นเวทีให้คนที่ต้องการโอกาสอีกด้วย จึงไม่ควรมองเป็นเรื่องแค่คุย ๆๆๆ.....เท่านั้น

-------------------------------------------------------------------


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: แฮมโคราชา ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 08:50:37
นักวิทยุสมัครเล่นแบ่งได้คร่าวๆเป็น 3 กลุ่ม
1. conservative
2. impassive 
3. advance to the future

1. หัวอนุรักษ์นิยม ไม่ว่าโลกจะก้าวผ่านเวลา ก้าวข้ามอุปสรรค มีสิ่งใหม่ๆ มีความเจริญก้าวหน้าแค่ใหน ฉันก็จะยังอยู่กับสิ่งเก่าๆ เดิม เคยทำอะไรมา ก็จะทำอย่างนั้นไปเรื่อยๆ จนกว่าฉากสุดท้ายจะมาถึง

2. กลุ่มนี้ไม่เคยแยแสกับสิ่งต่างๆที่เป็นอยู่และเกิดขึ้น ประเภทช่างมันฉันไม่แคร์ จะเกิดก็เกิด จะยุบก็ยุบ อะไรก็ได้ เฮใหน เฮนั่น

3. คิดถึงแต่เรื่องในอนาคต ต้องอย่างงั้น ต้องอย่างงี้ ของใหม่ๆฉันคิดเอง ของเก่าทิ้งไปเลย สิ่งใหม่ๆของใหม่ๆฉันต้องได้ก่อน ใช้ก่อน 

ปล.เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า ห้ามนำข้อความนี้ไปอ้างอิงในทุกที่  ;D


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: nida ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 10:55:51
เฮ้อ... ไปนั่งสีซอคนเดียวให้สบายใจดีกั่วเรา  ??? ;D

(http://img.zuzaa.com/image.php?id=1E41_4E6B617A&jpg)


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: hs7zsx ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 11:07:02
วิทยุสมัครเล่น มีมากกว่าที่คุณคิดครับ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: VHF DXer ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 11:40:49
ชื่นชมการตอบ และให้ข้อมูลของคุณ THUNSICA นะครับ
ปกติผมจะไม่ค่อยออกความเห็นมากนัก
เพื่อเป็นการเพิ่มความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวเนื่องนี้ก็เลยต้องขอแสดงความเห็นบ้าง

กิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นกิจการสากลมีอยู่ในเกือบทุกประเทศ และดินแดนทั่วโลก ใช้ความถี่เดียวกัน หรือเหมือนกันทุกดินแดน
ความแตกต่างอยู่ที่การอนุญาตของแต่ละเดินแดนอาจไม่เหมือนกัน ดังนี้เมื่อกล่าวถึงกิจการวิทยุสมัครเล่น ซึ่งตัวมันเองนั้นเป็นกิจการสากล
ในฐานะที่เราก็ร่วมใช้งานอยู่ในความถี่เดียวกันดังนั้นจึงมิอาจหลีกเลี่ยงความเป็นสากลได้ จะอ้างความเป็นไทย ไม่เกี่ยวกับต่างประเทศเป็นไม่ได้
ถ้าเป็นความถี่ 245MHz ก็จะต่างกันออกไปเพราะ Thailand Only จะยกตัวอย่าง CB เป็น Thailand Only ก็ไม่ใช่อีก เพราะทั่วโลกก็ใช้ความถี่ Citizen Band ความถี่เดียวกันทั่วโลก จึงยังต้องนับว่าเป็นความถี่สากลเช่นเดียวกัน

ในอดีตเราเป็นมาอย่างไร ปัจจุบันเราก็คงเป็นไปแบบนั้น แล้วอนาคตล่ะ??? จะเป็นแบบอดีตที่ผ่านมาอีกหรือเปล่า

กิจการวิทยุสมัครเล่นไม่ได้คงหยุดนิ่งอย่างที่พี่ THUNSICA ได้ให้ความเห็นไว้ มีการพัฒนารูปแบบ หรือ Mode ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นทุกๆ วัน
เพื่อเพิ่มสักภาพ หรือความสามารถในการสื่อสารที่ดีขึ้น เร็วขึ้น ชัดเจนขึ้น ในขณะที่ใช้พลังงาน (กำลังส่ง) ที่ต่ำลง

แนวทางของวิทยุสมัครก็พัฒนาจาก Analog ก้าวไปสู่ Digital นานแล้ว เพียงแต่ ในบ้านเรายังไม่รับ หรือยังไม่ปรับตัวยอมรับ
ด้วยติดขัดข้อระเบียบต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมา มากมาย

รวมถึงตัวนักวิทยุสมัครเล่นไทย เองด้วย ที่ไม่ได้พัฒนาติดตามการพัฒนาของกิจการวิทยุสมัครเล่น ยังคงติดอยู่กับอดีต 20 30 ปีที่ผ่านมา

มาถึงวันนี้มีนักวิทยุสมัครเล่นน้ำใหม่ เข้ามาสู่กิจการนี้ ผู้ที่ยังยึดติดอยู่กับสิ่งเก่า ก็เลยรู้สึกว่าขาดช่วง หรือขาดข้อมูลไป

เราคงไม่คิดว่าจะมีแค่ 144-148 MHz ใช้งานสำหรับวิทยุสมัครเล่นกันใช่หรือเปล่าครับ
เพราะมันมีความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นอีกเป็นสิบๆ ความถี่ให้เราได้มีโอกาศได้ใช้

ทำอย่างไรล่ะ ถึงได้มีโอกาศ เหล่านั้น ถ้าวันนี้เรายังคงยึดอยู่กับ 144-148MHz แล้วเมื่อไหร่เราจะก้าวข้ามขอบเส้นขยายออกไปสักที


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: THUNSICA ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 12:26:50

--อ่านความคิดแล้ว ดีใจที่เพื่อนร่วมกิจกรรมเดียวกันที่คิดแบบนี้ ขออวยพรให้โอกาสไปสู่มือคุณ เพื่อเพื่อนๆแฮมไทยจะได้พบความก้าวหน้า.....


-แนวทางของวิทยุสมัครก็พัฒนาจาก Analog ก้าวไปสู่ Digital นานแล้ว เพียงแต่ ในบ้านเรายังไม่รับ หรือยังไม่ปรับตัวยอมรับ
ด้วยติดขัดข้อระเบียบต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมา มากมาย

-ตัวอักษรสีเขียวคือเรื่องที่เคยฟัง อ.อุดม จะโนภาส(บอร์ดใหญ่ช่อง3) ท่านเคยพูดถึงการเปลี่ยนจากอนาล็อคไปเป็นดิจิตอล.... ว่าช่อง3 พร้อมเปลี่ยนเครื่องส่ง เพราะเป็นธุรกิจที่ฟื้นทุนได้ แต่ชาวบ้านทั่วประเทศต้องเปลี่ยนเครื่องรับทั้งหมดตามไปด้วย คนไทยส่วนใหญ่ฐานะธรรมดา อาจยังไม่พร้อม ....หมายถึงติดขัดเรื่องเงินของชาวบ้านเท่านั้น ไม่ติดเรื่องไม่ยอมรับใดๆเลยครับ.......

-ขอยืนยันว่าเห็นด้วยเรื่อง แปลนความถี่ เพราะเป็นสากล เพียงแต่อยากบอกว่า เห็นด้วยเพราะเชื่อในสิ่งที่มีคนที่รับผิดชอบ ไม่ได้เชื่อในเหตุผล เพราะเหตุผลที่เขานิยมใช้กัน เหลื่อมเวลาและโอกาสสร้างประโยชน์ที่เหมาะกับไทยไปแล้ว.... แต่ความไม่ก้าวหน้าของวงการ ไม่มีแม้แต่การปรับปรุงจุดประสงค์หลัก จึงยังทำให้เกิดข้ออ้างได้....

-เรื่องEME หากขุดเหตุผลให้เพียงพอจะขัดแย้งมาก เช่นหากตั้งคำถามเรื่องกำลังส่ง/ข้อกำหนดใช้ จะกลายเป็นการยกเว้น เป็นอภิสิทธิ์ทันที ....เมืองนอกเขาไม่ได้ถูกควบคุม สถานะย่อมต่างกัน ...

-คนไทยควรไตร่ตรองเรื่องการก้าวตามอย่างมาก เพราะโอกาสเจริญทันเขา จะอยู่ที่การคิดตามและสงวนกำลัง หมายถึงการเลือกตาม และตามด้วยความจำเป็นที่อยากทันโลก ไม่ใช่คลั่งโลก...

-"อินเดียนไทย" คือคำที่ได้เห็น-ยินเมื่อไม่นานมานี้ ถ้าให้บอกความรู้สึกที่ได้เห็นชื่อนี้คงยาวเกินไป ขอฝากไว้กันที่แถวๆนี้ด้วยแล้วกันครับ.....

-----------------------------------------------------------------


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: VHF DXer ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 12:48:26
-เรื่องEME หากขุดเหตุผลให้เพียงพอจะขัดแย้งมาก เช่นหากตั้งคำถามเรื่องกำลังส่ง/ข้อกำหนดใช้ จะกลายเป็นการยกเว้น เป็นอภิสิทธิ์ทันที ....เมืองนอกเขาไม่ได้ถูกควบคุม สถานะย่อมต่างกัน ...  

ชัดเจนครับว่ามันผิด และติดขัดที่ระเบียบ ใครมาอ่าน ใครศึกษา หรือมีข้อมูลก็จะรู้ว่ามันผิด สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ผิด หรืออยู่ที่ถูก
แต่อยู่ที่ตัวนักวิทยุสมัครเล่นที่ได้เพิ่มความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง EME ในระเบียบฯ หรือ กฏหมาย คงไม่ได้ห้ามการศึกษาหาความรู้
ถ้ารู้ แต่ไม่ใช่ได้นำมาใช้งานจริงมันก็คงไม่ติดขัดข้อระเบียบฯ ใดๆ แต่สิ่งที่เกิดขั้นมันขัดต่อการศึกษาหาความรู้ของผู้ที่ไขว่รู้
เพื่อเตรียมความพร้อมว่าสักวันจะมีการปรับกฏกติการให้เป็นสากล เมื่อนั้นก็พร้อมลุยได้ทันที

ในคำว่า EME มันมีนัยที่ซ่อนไว้อีกมากทาง Technic เช่น สายอากาศ เครื่องขยายกำลังส่ง สายนำสัญญาณ เครื่องขยายภาครับ ทฤษฏีอวกาศ ความรู้เรื่องโลก และดวงจันทร์ ความรู้ด้านอิเล็คทรอนิคส์ อีกมากมาย มันคงไม่ใช่แค่ตั้งเสาวิทยุ มีสายอากาศ มีกำลังส่งสูงๆ แล้วก็จะติดต่อกันได้ ความรูแฝงเหล่านี้ที่มันจะผลักดันให้กิจการวิทยุสมัครเล่นไทย อาจจะหมายถึงอนาคตของประเทศไทย ก็อาจเป็นได้ ถ้าให้ความสำคัญมากพอ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: แฮมโคราชา ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 14:10:21
ด้วยกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ของดินแดนประเทศสารขัณฑ์ จึงทำให้ไม่สามารถคิดเองได้ และไม่สามารถทำผลิตภัณฑ์ของตัวเองใช้เองได้ ดังนั้นจึงทำได้เพียงเป็นแค่ ผู้ใช้ ที่ยอมทุ่มเงินในกระเป๋าเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าของต่างประเทศ นัยว่าเป็นผู้ใช้ที่ดี และเป็นลูกค้าที่ดี ถึงเวลาเปลี่ยนก็เปลี่ยน ถึงเวลาซื้อก็ซื้อ

รองหัวหน้าหมู่บ้านที่ดูงานทางด้านนี้ ก็ไม่ค่อยมีเวลา และให้ความสำคัญแค่ "สมัครเล่น" ถ้าจะเอาจริงๆจังๆคงต้องไปเล่น 3G  4G เพราะได้เม็ดเงินมหาศาล ไม่ต่ำกว่าหมื่น หรือแสนล้าน กับ "สมัครเล่น" คงได้ไม่กี่พันบาท

ถ้าจะให้ "สมัครเล่น" ไปได้ไกล ไปได้สวย ไปได้อย่างสง่างามและก้าวหน้า ทำให้ผู้คนอยากที่จะเข้าสู่ "สมัครเล่น" ต้องมีสิ่งใหม่ๆให้เขาเล่น ไม่ใช่มีแค่กะลาให้เขาเล่นแค่ 2 ใบ

เห็นทีต้องหันไปพึ่ง หมอผีประจำหมู่บ้าน ล่ะครับ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: HS3QQQ ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 14:44:35
ด้วยกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ของดินแดนประเทศสารขัณฑ์ จึงทำให้ไม่สามารถคิดเองได้ และไม่สามารถทำผลิตภัณฑ์ของตัวเองใช้เองได้ ดังนั้นจึงทำได้เพียงเป็นแค่ ผู้ใช้ ที่ยอมทุ่มเงินในกระเป๋าเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าของต่างประเทศ นัยว่าเป็นผู้ใช้ที่ดี และเป็นลูกค้าที่ดี ถึงเวลาเปลี่ยนก็เปลี่ยน ถึงเวลาซื้อก็ซื้อ

รองหัวหน้าหมู่บ้านที่ดูงานทางด้านนี้ ก็ไม่ค่อยมีเวลา และให้ความสำคัญแค่ "สมัครเล่น" ถ้าจะเอาจริงๆจังๆคงต้องไปเล่น 3G  4G เพราะได้เม็ดเงินมหาศาล ไม่ต่ำกว่าหมื่น หรือแสนล้าน กับ "สมัครเล่น" คงได้ไม่กี่พันบาท

ถ้าจะให้ "สมัครเล่น" ไปได้ไกล ไปได้สวย ไปได้อย่างสง่างามและก้าวหน้า ทำให้ผู้คนอยากที่จะเข้าสู่ "สมัครเล่น" ต้องมีสิ่งใหม่ๆให้เขาเล่น ไม่ใช่มีแค่กะลาให้เขาเล่นแค่ 2 ใบ

เห็นทีต้องหันไปพึ่ง หมอผีประจำหมู่บ้าน ล่ะครับ

        " หวังพึ่งยากครับ ถ้าเราไม่กระตุ้น หรือเรียกร้องในสิ่งที่เราต้องการ มัวเสียเวลานั่งรอคอยโดยหวังว่า เขาจะหยิบยื่นให้ ก็คงต้องรอต่อไป"
    มองถึงการมีส่วนร่วมของนักวิทยุสมัครเล่นเอง น้อยมากที่พยายามผลักดันในสิ่งมี่สมควรจะได้ ไม่ว่าการขอขยายความถี่ การเเก้ระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา  การเเสดงความเห็นในเวทีรับฟังความคิดเห็นต่างๆที่เปิดโอกาสให้เราได้เสนอความคิดเเละสิ่งที่เราต้องการ  เราก็นิ่งเฉย เมื่อเทียบเป็นจำนวนก็คงไม่ถึง1% ของนักวิทยุสมัครเล่นทั้งหมดของไทย เเม้กระทั่งการ “แสดงความคิดเห็นต่อร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม” ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งจะเกี่ยวกับ" ตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ" มีคำถามตามมาว่า นักวิทยุสมัครเล่นมีส่วนร่วมในการเเสดงความคิดเห็นมากน้อยเพียงไร ทั้งที่เขาเปิดโอกาสให้ทำได้ ก็ได้เเค่หวัง หวังว่าจะได้รับความสนใจจากนักวิทยุสมัครเล่นของไทยเป็นจำนวนมาก
    ส่วนเรื่องเเบนด์เเพลน ถ้าได้ศึกษาจะเข้าใจดี เเละคงต้องปฎิบัติตามนั้นโดยไม่มีข้อยกเว้น เพราะความถี่ที่กำหนดไว้นั้น ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น นาๆประเทศเขาก็ใช้ร่วมอยู่   หรือถ้าต้องการเปลี่ยนเเปลงท่านคงต้องไปเรียกร้องเพื่อให้มีการเเก้ไขเอาเองนะครับ เพื่อจะได้เป็นประเทศสารขัณฑ์ อย่างเต็มภาคภูมิ
                  ขอบคุณ...


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: E22XWC ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 16:30:56
เป็นเรื่องราวที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง  มาร์คไว้ก่อน...ตามอ่านตอนต่อไป.. :D ;) :D


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: แฮมโคราชา ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 17:35:28
ปฏิเสธไม่ได้ว่า "นักวิทยุสมัครเล่น" ส่วนหนึ่งเป็น เคยเป็น ใช้ และเคยใช้ เครื่องวิทยุทั้งไม่ถูกต้องและถูกต้อง และมาจากข่ายวิทยุสารพัดข่ายที่ตั้งขึ้นมา ทั้งของเอกชน ราชการและส่วนตัว กฎ กติกา มารยาท รวมทั้งระเบียบจึงแตกต่างไปจาก "วิทยุสมัครเล่น" เมื่อสอบได้นามเรียกขานในกิจการ "วิทยุสมัครเล่น" จึงคิดว่าน่าจะเหมือนกัน และไม่ยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมๆ ที่เคยเป็น เลยพาลหาว่า "วิทยุสมัครเล่น" กีดกัน ปิดกั้น เป็นข้ออ้างให้ไม่ยอมรับ ไม่ปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบของกิจการ "วิทยุสมัครเล่น"


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: umnad ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 22:46:07
ครับ วันนี้บังเอิญได้มีโอกาสไปเจอสถานีที่ใช้ออกอากาศสะท้อนดวงจันทร์ มาแล้วครับ ทีแรก ผมก็ไปยืนมอง
ด้วยความสงสัยเป็นอย่างมาก ว่ามันคือสายอากาศย่านไหนหว่า มีล้อรถยนต์ด้วยซินั่น ก็เลยไปถามคนที่อยู่บริเวณนั้น จึงได้ทราบว่ามันเป็นสถานีสะท้อนดวงจันทร์ ของดอกเตอร์ท่านนึงครับ ขออนุญาติไม่แจ้งนามครับ
เพราะไม่แน่ใจ ว่าเขาจะอนุญาติให้แจ้งนามหรือเปล่า แต่อยู่ที่ชลบุรีครับ
วันนี้นี้เลยมั่นใจว่า มันมีสถานีแบบนี้อยู่จริงๆครับ และเขาใช้จริงๆด้วยครับ ได้ถ่ายรูปมาด้วย
แต่ ไม่แน่ใจว่าเขาจะอนุญาติให้นำมาเผยแพร่หรือไม่ ยังไงต้องรอขออนุญาติจากเจ้าของก่อนครับ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: VHF DXer ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2012, 06:36:04
สถานี EME ของไทย ที่ทดลองรับแล้วประสบความสำเร็จก็มีอยู่หลายคนแล้วนะ เท่าที่เห็น และเขาก็มา post ให้ข้อมูลไว้ตั้งเยอะ ที่ board 100 วัตต์ หัวข้อ EME เท่าที่ดู สถานีที่ใช้ก็ไม่ได้ต่างจากสถานีทั่วไป บางคนใช้ ยากิ แผงเดียวก็รับได้ ลองเข้าไปดูสิ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: hs7zsx ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2012, 12:31:14
สายอากาศ ไม่จำเป็นต้องใหญ่ ก็ได้ครับ ถ้าเล่น EME
http://www.100watts.com/smf/index.php?topic=68599 (http://www.100watts.com/smf/index.php?topic=68599)


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: peerapat ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2012, 16:26:49
ละอายกันบ้างมั้ย


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: umnad ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2012, 22:47:58
ได้เจอข้อมูลแบบนี้แล้ว บอกตรงๆเลยว่าไม่กล้าไปใช้ความถี่ของเค้าแล้วครับ ละอายครับละอายจริงๆ
เขาลงทุนไปไม่ใช่เล็กน้อย เพื่อใช้ความถี่เล็กน้อย แตเราลงทุนกับสถานีของเราไม่กี่บาท
แต่ไปใช้ความถี่รบกวนเขา มันไม่ใช่แล้วครับ อายครับอายพวกเขาจริงๆ
ขอบคุณเพื่อนๆและพี่ๆทุกคนมากครับที่ให้ความกระจ่างครับขอบคุณจริงๆ ต่อไปจะได้ช่วยกันพาคนที่ไม่รู้
ไปใช้ความถี่ให้ถูกต้องครับ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: THUNSICA ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2012, 16:24:39

-สวัสดีครับ...

-การเข้าไปใช้ช่องความถี่กำหนดไว้รองรับEME ถือว่าไม่ถูกต้อง

-การเข้าไปส่งคลื่นEME กับเขาบ้างที่กำส่งเกินกำหนด ก็ถือว่าไม่ถูกต้อง

-เป็นชาวสารขัณฑ์ ผู้จำความรู้ล้าสมัย มาอวดเป็นรสนิยมสมัยใหม่ ก็ไม่ถูกต้อง

-------------------------------------------------------------------

-สรุปเองว่า ช่องความถี่ที่กำหนดไว้สำหรับ EME จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆต่อผมเลยสักอย่าง....

------------------------------------------------------------------------

- แฮมไทยที่ไปออกอากาศในแปลนกำหนดEME มีมาตั้งแต่ยุค144-145MHZ และกว่า25ปีแล้ว เป็นข้อกำหนดที่ของกรมไปรษณีย์หรือกสทช. ชี้ไว้ให้ปฏิบัติ หนังสือขอความร่วมมือให้เว้น ที่เห็นในกระทู้นี้ พึ่งเห็นปีนี้เป็นครั้งแรก ปล่อยมาช้านานอย่างมาก....

- กำลังส่ง 10วัตต์ ก็กรมไปรษณีย์เป็นผู้กำหนดความเหมาะสมให้แฮมไทย(ส่วน50วัตต์ คือทำเป็นไม่รู้-ไม่เห็น)

-ดังนั้น ไม่ว่าจะกดคีย์พูด หรือกดคีย์ส่งแบบEME แบบส่งเสริมตามจุดประสงค์ ผู้ใช้งานจึงผิดทั้งขึ้นและล่อง หมายถึง การปฏิบัตินั้น จะถูกทำเป็นมองไม่เห็น ถ้าจ้องเมื่อไหร่ก็คือความผิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ...

-หลายๆท่านอาจไม่ถือสา กับความสับสนนี้ แต่ผมไม่อาจทำตนแบบ ลัก-ขโมยกินได้ต่อกิจกรรมรองนี้ได้ แม้ว่าผู้ดูแลจะทำเป็นไม่เห็น แถมยังเขียนคำขวัญสนับสนุนความก้าวหน้า(ช่วยกลับไปอ่านเองข้างบน) อีกต่างหาก

-ดังนั้นผมจึงคิดเองว่า...สิ่งที่ต้องแก้ไขก่อนเพื่อนก็คือข้อกำหนด กสทช. นั้นเอง เพราะเป็นผู้ได้ประโยชน์จากค่าธรรมเนียมต่างๆ ในระบบใบอนุญาต.....

-การต้องอยู่ในระดับประเทศสารขัณฑ์ แถมต้องลักกิน-ขโมยกินอีก มองอย่างไรก็ไม่เห็นทางที่จะภูมิใจผลได้เลยครับ

----------------------------------------------------------------

- "EME"....เอย..

-เป็นเพราะท่าน...เย้ายวน

-ฤา เพราะข้าพเจ้า...อยาก

-หรือเพราะเวลา...ผ่านเร็วไป


---------------------------------------------------------


   


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: buffalo(บ๊อบ ฟูโล) ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2012, 17:43:06
นักวิทยุสมัครเล่นแบ่งได้คร่าวๆเป็น 3 กลุ่ม
1. conservative
2. impassive 
3. advance to the future

1. หัวอนุรักษ์นิยม ไม่ว่าโลกจะก้าวผ่านเวลา ก้าวข้ามอุปสรรค มีสิ่งใหม่ๆ มีความเจริญก้าวหน้าแค่ใหน ฉันก็จะยังอยู่กับสิ่งเก่าๆ เดิม เคยทำอะไรมา ก็จะทำอย่างนั้นไปเรื่อยๆ จนกว่าฉากสุดท้ายจะมาถึง

2. กลุ่มนี้ไม่เคยแยแสกับสิ่งต่างๆที่เป็นอยู่และเกิดขึ้น ประเภทช่างมันฉันไม่แคร์ จะเกิดก็เกิด จะยุบก็ยุบ อะไรก็ได้ เฮใหน เฮนั่น

3. คิดถึงแต่เรื่องในอนาคต ต้องอย่างงั้น ต้องอย่างงี้ ของใหม่ๆฉันคิดเอง ของเก่าทิ้งไปเลย สิ่งใหม่ๆของใหม่ๆฉันต้องได้ก่อน ใช้ก่อน 

ปล.เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า ห้ามนำข้อความนี้ไปอ้างอิงในทุกที่  ;D

ถ้าผมแบ่ง 4 แบบ
1.บ้ากฏระเบียบ
2.บ้าเครื่อง
3.บ้าคุย
4.อื่น ๆ ซึ่งไม่สามารถจัดเข้าประเภทใดได้




หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: supichan ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2012, 20:44:05

-สวัสดีครับ...

-การเข้าไปใช้ช่องความถี่กำหนดไว้รองรับEME ถือว่าไม่ถูกต้อง

-การเข้าไปส่งคลื่นEME กับเขาบ้างที่กำส่งเกินกำหนด ก็ถือว่าไม่ถูกต้อง

-เป็นชาวสารขัณฑ์ ผู้จำความรู้ล้าสมัย มาอวดเป็นรสนิยมสมัยใหม่ ก็ไม่ถูกต้อง

-------------------------------------------------------------------

-สรุปเองว่า ช่องความถี่ที่กำหนดไว้สำหรับ EME จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆต่อผมเลยสักอย่าง....

------------------------------------------------------------------------

- แฮมไทยที่ไปออกอากาศในแปลนกำหนดEME มีมาตั้งแต่ยุค144-145MHZ และกว่า25ปีแล้ว เป็นข้อกำหนดที่ของกรมไปรษณีย์หรือกสทช. ชี้ไว้ให้ปฏิบัติ หนังสือขอความร่วมมือให้เว้น ที่เห็นในกระทู้นี้ พึ่งเห็นปีนี้เป็นครั้งแรก ปล่อยมาช้านานอย่างมาก....

- กำลังส่ง 10วัตต์ ก็กรมไปรษณีย์เป็นผู้กำหนดความเหมาะสมให้แฮมไทย(ส่วน50วัตต์ คือทำเป็นไม่รู้-ไม่เห็น)

-ดังนั้น ไม่ว่าจะกดคีย์พูด หรือกดคีย์ส่งแบบEME แบบส่งเสริมตามจุดประสงค์ ผู้ใช้งานจึงผิดทั้งขึ้นและล่อง หมายถึง การปฏิบัตินั้น จะถูกทำเป็นมองไม่เห็น ถ้าจ้องเมื่อไหร่ก็คือความผิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ...

-หลายๆท่านอาจไม่ถือสา กับความสับสนนี้ แต่ผมไม่อาจทำตนแบบ ลัก-ขโมยกินได้ต่อกิจกรรมรองนี้ได้ แม้ว่าผู้ดูแลจะทำเป็นไม่เห็น แถมยังเขียนคำขวัญสนับสนุนความก้าวหน้า(ช่วยกลับไปอ่านเองข้างบน) อีกต่างหาก

-ดังนั้นผมจึงคิดเองว่า...สิ่งที่ต้องแก้ไขก่อนเพื่อนก็คือข้อกำหนด กสทช. นั้นเอง เพราะเป็นผู้ได้ประโยชน์จากค่าธรรมเนียมต่างๆ ในระบบใบอนุญาต.....

-การต้องอยู่ในระดับประเทศสารขัณฑ์ แถมต้องลักกิน-ขโมยกินอีก มองอย่างไรก็ไม่เห็นทางที่จะภูมิใจผลได้เลยครับ

----------------------------------------------------------------

- "EME"....เอย..

-เป็นเพราะท่าน...เย้ายวน

-ฤา เพราะข้าพเจ้า...อยาก

-หรือเพราะเวลา...ผ่านเร็วไป


---------------------------------------------------------


   

ขอความรู้จากคุณ THUNSICA  ซักนิดครับ
ถ้าหากหนังสือเตือนของกสทช. เป็นหนังสือเตือน ในช่วงความอื่นๆอีก เช่น ความถี่แจ้งเหตุฉุกเฉิน ความถี่สำหรับดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น สำหรับดิจิตอลโหมด ทวนสัญญาณ กิจกรรมพิเศษ หรืออื่นๆ ที่มีผู้ใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของความถี่นั้นๆ
คุณ THUNSICA  จะให้เหตุผลว่าอย่างไรครับ

- หรือต้องรอ สังคมวิทยุสมัครเล่น กวดขันเรื่องกำลังส่งเกินกำหนดก่อน จึงค่อยจัดระเบียบเรื่องแบนดแพลน
- หรือ คุณ THUNSICA  ก็ไม่เห็นว่าช่วงความถี่อื่นๆ จะเป็นประโยชน์ ต่อคุณ THUNSICA  ก็เลยไม่ต้องสนใจ
- หรือเทคโนโลยี อะไรต่างๆตามช่วงนั้นๆ มันล้าสมัยอย่างที่คุณ THUNSICA  กล่าวมา ก็เลยคนอื่นๆก็ไม่ต้องเรียนรู้ หรืออย่างไรครับ

ปัญหานี้ ความเห็นผมคือ การรบกวนเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของกำลังส่ง หรือเรื่องของการอวดเบ่งว่าใครใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือเก่า  แต่มันเป็นเรื่องของการเรียนรู้ และนักวิทยุสมัครเล่นแต่ละคนมีสิทธิ์ในการเรียนรู้จากเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ตนเองมี อาจจะเก่ามากๆๆๆๆๆๆๆ ถ้าหากเทียบกันเชิงพานิชย์  อาจจะไม่คุ้มค่าถ้าเทียบในเชิงธุรกิจ  แต่นั้นก็คือวิทยุสมัครเล่น เทียบกับเครื่องมือ ความรู้และเงินลงทุนของแต่ละคนเอง

ส่วนคุณอยากใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ก็ไม่ยาก มีเงินซื้อมาก็จบง่ายๆ ส่วนใช้เป็นหรือไม่เป็นก็อีกเรื่องนึง

ผมอยากจะทำวิทยุแร่ซักเครื่องนึง ผมเป็นคนล้าสมัยเกินไปหรือเปล่า?


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: 2eo ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2012, 20:51:59

 อย่าลืม  เรื่องการทวงสิทธิ์เรื่องการใช้งานย่าน uhf   และ 50  mhz. ด้วยนะครับ  เห็นฮิตกันพักนึง  แล้วก้อลืมไปแล้ว.. อ่อ.. และอื่นๆอีกมากมาย  ;D


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: hs0oay ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2012, 21:06:50
ดีครับ ถ้าพวกเราไม่อยู่ในระเบียบ ก็อาจจะไม่มี mode อื่นให้เล่นเพิ่มอีก ตอนนี้ก็เลยแค่ฟังอย่างเดียว call sign ยังไม่กล้า ติดรถเลย เรื่องสายอากาศ ลืมได้เลยครับ อยู่ในลังใต้บันได จะcontract ก็โดนสวนโดนบี้อยู่เรื่อย มีช่องบ้าน ช่องนี้ข้าจอง ประมาณนี้ ครับ สนับสนุนการอยู่ในกฏระเบียบ จะได้มีของเล่นเยอะขึ้นครับ
 
 


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: umnad ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2012, 22:45:54
ครับขออีกหน่อยนึงครับ พอดีสงสัย หลังจากได้ QSO กับพี่ HS2 ท่านนึงเมื่อตอนเย็น ท่านแจ้งว่า
เราสามารถใช้ได้ ถ้าจะมีคนมาใช้ความถี่สะท้อนดวงจันทร์ เขาต้องคอนแทคแจ้งเรามาก่อน แล้วเรา
ต้องอนุญาตฺก่อนเขาจึงจะเข้ามาใช้ได้ และความถี่สะท้อนดวงจันทร์อะไรเนี่ย ตอนเขาสอบ ที่รามคำแหง
100 ข้อ มันไม่มีบอกไว้ มันเพิ่งมามีทีหลัง ดังนั้นเขามาก่อน เขาก็ไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะต้องรับรู้
สรุปว่าผมงงครับ มันเป็นแบบที่ 1 คือรุ่นเก่าไม่เกี่ยว กับสะท้อนดวงจันทร์ใช่หรือไม่
หรือ 2 การใช้ความถี่สะท้อนดวงจันทร์ ผู้ที่จะใช้จะต้องขออนุญาติ คนที่กำลังคุยอยู่ก่อนใช่หรือไม่
  ถ้าคนที่คุยอยู่ยังไม่อนุญาติให้ใช้ ก็ยังเข้าไปใช้ไม่ได้ ตามที่พี่เขาแจ้งใช่หรือไม่
ที่ถามนี้ไม่ได้กวนอะไร แต่ผมเองก็พยามหาความรู้ที่ถูกที่สุดมาปฎิบัติตนตามแบบที่ผมจะสามารถทำได้ครับ
สิ่งที่คิดว่าจะได้กับผมสิ่งที่หวังก็คือ ผมจะได้พูดอย่างไม่อายใครๆ ว่าผมใช้ความถี่ถูกต้องครับ นี่คือสิ่งที่หวังครับ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: umnad ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2012, 22:51:50
ขอขอบคุณ กับเพื่อนๆนักวิทยุทั้งใหม่แบบผมและเก่า และรุ่นพี่ๆทุกๆท่านที่แบ่งปันประสปการณ์
มาให้กับรุ่นน้องๆ และพาก้าวเดิน ให้ถูกทาง ขอขอบคุณแฮมสยาม และพี่ๆทุกท่านครับ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: supichan ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2012, 00:40:07
ขอเสนอเหตุผลดังนี้ครับ

การสอบผ่าน ไม่ใช่ที่สุดของการเป็นนักวิทยุสมัครเล่น เป็นเพียงรับรองว่าท่านมีความรู้ผ่านเกณฑ์ และให้ใช้วิทยุคมนาคมได้ เมื่อได้รับใบอนุญาต และให้ใช้ตามระเบียบหรือข้อกำหนดนั้นๆ
ดังนั้น เมื่อสอบผ่านมาแล้ว ก็ต้องไปศึกษากฏระเบียบเพิ่มเติม ว่าอะไรใช้อย่างไร ใช้แบบไหน ซึ่งกฏระเบียบ เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเรื่อยๆ  การจะมาอ้างว่าสอบมานานแล้ว แล้วก็จะไปใช้ตามข้อสอบเก่านั้น จึงไม่ถูก
เช่น หลายๆ ความถี่ ใน ช่วง 144-146 ก็ได้มาจัดแบ่งใหม่ ในช่วงปี 2540 ประกาศปี 2544 เช่น เปลี่ยนและแบ่งช่วงความถี่ระหว่างช่องให้แคบลงจาก 25kHz เป็น 12.5 kHz (หรือที่เราเรียกว่า Step) และจัดแบ่งความถี่แยกหมวดหมู่ใหม่ให้สอดคล้องกับสากล เช่น ช่วงความถี่ สัญญาณอ่อน CW EME ที่ 144.000-144.0625  และช่วงความถี่ดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น 145.800-146.000  , ความถี่ทวนสัญญาณต่างๆ เป็นต้น
ดังนั้น ในช่วงที่ ท่าน HS2....  สอบนั้น ก็คงยังไม่ใช่ step 12.5kHz ดังนั้นก็คงจะอ้างว่า คนใช้ 12.5kHz ใช้ผิดก็ไม่ได้ และยังมีเรื่องอื่นๆอีกเช่น ก่อนปี 2540 มีผู้ใช้ความถี่ ในช่วง 145.625-145.725 (Step 25kHz) คุยกันปกติแบบเสียงพูดช่องตรง  ดังนั้นเมื่อระเบียบใหม่แก้ไขปี 2544 ออกมา ให้ช่วง 145.625-145.7125 (Step 12.5kHz) ประกาศให้ เป็นช่วงความถี่ทวนสัญญาณ  คนเหล่านั้นก็ต้องเปลี่ยนความถี่ไปคุยกันช่องตรงที่ความถี่อื่นแทน เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนกัน

ดังนั้น ลักษณะที่อธิบายมาข้างต้น จึงเป็นลักษณะเดียวกันกับช่วงความถี่อื่นๆ ที่เขาจัดสรรแบ่งมาให้ใช้สำหรับ การสื่อสารแต่ละประเภท  เช่น CW EME ดาวเทียม ทวนสัญญาณ ดิจิตอล
เพียงแต่ เราไม่รู้และอาจไม่สนใจ จึงเป็นข้ออ้างต่างๆในการยึดครองความถี่แบบเก่าๆ

ส่วนการที่บอกว่า ให้คุยได้  แล้วคนที่เขาต้องการจะเล่น EME เขาจะมาบอกเอง  นั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะ
1. ช่วงความถี่ต่างๆจัดสรรแบ่งชัดเจนแล้วว่า ความถี่ไหนให้ใช้ทำอะไร
ความถี่วิทยุช่วง 144.000 - 144.0625 MHz กำหนดให้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารโดยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวพื้นดวงจันทร์ (Earth - Moon - Earth : EME )
2. คนที่เขาเล่นอาจจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่ เดียวกันกับคนที่กำลังคุยกันอยู่ผิดแบนด์แพลน ซึ่ง คนเล่น EME อาจจะรับสัญญาณได้อ่อนๆ คือเป็นการรบกวน แล้วเขาก็ไม่สามารถจะส่งไปบอกได้ว่าขอใช้ หรืออาจจะส่งไม่ถึง
ยกตัวอย่างดังนี้
คนใช้งานผิด อยู่จ. ชลบุรี      ส่วนคนใช้ EME อยู่ จ. ประจวบฯ   สมมติ 2 จังหวัดนี้ รับสัญญาณกันไม่ได้ชัดเจน  ดังนั้นผู้ที่เล่น EME ก็รอรับสัญญาณอ่อนๆ ที่สะท้อนมาจากดวงจันทร์อยู่ แต่ปรากฏว่า โดนสัญญาณจากผู้ใช้ความถี่ผิดแบนด์แพลนในจังหวัดชลบุรี กวนเข้ามา เพียงเล็กน้อย  ก็ไม่สามารถรับสัญญาณที่สะท้อนมาจากดวงจันทร์ได้
ดังนั้นจะรอให้คนที่เขาเล่น EME มาคอยบอกคอยขออนุญาต นั่นจึงเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะ ต้องไปขอทั่วประเทศยิ่งเป็นไปไม่ได้
เหตุการณ์แบบนี้  เกิดบ่อยกับ ช่วงความถี่ 145.8-146.0  ซึ่งเป็นความถี่ช่วงดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น  ผู้ที่ใช้งานผิดมักอ้างว่า ถ้ามีคนที่จะติดต่อดาวเทียม ให้ขึ้นมาขออนุญาตแล้วจะหยุดให้ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้  ตามเหตุผลที่ได้ยกตัวอย่างไป

ดังนั้น โปรดเรียนรู้และศึกษาระเบียบใหม่ๆ จุดประสงค์คือ ไม่ให้รบกวนกัน และแต่ละคนสามารถทำกิจกรรมทางวิทยุสมัครเล่นที่ตนเองชอบ แม้จะชอบกันคนละอย่าง ก็ให้อยู่และเล่นด้วยกันได้อย่างมีความสุขไม่รบกวนกัน
- คนชอบคุย ก็ไปคุยได้เลย จะคุยเช้าเที่ยงเย็นก็ไปคุยกันให้อิ่ม  แต่คุยในช่วงความถี่ที่จัดไว้ให้คุย
- คนชอบเล่นสัญญาณอ่อนๆ ชอบนั่งเฝ้า ก็ไปเฝ้าที่ช่วงความถี่ที่จัดให้
- คนชอบเสียงจิ้งหรีด เสียงมนุษย์ต่างดาวดิจิตอล ก็ไปเล่นกันอยู่ช่วงดิจิตอล
เพียงแค่นี้

ถนน ยังมี ช่องรถยนต์ จักรยานยนต์ ไหล่ทาง จักรยาน ทางเท้า  เมื่อไหร่ที่รถยนต์หรือจักรยานยนต์มาวิ่งบนทางเท้า แล้วอ้างว่า ก็มันว่างหรือรถติด  ได้หรือ?
อ้างอิง ระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ แก้ไขปี 2550  (ดูที่ภาคผนวก๔  บอกไว้ชัดเจนช่องอะไรใช้ทำอะไร)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/152/10.PDF

ช่วงเวลาที่ปรับเปลี่ยนแบนด์แพลนใหม่ ประกาศปี 2544
http://www.oocities.org/e20zfd/plan.htm

ฝากให้ลุงคนนั้นอ่านให้เข้าใจด้วยน่ะครับว่า นี่พ.ศ. อะไรแล้ว


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: supichan ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2012, 01:15:50
ช่วง 144.00-144.0625 นอกจากจะเล่น EME กันแล้ว ยังเล่นโหมด ที่สัญญาณอ่อนทั้งภายในประเทศและกับต่างกันอีกด้วย  เช่น WSJT , CW หรือ บีคอน
และ ส่วนใหญ่ คนที่ไม่เข้าใจ ก็คือคนที่ไม่ได้เล่น ไม่เคยเล่น ก็เลยไม่รู้ว่ามันเป็นยังไง หรือไม่รู้ว่า ทำไมต้องแบ่งช่องความถี่แยกกัน ตามการสื่อสารแต่ละประเภท   ส่วนคนที่กำลังเล่นหรือเคยเล่น ก็ยากที่จะไปอธิบายให้ที่ไม่เคยเล่นทราบ ว่ามันเล่นยังไง เล่นทำไม เพราะเขาเหล่านั้นก็ไม่พร้อมจะรู้และไม่อยากจะรู้อยู่แล้ว
ดังนั้น เราไม่ได้ต้องการให้ท่าน มารู้หรือมาเล่น EME ดาวเทียม หรือ ดิจิตอล เป็น แต่เราต้องการให้ท่าน รู้แค่ว่า ช่องไหนให้เล่นอะไรก็พอ

 วันใดวันนึง มีคนทำรีพีทเตอร์ส่วนตัว มาเปิดใช้ในช่องตรงคุยส่วนตัว แล้ก็กวนกัน วันนั้นแล้วจะซึ้ง ว่าการกวนกันแบบผิดแบนด์แพลน มันเป็นอย่างไร


ถามว่ายากไหมที่จะอธิบายว่า เขาเล่น EME กันทำไม   ก็คงยากพอๆ กับอธิบายให้คนที่ไม่ชอบและไม่เคยเล่นวิทยุ ทราบว่า นี่พวกเราเล่นวิทยุกันทำไม  เห็นมีแต่คุยๆๆๆๆกันทั้งวัน  เล่นแล้วได้อะไร  ทำไมไม่ไปเล่นอินเตอร์เน็ต  ภาพก็มี  เสียงก็มี ดนตรีก็มี ...... นั้นแหละ คือต่างคนต่างชอบ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: THUNSICA ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2012, 08:21:03

-สวัสดีครับ...

-รสนิยมhi-low และเหตุผลทางทฤษฎี ถูก-ผิด....เป็นเรื่องเข้าใจง่ายสำหรับชาวสารขัณฑ์

-แต่เรื่องสมควร-เหมาะสม เป็นเรื่องที่เกินกว่าสมองชาวสารขัณฑ์จะวิเคราะห์ได้ เพราะไม่ใช่ ถูก-ผิด,ไม่ใช่ ดี-ชั่ว,ไม่ใช่หนักหรือเบา....

-ขอตอบตามคำถามดีกว่า เพื่อให้เลิกหักล้างกัน....(สารขัณฑ์ด้วยกันทั้งนั้น) ดังนี้ครับ....

หรือต้องรอ สังคมวิทยุสมัครเล่น กวดขันเรื่องกำลังส่งเกินกำหนดก่อน จึงค่อยจัดระเบียบเรื่องแบนดแพลน

-ตอบว่า  เกี่ยงในฐานะผู้ใช้ เพราะมีเงื่อนไขที่มีโทษผิดชี้อยู่ หมายถึงใช้กำลังส่งเกิน ดังนั้นถูกคืออยากก้าวตาม แต่การก้าวคือผิดทั้งระเบียบ ผิดความเหมาะสม คือกำลังส่งต้นทางที่จะให้ผลสะท้อนกลับมา7%...

หรือ คุณ THUNSICA  ก็ไม่เห็นว่าช่วงความถี่อื่นๆ จะเป็นประโยชน์ ต่อคุณ THUNSICA  ก็เลยไม่ต้องสนใจ

-สนใจครับ แต่ระวังตัวในฐานะชาวสารขัณฑ์คนหนึ่ง เปรียบเหมือนคนอีสานที่ไม่อยากใส่แว่นเรย์แบนด์...ทำนองนั้น

หรือเทคโนโลยี อะไรต่างๆตามช่วงนั้นๆ มันล้าสมัยอย่างที่คุณ THUNSICA  กล่าวมา ก็เลยคนอื่นๆก็ไม่ต้องเรียนรู้ หรืออย่างไรครับ

-มองเป็นบอกทางลัด ไม่ต้องอ้อมให้เสียพลังงาน ....ไม่ได้หรือครับ

-สุภาษิตโบราณมีอยู่บทหนึ่งว่า....สงวนกำลัง เท่ากับเตรียมพร้อม มีความพร้อม เท่ากับมีชัยชนะแล้วครึ่งหนึ่ง

-คนที่พึ่งออกรถเกียร์ออโต้ 6สปีดของญี่ปุ่นคือผู้ที่พร้อมซื้อในปีนี้ ผู้ที่ซื้อของเมื่อปีที่แล้วไป หรือตกรุ่น อาจต้องรอไปรอบหน้าให้รถที่ซื้อมาก่อนหน้าปีเดียวเก่าอีกหน่อย...ดังนั้น จะชี้จุสรุปที่ตรงนี้ เวลาก็ยังเดินอยู่ ความพร้อมของคนปีนี้ ไม่ใช่บทสรุปทั้งมวลหรอกครับ...

ผมอยากจะทำวิทยุแร่ซักเครื่องนึง ผมเป็นคนล้าสมัยเกินไปหรือเปล่า?

-ถ้าทำอยู่บ้านส่วนตัว ไม่ขวางพื้นที่ส่วนรวม ไม่เป็นเหตุให้ใครต้องรอคิว ก็ถือว่าดีครับไม่ข้ามขั้นการเรียนรู้

----------------------------------------------------------------------------------

-สายอากาศทิศทางขนาดกลางเป็นความหมายของผมมาเกือบตลอดอายุนักวิทยุสมัครเล่น โรเตอร์ตัวสุดท้ายที่ใช้อยู่ก็ก้มเงยได้ ... ไม่สงสัยบ้างหรือครับ ว่าคนที่สนใจสัญญานระยะไกล และมีเครื่องมือบ้างแล้ว ทำไมไม่สนใจEME.......ขอบคุณครับ

-------------------------------------------------------------------





หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: supichan ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2012, 09:38:28
ขอโทษคุณ THUNSICA ด้วยน่ะครับ ที่ข้อความของคุณผมต้องใช้เวลาอ่านหลายรอบกว่าจะเข้าใจ ต้องแปลไทยเป็นไทยหลายรอบ อาจเพราะผมไม่ค่อยได้อ่านนิยาย จึงเข้าใจยากหน่อย   ไม่ว่ากันน่ะครับ
หรือบางทีผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้

ขอเหตุผลมากกว่านี้อีกนิดนึงครับ

อ้างถึง
หรือต้องรอ สังคมวิทยุสมัครเล่น กวดขันเรื่องกำลังส่งเกินกำหนดก่อน จึงค่อยจัดระเบียบเรื่องแบนดแพลน

-ตอบว่า  เกี่ยงในฐานะผู้ใช้ เพราะมีเงื่อนไขที่มีโทษผิดชี้อยู่ หมายถึงใช้กำลังส่งเกิน ดังนั้นถูกคืออยากก้าวตาม แต่การก้าวคือผิดทั้งระเบียบ ผิดความเหมาะสม คือกำลังส่งต้นทางที่จะให้ผลสะท้อนกลับมา7%...

คำตอบด้านบน ผมอธิบายไปเพิ่มเติมแล้วว่า  นอกจาก EME แล้วยังมี Tropo ,CW , Beacon อีก ที่เขาเล่นกันในช่วงนี้ ทั้งในประเทศกันเอง และต่างประเทศ ซึ่งไม่ใช่เงื่อนไขด้านกำลังส่ง อย่างที่คุณ THUNSICA เข้าใจ  แต่มันเป็นเงื่อนไขของการจัดพื้นที่ใช้งานแยกประเภทกัน ป้องกันการรบกวนกัน


อ้างถึง
หรือ คุณ THUNSICA  ก็ไม่เห็นว่าช่วงความถี่อื่นๆ จะเป็นประโยชน์ ต่อคุณ THUNSICA  ก็เลยไม่ต้องสนใจ

-สนใจครับ แต่ระวังตัวในฐานะชาวสารขัณฑ์คนหนึ่ง เปรียบเหมือนคนอีสานที่ไม่อยากใส่แว่นเรย์แบนด์...ทำนองนั้น

นั่นเป็นสิ่งที่คุณเลือกสนใจ ก็ดีแล้วครับ ทุกคนก็เลือกสนใจในสิ่งที่ตนเองอยากรู้  ดังนั้นเขาจึงมีพื้นที่ให้แต่ละความสนใจแบ่งให้ใช้โดยไม่รบกวนกัน  แล้วก็คงไม่มีใครไปเรียกร้องให้คุณ THUNSICA มาสนใจ EME แน่ๆ


อ้างถึง
หรือเทคโนโลยี อะไรต่างๆตามช่วงนั้นๆ มันล้าสมัยอย่างที่คุณ THUNSICA  กล่าวมา ก็เลยคนอื่นๆก็ไม่ต้องเรียนรู้ หรืออย่างไรครับ

-มองเป็นบอกทางลัด ไม่ต้องอ้อมให้เสียพลังงาน ....ไม่ได้หรือครับ
ดีครับถ้าช่วยชี้ทางลัด งั้นแนะนำซักนิด ว่าเทคโนโลยีวิทยุสมัครเล่นอันทันสมัยล้ำยุคล่าสุดที่คุณ THUNSICA  จะแนะนำเพื่อนๆให้ศึกษาแทนเทคโนโลยีเก่าพวกนั้น คุณTHUNSICA จะแนะนำอะไรดีครับ ขอสัก 3 เทคโนโลยี

ส่วนคำตอบอื่นๆ ของคุณ THUNSICA ผมขอโทษด้วยครับ ผมจับประเด็นใจความแปลไม่ออกเลย เลยไม่รู้จะถามอะไรต่อ

อ้างถึง
-สายอากาศทิศทางขนาดกลางเป็นความหมายของผมมาเกือบตลอดอายุนักวิทยุสมัครเล่น โรเตอร์ตัวสุดท้ายที่ใช้อยู่ก็ก้มเงยได้ ... ไม่สงสัยบ้างหรือครับ ว่าคนที่สนใจสัญญานระยะไกล และมีเครื่องมือบ้างแล้ว ทำไมไม่สนใจEME.......ขอบคุณครับ

ไม่สงสัยเลยซักนิดครับ เพราะ คนที่มี โรเตเตอร์ แบบ 2แกน (ก้มเงย) อย่างที่คุณ THUNSICA มี นั้นมีอยู่เยอะแยะทั่วไป โดยบางทีก็ไม่รู้ว่าตัวเองมีไปทำไม
และคนที่เล่น EME หลายๆคน ก็ไม่มีโรเตเตอร์แบบ 2 แกนครับ เขาตั้งเล่นกับพื้นกัน ไม่ต้องหันไปไหนมาไหนบ่อยๆอยู่แล้ว
และเพื่อนที่ผมรู้จัก ผมก็เห็นเขามี เสาสูง60 เมตร ยากิ แบบ 4 แผง 8แผง ผมก็ยังไม่สงสัยเลย เพราะผมก็ได้ยินเขาคุยๆๆ ตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว มาถึงปัจจุบัน ก็คุยเหมือนเดิม ที่ FM 2m ส่วนเสาและสายอากาศ ก็จ้างและซื้อมาเท่านั้น
แล้วคุณ THUNSICA บอกว่าสนใจสัญญาณระยะไกล ช่วยแนะนำผมซักนิดครับว่า ไกลแบบไหน แบบตั้งเสาสูงๆ ใช้ FM คุยได้ไกลๆแบบเพื่อนผมหรือเปล่า อย่างนั้นหรือ?



หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: THUNSICA ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2012, 10:28:55

-จะให้เหมือนละครไทยให้ได้เลย.....

-คือได้บอกแล้วว่าเห็นด้วยเรื่องแบนด์แปลน เพราะตามสากลกำหนด แต่ไม่เห็นด้วยเรื่องการใช้ในไทย เพราะยังไม่เหมาะสมกับกับระเบียบที่กสทช.ขีดเส้นไว้ ผมว่าผมก็แพ้โหวตเป็นนะ  ไตร่ตรองหน่อยดีไหม อย่าทำให้เป็นเรื่องวิวาท....

THUNSICA บอกว่าสนใจสัญญาณระยะไกล ช่วยแนะนำผมซักนิดครับว่า ไกลแบบไหน แบบตั้งเสาสูงๆ ใช้ FM คุยได้ไกลๆแบบเพื่อนผมหรือเปล่า อย่างนั้นหรือ?

-อีกอย่างคือผมอ้างประสพการณ์จริงของตัวเอง ไม่ได้มองมาอย่างเดียว ช่วยแจ้งประสพการณ์เครื่องมือของตัวคุณเองหน่อยได้ไหมครับ ข้อมูลสถานีนั่นแหละ จะได้เทียบเคียงผลที่แจ้งแบบนั้นได้ หมายถึงที่ผ่านมาผมใช้ไม่ได้เรื่องเอง...

--------------------------------------------------------------------



หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: supichan ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2012, 13:22:04
อ้างถึง
-จะให้เหมือนละครไทยให้ได้เลย....
มีคนแนะนำผมว่า เรื่องที่เหมาะกับ เรื่องนี้คือ ไผ่แดง http://bit.ly/yYy7c3   แต่ผมก็ยังไม่รู้จักหรอกครับ เกิดไม่ทันยังไม่ได้ดู อ่านแค่เรื่องย่อคร่าวๆ
อ้างถึง
-คือได้บอกแล้วว่าเห็นด้วยเรื่องแบนด์แปลน เพราะตามสากลกำหนด แต่ไม่เห็นด้วยเรื่องการใช้ในไทย เพราะยังไม่เหมาะสมกับกับระเบียบที่กสทช.ขีดเส้นไว้ ผมว่าผมก็แพ้โหวตเป็นนะ  ไตร่ตรองหน่อยดีไหม อย่าทำให้เป็นเรื่องวิวาท....
อุย....  ขนาดผมหาเหตุผล และยกตัวอย่างขนาดนี้ คุณ THUNSICA ยังคิดว่าเป็นเรื่องการวิวาทอีกเหรอครับ  ?
และต้องขอขอบคุณ คุณ THUNSICA ที่ใช้ข้อความอ่านและเข้าใจง่ายมากขึ้น
และขอคำแนะนำเพิ่มเติมจาก คุณ  THUNSICA ด้วยครับ ว่าไม่เห็นด้วยที่จะใช้ในไทย เพราะยังไม่เหมาะสม นั้น ไม่เหมาะอย่างไร

ผมขอเกริ่นนำไปก่อนเลยแล้วกัน ช่วง 144.000-144.0625 นอกจาก EME แล้ว ยังมีเรื่อง Tropo , CW , Beacon หรือ มีผู้สนใจหัดเริ่ม รับสัญญาณอย่างเดียว ก็มี ดังนั้น ขอย้ำว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องของกำลังส่ง  แต่เกี่ยวกับการรบกวนกัน ของสัญญาณคนละประเภท (ยืนยันแบบนี้ทุกครั้งที่ตอบ)
อ้างถึง
THUNSICA บอกว่าสนใจสัญญาณระยะไกล ช่วยแนะนำผมซักนิดครับว่า ไกลแบบไหน แบบตั้งเสาสูงๆ ใช้ FM คุยได้ไกลๆแบบเพื่อนผมหรือเปล่า อย่างนั้นหรือ?

-อีกอย่างคือผมอ้างประสพการณ์จริงของตัวเอง ไม่ได้มองมาอย่างเดียว ช่วยแจ้งประสพการณ์เครื่องมือของตัวคุณเองหน่อยได้ไหมครับ ข้อมูลสถานีนั่นแหละ จะได้เทียบเคียงผลที่แจ้งแบบนั้นได้ หมายถึงที่ผ่านมาผมใช้ไม่ได้เรื่องเอง...

ประสพการณ์ผมน้อยนิดครับ ส่วนใหญ่เพียงฟังเขามา อ่านจากหนังสือ และอินเตอร์เน็ตเท่านั้น
ข้อมูลสถานี : คอมพิวเตอร์ประเภทวางตัก ยี่ห้อ ASUS (ไม่บอกรุ่น) และ วิทยุ TECSUN PL-600 + ถ่านไฟฉายขนาด AA 4 ก้อน  ฟังวันหวยออกเป็นประจำ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: THUNSICA ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2012, 13:33:36

-ประสพการณ์ผมน้อยนิดครับ ส่วนใหญ่เพียงฟังเขามา อ่านจากหนังสือ และอินเตอร์เน็ตเท่านั้น
ข้อมูลสถานี : คอมพิวเตอร์ประเภทวางตัก ยี่ห้อ ASUS (ไม่บอกรุ่น) และ วิทยุ TECSUN PL-600 + ถ่านไฟฉายขนาด AA 4 ก้อน  ฟังวันหวยออกเป็นประจำ

-ขอถามคำถามสุดท้าย....ทำหมันยังครับ

--------------------------------------------------------------------------------------------


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: supichan ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2012, 13:46:45

-ประสพการณ์ผมน้อยนิดครับ ส่วนใหญ่เพียงฟังเขามา อ่านจากหนังสือ และอินเตอร์เน็ตเท่านั้น
ข้อมูลสถานี : คอมพิวเตอร์ประเภทวางตัก ยี่ห้อ ASUS (ไม่บอกรุ่น) และ วิทยุ TECSUN PL-600 + ถ่านไฟฉายขนาด AA 4 ก้อน  ฟังวันหวยออกเป็นประจำ

-ขอถามคำถามสุดท้าย....ทำหมันยังครับ

--------------------------------------------------------------------------------------------

ยังครับ

แต่ไม่เห็นเกี่ยวกับ EME หรือแบนด์แพลน และเหตุผลเรื่องความเหมาะสม ของการใช้ความถี่ช่วง 144.000-144.0625 เลย
แต่ถ้าเรื่องทำหมัน จะเกี่ยวโยงกับ EME ด้วย ผมขอไปดูละครไผ่แดงก่อนครับ ขอศึกษาก่อน ว่า สมภารกร่าง แกดำเนินเรื่องอย่างไร

ส่วนเพื่อนๆ ท่านอื่นมีเหตุผลก็ช่วยเสนอเข้ามาเพิ่มน่ะครับ


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: VHF DXer ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2012, 13:50:12

-ประสพการณ์ผมน้อยนิดครับ ส่วนใหญ่เพียงฟังเขามา อ่านจากหนังสือ และอินเตอร์เน็ตเท่านั้น
ข้อมูลสถานี : คอมพิวเตอร์ประเภทวางตัก ยี่ห้อ ASUS (ไม่บอกรุ่น) และ วิทยุ TECSUN PL-600 + ถ่านไฟฉายขนาด AA 4 ก้อน  ฟังวันหวยออกเป็นประจำ

-ขอถามคำถามสุดท้าย....ทำหมันยังครับ

--------------------------------------------------------------------------------------------


แรง!!!!


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: QRP ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2012, 14:07:01
ได้ทั้งความรู้และความไม่รู้


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: hs7zsx ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2012, 15:42:17
ถ้าหันสายอากาศทิศทางที่มี Beam width 15 องศา/-3 dB ไปที่ดวงจันทร์ และส่งสัญญาณขึ้นไป ประมาณ 0.1% ของสัญญาณจะกระทบผิวดวงจันทร์ และอีก 99.9% จะหลุดหายไปในอวกาศ (ไม่ถูกดวงจันทร์)
ดวงจันทร์จะสะท้อนสัญญาณกลับประมาณ 7% ของสัญญาณที่กระทบผิวดวงจันทร์
อัตราการสูญเสียระหว่างทาง (Path Loss) จากโลกไปดวงจันทร์และกลับมายังโลกอีกครั้ง (Earth-Moon-Earth) มีค่าประมาณ 252.5 dB ที่ความถี่ 144 MHz (อัตราการสูญเสีย 3dB หมายถึงสูญเสียไปประมาณ 50% หรือส่งไป 10 วัตต์จะเหลือประมาณ 5 วัตต์เท่านั้น) ซึ่งอัตราการสูญเสียนี่จะเปลี่ยนไปในแต่ละเดือน เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 dB
การเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของคลื่นวิทยุจะมีการเปลี่ยน Polarization ซึ่งคาดเดาไม่ได้ ทำให้มีการสูญเสียอีกประมาณ 20-30 dB
Cosmic noise หรือ Sky noise ที่ความถี่ต่ำว่า 1000 MHz จะมีค่าอยู่ระหว่าง 150 – 7000 แคลวิน ซึ่งการที่จะติดต่อ EME ได้สำเร็จในย่าน 144 MHz Sky noise จะต้องต่ำกว่า 500 แคลวิน
การเดินทางของคลื่นวิทยุจากโลกไปยังดวงจันทร์และกลับมายังโลกอีกครั้งใช้เวลาประมาณ 2.5 วินาที


หัวข้อ: Re: สงสัยว่าความถี่สะท้อนดวงจันทร์มีไว้ให้ใครใช้
เริ่มหัวข้อโดย: DateChainat_E22TRU ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2012, 10:12:50

ขอปิดกระทู้นี้เพียงนี้นะครับ

ขยายไปไกลหลายประเด็น ต้องมานั่งแปลไทยเป็นไทย
เริ่มมีการกระทบกระเทียบเสียดสี
สุดท้ายอาจจะกลายเป็นการโต้แย้ง

ขออภัยในความไม่สะดวก
ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�
ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�


Webmaster Earn Money! By Affiliate Program 100% Pay
www.samuismile.com